Skyscraper

Loading

Movie ของสหรัฐฯ (ปี 2561) “ Skyscraper” ระยะเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 49 นาที นำแสดงโดย  Dwayne Johnson เนื้อเรื่อง  วิลล์ ฟอร์ด อดีตหัวหน้าชุดชิงตัวประกัน (Hostage Rescue Team, HRT) ของ FBI  เนื่องจากขาพิการ  จึงมาทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินความปลอดภัยให้กับตึกระฟ้า  ระหว่างไปตรวจสอบความเสี่ยงอยู่ในจีน  ได้เกิดเหตุเพลิงไหม้อาคารที่สูงที่สุดและปลอดภัยที่สุดในโลก โดยครอบครัวของวิลล์  ฟอร์ด ติดอยู่ภายในตึกหลังนั้น  พร้อมกันนั้นยังปรากฎข้อมูลว่า เขา เป็นผู้ก่อเหตุวางเพลิง  วิลล์ ฟอร์ดจึงต้องหลบหนีไปพร้อมกับสืบหาความจริงและช่วยเหลือครอบครัว ที่น่าสนใจคือ การใช้ทักษะจากงานรักษาความปลอดภัยมาดำเนินเรื่อง

Hostage Rescue Team

Loading

Hostage Rescue Team (HRT) กลุ่มเจ้าหน้าที่ชิงตัวประกัน ซึ่งเป็นหน่วยงานของ Federal Bureau of Investigation (FBI) หลังจากเหตุการณ์ 911 จนถึงปัจจุบันนับเป็นชุดปฎิบัติการที่มีความสำคัญมากในสหรัฐฯ  โดยปฏิบัติหน้าที่ในการชิงตัวประกัน รวมทั้งทำการจู่โจม ตามล่าอาชญากร เข้าจับกุม หรือคุ้มกันบุคคลสำคัญ เจ้าหน้าที่ HRT ต้องมีคุณสมบัติหลักและประสบการณ์การทำงาน อย่างเช่น 1. เคยทำงานในหน่วยหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายทหารของรัฐต่าง ๆ ในสหรัฐฯ เช่น ตำรวจหรือกองทัพ 2. เคยทำงานในหน่วยหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับยุทธวิธีของท้องถิ่น เมือง หรือรัฐ 3. มีประสบการณ์การฝึกอบรมอย่างน้อย 3 ประเภทจากที่กำหนดไว้นี้  3.1  เชี่ยวชาญเบื้องต้นในการต่อสู้ด้วยมือเปล่า อาวุธต่าง ๆ และยุทธวิธีพิเศษ รวมทั้งการตรวจ ค้นหาอาวุธและวัตถุระเบิด (Basic SWAT/ Special Weapons And Tactics) 3.2  เชี่ยวชาญชั้นสูงในการต่อสู้ด้วยมือเปล่า อาวุธต่างๆ และยุทธวิธีพิเศษ รวมทั้งการตรวจ ค้นหาอาวุธและวัตถุระเบิด…

กูรูไซเบอร์ชี้ “สิงคโปร์” ถูกแฮกฐานข้อมูลสุขภาพครั้งใหญ่อาจเป็นฝีมือ “รบ.ต่างชาติ”

Loading

  เอเอฟพี – ผู้เชี่ยวชาญเผยการโจมตีทางไซเบอร์ครั้งใหญ่ที่สุดที่เกิดขึ้นในสิงคโปร์ ซึ่งทำให้ประวัติการรักษาโรคของประชาชนกว่า 1.5 ล้านคนถูกขโมย น่าจะเป็นฝีมือผู้ก่อการระดับรัฐ (state actors) เมื่อพิจารณาจากขนาดและความซับซ้อนในการเจาะข้อมูล รัฐบาลสิงคโปร์ออกมาแถลงยอมรับเมื่อวานนี้ (20 ก.ค.) ว่า กลุ่มแฮกเกอร์ได้โจมตีฐานข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข และเข้าถึงประวัติการรักษาโรคของชาวสิงคโปร์ราว 1.5 ล้านคน รวมถึงนายกรัฐมนตรี ลี เซียนลุง ซึ่งตกเป็นเป้าหมายแบบ ‘เฉพาะเจาะจง’ ของคนร้ายกลุ่มนี้ รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขสิงคโปร์ ระบุว่า การโจมตีครั้งนี้ “ผ่านการวางแผนมาอย่างรัดกุม และมีเป้าหมายที่ชัดเจน ไม่ใช่แฮกเกอร์มือสมัครเล่นหรือแก๊งอาชญากรทั่วๆ ไป” เจ้าหน้าที่สิงคโปร์ยังปฏิเสธที่จะระบุตัวตนของแฮกเกอร์กลุ่มนี้ โดยอ้าง ‘ปฏิบัติการด้านความมั่นคง’ แต่ผู้เชี่ยวชาญไซเบอร์ให้ความเห็นว่า รูปแบบการโจมตีที่สลับซับซ้อนและเน้นเป้าหมายระดับไฮโปรไฟล์อย่างนายกรัฐมนตรี ลี เซียนลุง บ่งชี้ว่า น่าจะเป็นฝีมือ ‘ผู้ก่อการระดับรัฐ’ อีริค โฮห์ (Eric Hoh) ประธานประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ของบริษัทความมั่นคงไซเบอร์ FireEye เผยกับสำนักข่าวแชนแนลนิวส์เอเชีย ว่า การโจมตีครั้งนี้ถือเป็น “ภัยคุกคามที่ก้าวหน้า” “ลักษณะการโจมตีบ่งชี้ว่าเป็นการกระทำโดยรัฐ และใช้เครื่องมือที่ทันสมัยมาก… พวกเขามีทั้งทรัพยากร แหล่งทุน…

