โรคซึมเศร้ากับงานการรักษาความปลอดภัย

Loading

สังคมแต่ละแห่งในปัจจุบันมักปรากฎอาการโรคประจำสังคมที่น่าสนใจ ซึ่งเป็นผลกระทบเนื่องมาจากการดำรงชีพหรือวิถีชีวิตของผู้ที่อยู่อาศัยในสังคมนั้นๆ อย่างเช่น การเผชิญกับการก่อเหตุร้ายตามพื้นที่สาธารณะของประเทศต่างๆ ในยุโรปหรือในสหรัฐฯ จนส่งผลให้ประชาชนหรือเจ้าหน้าที่รัฐเกิดอาการวิตกกังวล หวาดกลัวกับเหตุร้าย จนกลายสู่อาการของโรคชนิดหนึ่ง เรียกง่ายๆ ว่า แพนิค (panic) โดยมักมีอาการตกใจกลัวอย่างรุนแรง จนกลายเป็นสาเหตุให้เกิดพฤติกรรมระแวงภัยจนถึงกระทำการเพื่อปกป้องตนเองอย่างขาดสำนึกใคร่ครวญ อย่างเช่น กรณีเมื่อเดือนธันวาคม 2554 นายเจสัน สตอกลีย์ อดีตตำรวจเมืองเซนต์หลุยส์ สหรัฐฯ สังหารนายแอนโธนี ลามาร์ สมิธ ชายผิวดำด้วยความหวาดกลัวว่า เป็นคนร้ายที่ร่วมการค้ายาเสพติด ทั้งที่นายสมิธเป็นเพียงประชาชนธรรมดาและยินยอมให้ทำการจับกุม คดีนายสตอกลีย์สังหารนายสมิธนี้ยังเป็นสาเหตุให้ประชาชนในเมืองเซนต์หลุยส์ ทำการประท้วงทางการจนลุกลามกลายเป็นการจลาจล เป็นต้น  อย่างไรก็ตาม สำหรับสังคมสุทัศนีย์อย่างประเทศไทยแตกต่างกว่า จากที่สังเกตเห็นและนิยมที่จะกล่าวอ้าง กลับกลายเป็นอาการซึมเศร้า(Depression) ซึ่งส่งผลกระทบเท่าหรือยิ่งกว่าอาการแพนิค เมื่อทำความรู้จักกับอาการซึมเศร้าจึงทราบว่า เป็นโรคทางจิตเวช เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ทั้งแสดงอาการใกล้เคียงกับผู้ที่มีอาการเศร้าโศกหรือเสียใจทั่วไป  โดยผู้ป่วยโรคนี้มักจะไม่รู้ตัวว่าป่วยหรืออาจรู้ตัวขณะที่พัฒนาอาการไปสู่ขั้นรุนแรงจนกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและสังคมโดยรอบไปแล้ว  ถึงแม้จะรักษาให้หายขาดได้ด้วยยาและการทำจิตบำบัด แต่ผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการ ทั้งขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและการให้ความร่วมมือในการรักษาจากผู้ป่วยและญาติ  สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการซึมเศร้ามาจากหลายปัจจัย ตั้งแต่กรรมพันธุ์ การพัฒนาของจิตใจ สิ่งแวดล้อมที่ต้องเผชิญ รวมทั้งจากกรณีที่สาร Serotonin (เป็นสารสื่อประสาทที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณระหว่างเซลล์ประสาทภายในสมอง มีบทบาทสำคัญในการควบคุมอารมณ์) และสาร norepinephrine (เป็นสารสื่อประสาทในระบบประสาทส่วนกลาง มีส่วนเกี่ยวข้องกับอารมณ์และความสามารถในการจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การที่มีระดับ norepinephrine ลดลง…