ตาข่ายนับเป็นหนึ่งในอุปกรณ์สำหรับการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่ใช้กันมาช้านาน เพื่อการควบคุมและป้องกันการรุกล้ำเข้าสู่พื้นที่ที่ถูกกำหนดให้เป็นบริเวณที่มีความปลอดภัยสำหรับที่อยู่ภายในพื้นที่นั้น
การนำตาข่ายมาใช้เสริมมาตรการรักษาความปลอดภัยสถานที่อย่างเด่นชัดในกรุงเทพฯ น่าจะสืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ขัดแย้งทางการเมืองในประเทศไทย นับแต่ปลายปี 2548 เริ่มด้วยการลอบวางระเบิดแสวงเครื่องที่บริเวณริมรั้วด้านในบ้านพระอาทิตย์ เลขที่ 98/2-10 แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ อาจจะเนื่องมาจากบ้านพระอาทิตย์เป็นที่ตั้งของสำนักงานหนังสือพิมพ์ผู้จัดการขณะนั้น ต่อมาในกลางปี 2551 พบวัตถุต้องสงสัยว่าอาจเป็นระเบิดแสวงเครื่องที่หน้าบ้านหลังหนึ่งติดกับบ้านพระอาทิตย์ และอีกครั้งเป็นการขว้างระเบิดปิงปองใส่ เพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สิน จึงมีการนำตาข่ายมาขึงปิดล้อมบ้านพระอาทิตย์ทั้งหลัง อย่างไรก็ดีมาตรการขึงตาข่ายเช่นนี้สามารถป้องกันการขว้างระเบิดปิงปองได้จริง
ปัจจุบันมาตรการรักษาความปลอดภัยด้วยการคลุมอาคารด้วยตาข่ายยังนำมาใช้และน่าจะเป็นมาตรการที่ได้ผลดี ทั้งยังเป็นอุปกรณ์ที่เสียค่าใช้จ่ายมาสูงมากเมื่อเทียบกับอุปกรณ์เสริมมาตรการรักษาความปลอดภัยประเภทอื่น
ท่าอากาศยานนานาชาติปารีส-ชาร์ลส์ เดอ โกล กรุงปารีส ฝรั่งเศส ใช้ตาข่ายขึงปิดเพดานห้องผู้โดยสารขาออกในอาคาร 3
ด้านนอกบริเวณหน้าต่างกระจกทั้ง 3 ชั้นของอาคารเทอร์มินัล เอ ท่าอากาศยานนานาชาติเบอร์ลิน-เทเกล กรุงเบอร์ลิน เยอรมนี ทำการขึงตาข่ายแบบม่านรูดกั้น
——————————————————
องค์การรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือน
27 ธันวาคม 2561