ถูกนำตัวออกจากเครื่องบินเพราะกินยานอนหลับ

Loading

ชายชาวแคนาดาถูกนำตัวลงจากเที่ยวบินจากแคนาดาไปยังคิวบา ขณะจอดแวะพักที่สนามบินกลางทางที่เมืองโตรอนโต ด้วยเหตุที่เขากินยานอนหลับระหว่างรอเดินทางต่อ เหตุดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 13 ต.ค. บนเครื่องบินของสายการบินเวสต์เจ็ต นายสตีเฟน เบนเนทท์ ชาวเมืองบริติชโคลัมเบียของแคนาดา อยู่ระหว่างกำลังเดินทางไปคิวบา พร้อมด้วยภรรยาและลูกชาย ได้เปิดเผยว่า ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อหนึ่งในลูกเรือพยายามจะปลุกเขาให้ตื่นก่อนเครื่องจะทะยานขึ้น เขาถูกนำตัวออกจากเที่ยวบินและไม่ได้รับอนุญาตให้กลับมาโดยสารบนเที่ยวบินนั้นต่อ แม้แพทย์ประจำตัวที่สั่งยาจะอีเมลคำอธิบายเพื่อยืนยันความพร้อมของสุขภาพ อีกทั้งหน่วยกู้ชีพฉุกเฉินของสนามบินจะประเมินแล้วว่าเขาเดินทางต่อได้ นายเบนเนทท์ซึ่งเพิ่งฟื้นตัวจากอาการโรคหลอดเลือดในสมอง บอกอีกว่า เขาไม่ได้นอนมาเลยในช่วงเที่ยวบินกลางคืนที่เดินทางมาจากเมืองบริติชโคลัมเบีย จึงกินยานอนหลับ ซึ่งมีใบสั่งยาจากแพทย์ ก่อนที่จะเดินทางต่อเครื่อง หลังจากนั้นเขาเริ่มง่วงในแทบจะทันที ก่อนจำได้ว่าสะดุ้งตื่นจากการกระทุ้งตัวของภรรยา และพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินบอกว่า เขาต้องออกจากเครื่องบิน เพราะสภาพของเขาอยู่ในภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ พนักงานสายการบินได้เรียกรถกู้ชีพฉุกเฉินและนำตัวนายเบนเนทท์ออกจากห้องโดยสารโดยพานั่งวีลแชร์ออกไป หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่หน้าหน่วยกู้ชีพได้ตรวจร่างกายและแจ้งกับพนักงานสายการบินว่า ร่างกายของนายเบนเนทท์แข็งแรงดี อวัยวะสำคัญของร่างกายไม่มีปัญหาและสามารถเดินทางได้ แต่ทั้งหมดก็ไม่เป็นผล เขาบอกอีกว่า แพทย์ประจำตัวที่สั่งยานอนหลับได้เขียนรับรองมาทางอีเมล ว่าสุขภาพร่างกายแข็งแรงพอที่จะเดินทางได้ “เป็นเรื่องน่าอายมาก… เรื่องนี้พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินทำตัวราวว่าเป็นผู้พิพากษา คณะลูกขุน และเพชฌฆาตในคราวเดียวกัน” ด้านสายการบินเวสต์เจตต์ ชี้แจงว่า ไม่สามารถให้รายละเอียดและความเห็นเกี่ยวกับกรณีของนายเบนเนทท์เป็นการเฉพาะได้ เนื่องจากนโยบายความเป็นส่วนตัวของผู้โดยสาร อย่างไรก็ตาม สายการบินเวสต์เจ็ต ระบุว่า ในกรณีเช่นนี้ หากลูกเรือเห็นว่าผู้โดยสารรายใด มีสัญญาณบางอย่างที่บ่งบอกว่าสภาพร่างกายไม่พร้อมที่จะโดยสาร ผู้โดยสารรายนั้นจะถูกเชิญออกจากเที่ยวบินด้วยความระมัดระวัง “กรณีที่มีการเชิญตัวผู้โดยสารออกยังรวมถึง ผู้โดยสารที่สภาพร่างกายสูญเสียสมรรถภาพจากการใช้ยาเสพติดหรือดื่มแอลกอฮอล์” สายการบินเวสต์เจ็ต ระบุว่า…