เครือสาธารณสุขสิงคโปร์ถูกแฮ็ก ข้อมูล 1 ใน 3 ของประชาชนถูกขโมย

Loading

กระทรวงสาธารณสุข (MOH) ของสิงคโปร์ออกแถลงการณ์ ระบบ IT ของ SingHealth ถูกแฮ็ก ส่งผลให้ข้อมูลผู้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและคลีนิกในเครือตั้งแต่ช่วงเดือนพฤษภาคม 2015 จนถึงกรกฎาคม 2018 รวมแล้วกว่า 1,500,000 คนถูกขโมยออกไป SingHealth เป็นเครือหน่วยงานด้านสาธารณสุขที่ใหญ่ที่สุดในประเทศสิงคโปร์ ประกอบด้วย 2 โรงพยาบาลใหญ่ 5 คลีนิคพิเศษ และโพลีคลีนิกรวมอีก 8 แห่ง MOH ระบุว่า ผู้ดูแลระบบฐานข้อมูลของ Integrated Health Information Systems (IHiS) ของสิงคโปร์ตรวจพบพฤติกรรมผิดปกติบนหนึ่งในฐานข้อมูล IT ของ SingHealth เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคมที่ผ่านมา จึงได้หยุดการดำเนินงานทั้งหมดและเริ่มมาตรการป้องกันและรับมือ ก่อนจะตรวจสอบพบว่าข้อมูลของผู้เข้ารับการรักษาโรงพยาบาลและคลีนิกในเครือถูกขโมยออกไปรวมแล้วกว่า 1,500,000 ราย ได้แก่ ชื่อ ที่อยู่ เพศ สัญชาติ วันเกิด และหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน นอกจากนี้ ข้อมูลการจ่ายยาผู้ป่วยนอกอีกประมาณ 160,000 รายก็ได้ถูกขโมยออกไปด้วย หนึ่งในนั้นคือข้อมูลของ…