ข้อมูลที่ถูกขโมยไปได้มีค่าแค่ไหนต่อแฮ็กเกอร์

Loading

การขโมยข้อมูลนั้นมีให้เห็นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบันซึ่งพูดไม่ได้ว่าเป็นฝีมือของแฮ็กเกอร์อย่างเดียวเพราะหลายครั้งก็มีสาเหตุมาจากคนในด้วย อย่างไรก็ตามเราอาจจะไม่ได้ตระหนักถึงมูลค่าของข้อมูลที่หลุดออกไปมากนักแต่อีกมุมหนึ่งในฝั่งผู้ร้ายข้อมูลที่มีขายในตลาดใต้ดินนั้นมีประโยชน์มากทีเดียว โดยในวันนี้ Trend Micro ได้มาชี้ให้เห็นถึงมูลค่าของข้อมูลที่รั่วไหลออกมาว่ามีความสำคัญอย่างไร ข้อมูลแต่ละประเภทมีค่าแตกต่างกัน งานวิจัยของ Trend Micro ได้เผยว่าข้อมูลแต่ละประเภทนั้นมีค่าไม่เท่ากันดังนี้ Financial Data ประกอบด้วยข้อมูลด้านธุรกรรมการเงิน การจ่ายบิลและกิจกรรมเกี่ยวกับการประกันภัยต่างๆ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้คนร้ายสามารถนำไปใช้เพื่อการปลอมแปลง เช่น ยื่นขอคืนภาษี ทำเรื่องการกู้ยืมเงิน ปลอมแปลงบัตรจ่ายเงิน การโอนเงิน รวมไปถึงนำไปใช้แบล็กเมล์เหยื่อหรือข่มขู่กรรโชกทรัพย์ แม้กระทั่งขโมยเงินออกจากบัญชีเหยื่อได้เลย Health Care ข้อมูลบันทึกในโรงพยาบาลการรักษาหรือประกันต่างๆ สามารถถูกนำไปใช้เพื่อสนับสนุนการแอบอ้างหลอกเอาค่าสินไหมทดแทน แม้กระทั่งเอาไปซื้อยาที่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์ เป็นต้น Payment Card Information ชื่อบนบัตร เลขบัตรและวันหมดอายุของบัตรสามารถนำไปใช้ซื้อของออนไลน์ได้เลย ซึ่งเป็นอะไรที่เลวร้ายกว่าข้อมูลทางการเงินอีก Account Credentials พวกชื่อและรหัสผ่านของบัญชีต่างๆ ก็สามารถถูกใช้เพื่อแอบอ้างเรียกร้องค่าประกันได้เช่นกัน หรือ นำไปใช้สร้างสแปมและการหลอกลวงอื่นๆ ต่อไป ทั้งนี้ก็ขึ้นกับประเภทของบัญชีที่ได้มาด้วย Education Information พวกข้อมูลทรานสคิร์ปต์ของนักเรียน นักศึกษา หรือบันทึกในโรงเรียนและการเข้าเรียน ก็สามารถใช้เพื่อการปลอมแปลงตัวบุคคลและสร้างการกู้ยืมเพื่อการศึกษาปลอมขึ้นมาได้ด้วย รวมถึงการแบล็กเมล์และข่มขู่เจ้าตัว ข้อมูลในตลาดใต้ดินมีค่าแค่ไหน จากผลสำรวจของ Trend Micro…

ตำรวจสเปนใช้ AI ตรวจจับคำแจ้งความเท็จ

Loading

เรียกว่าปัญญาประดิษฐ์นำมาต่อยอดใช้งานได้หลากหลายขึ้น ล่าสุดมีการพัฒนาเครื่องช่วยตำรวจสเปน เอา AI ตรวจจับบันทึกแจ้งความว่าคดีไหนมีแนวโน้มเป็นการแจ้งความเท็จบ้าง การจับโหกใครสีกคนไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ทางนักวิทยาศาตร์ก็พยายามพัฒนาเครื่องมือใหม่ๆมาช่วยด้านนี้มากขึ้น ล่าสุดนักวิทยาศาสตร์ด้านคอมพิวเตอร์จาก Cardiff University และ Charles III University of Madrid ร่วมมือกันพัฒนาเครื่องมือชื่อว่า VeriPol ที่ออกแบบมาเพื่อจับคำให้เท็จเรื่องการลักขโมยโดยเฉพาะ เค้าเอา machine-learning มาเรียนรู้ คำร้องแจ้งความและบันทึกประจำวันจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติของสเปน ซึ่งในนั้นจะมีคำให้การเท็จรวมอยู่ด้วย ผลจากโครงการทดสอบในเมือง Murcia และ Malaga เมื่อเดือนมิถุนายน 2017 พบว่า VeriPol สามารถระบุคำแจ้งความที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นเท็จได้ในอัตราที่สูงมาก และ 83% ของคดีที่ถูก AI ระบุมานั้นสามารถปิดคดีได้ถึง 83% หลังจากที่มีการสอบปากคำเพิ่มเติม เฉลี่ยแล้วในสัปดาห์นึง ปัญญาประดิษฐ์สามารถตรวจสอบคำแจ้งความเท็จได้ถึง 64 คดีเลยทีเดียว ตัว VeriPol นั้นทำงานด้วยการใช้อัลกอรึทึ่ม ช่วยระบุองค์ประกอบต่างๆในคำให้การ เช่น คำเชื่อม กริยา การเว้นวรรค จากนั้นก็เทียบกับฐานข้อมูลคำให้การเท็จ ในคดีลักทรัพย์นั้นคำให้การเท็จนั้นมักจะใช้ประโยคที่สั้น เน้นเรื่องข้าวของที่ถูกขโมย…