ดูท่าทีย้อนแย้งของโดนัลด์ ทรัมป์ กรณีรัสเซียโจมตีไซเบอร์แทรกแซงเลือกตั้งสหรัฐฯ

Loading

  สื่อตั้งข้อสังเกตท่าทีของประธานาธิบดีสหรัฐฯ กรณีรัสเซียแทรกแซงเลือกตั้งสหรัฐฯ เมื่อปี 2559 ระบุ ว่าก่อนหน้าการเข้ารับตำแหน่งทรัมป์ เองก็เคยแฉพฤติการณ์ดังกล่าว แต่หลังจากที่ตัวเองได้ตำแหน่งแล้วก็เริ่มกลับคำและพูดถึงเรื่องนี้แบบไม่เต็มปากเท่าเดิม เมื่อไม่นานนี้มีการพบปะหารือระหว่างโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ กับ วลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย รวมถึงมีการสั่งลงโทษเจ้าหน้าที่ทหารของรัสเซียที่ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งปี 2559 ของสหรัฐฯ ทำให้ประเด็นข้อกล่าวหาเรื่องการแทรกแซงของรัสเซียกลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้ง สื่อนิวยอร์กไทม์นำเสนอในเรื่องนี้โดยตั้งข้อสังเกตย้อนไปตั้งแต่ช่วงก่อนทรัมป์เข้ารับตำแหน่งว่า ทรัมป์เคยนำเสนอหลักฐานด้านข่าวกรองที่แสดงให้เห็นว่าปูตินเป็นผู้สั่งโจมตีทางไซเบอร์เพื่อปั่นป่วนการเลือกตั้งสหรัฐฯ ในปี 2559 หลักฐานที่ทรัมป์นำเสนอในครั้งนั้นมีทั้งเอกสารและอีเมลจากเจ้าหน้าที่กองทัพรัสเซียและข้อมูลลับสุดยอดอื่นๆ จากแหล่งที่ใกล้ชิดกับปูติน โดยในข้อมูลเหล่านี้เปิดเผยว่ารัสเซียพยายามแฮ็กระบบและใช้วิธีการใส่ร้ายป้ายสีในการป่วนการเลือกตั้งสหรัฐฯ อย่างไร แต่หลังจากนั้นทรัมป์ก็ไม่ได้พูดถึงข้อค้นพบข้างต้นอย่างชัดเจนและหลังจากการประชุมร่วมกับรัสเซียในช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาที่ฟินแลนด์ก็ตอบคำถามนักข่าวเรื่องการแทรกแซงของรัสเซียโดยบอกว่ารัสเซียไม่ได้ตั้งเป้าหมายกับสหรัฐฯ ซึ่งฟังดูขัดแย้งกับสิ่งที่ผู้อำนวยการหน่วยข่าวกรองแห่งชาติ แดน โคท กล่าวไว้หลายวันก่อนหน้านี้ แม้ว่าเขาจะนั่งห่างจากทรัมป์ออกไปไม่มากนักในห้องทำงานคณะรัฐมนตรี อีกไม่กี่ชั่วโมงต่อมาทรัมป์ก็ให้สัมภาษณ์กับสื่อซีบีเอสในแบบที่กลับคำอีกครั้ง โดยบอกว่าโดยส่วนตัวแล้วเขาโทษปูตินในเรื่องการแทรกแซงการเลือกตั้งสหรัฐฯ แต่ก็เชื่อว่าปูตินมีส่วนเกี่ยวข้องในทางอ้อมในฐานะ “ผู้เป็นผู้นำประเทศ” เท่านั้นไม่ใช่ในทางตรง รวมถึงอาจจะมีคนกลุ่มอื่นก็ได้ที่ก่อเหตุ สำหรับสาเหตุที่ทรัมป์ต้องกลับคำไปมาเช่นนี้ มีผู้ช่วยประธานาธิบดีที่ใกล้ชิดกับทรัมป์แต่ไม่ประสงค์ออกนามบอกกับสื่อนิวยอร์กไทม์ว่าเป็นเพราะถ้าหากทรัมป์ยอมรับว่ามีการพยายามแทรกแซงการเลือกตั้งปี 2559 จากรัสเซียแล้ว ถึงแม้ว่าจะบอกว่าเป็นการแทรกแซงที่ไม่สำเร็จก็ตาม มันก็จะทำให้เกิดการตั้งคำถามต่อความชอบธรรมในการตำรงตำแหน่งปัจจุบันของทรัมป์ ตัวอย่างที่ดีที่สุดสำหรับเรื่องนี้ต้องย้อนไปเมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2560 มีการประชุมสรุปประเมินสถานการณ์ย่อๆ จากเจ้าหน้าที่ระดับสูงฝ่ายความมั่นคงหลายคนของสหรัฐฯ เจ้าหน้าที่ผู้ที่เข้าร่วมประชุมด้วยในวันนั้นบอกว่ามีการนำเสนอข้อมูลข่าวกรองจำนวนมากที่แสดงให้เห็นว่าปูตินมีบทบาทในการแทรกแซงการเลือกตั้งสหรัฐฯ เช่น อีเมลที่ฝ่ายข่าวกรองกองทัพรัสเซียฉกมาได้จากพรรคเดโมแครตและวางแผนร่วมกับวิกิลีคส์ว่าจะเผยแพร่อีเมลนี้อย่างไรดี…

ดูท่าทีย้อนแย้งของโดนัลด์ ทรัมป์ กรณีรัสเซียโจมตีไซเบอร์แทรกแซงเลือกตั้งสหรัฐฯ

Loading

  สื่อตั้งข้อสังเกตท่าทีของประธานาธิบดีสหรัฐฯ กรณีรัสเซียแทรกแซงเลือกตั้งสหรัฐฯ เมื่อปี 2559 ระบุ ว่าก่อนหน้าการเข้ารับตำแหน่งทรัมป์ เองก็เคยแฉพฤติการณ์ดังกล่าว แต่หลังจากที่ตัวเองได้ตำแหน่งแล้วก็เริ่มกลับคำและพูดถึงเรื่องนี้แบบไม่เต็มปากเท่าเดิม เมื่อไม่นานนี้มีการพบปะหารือระหว่างโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ กับ วลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย รวมถึงมีการสั่งลงโทษเจ้าหน้าที่ทหารของรัสเซียที่ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งปี 2559 ของสหรัฐฯ ทำให้ประเด็นข้อกล่าวหาเรื่องการแทรกแซงของรัสเซียกลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้ง สื่อนิวยอร์กไทม์นำเสนอในเรื่องนี้โดยตั้งข้อสังเกตย้อนไปตั้งแต่ช่วงก่อนทรัมป์เข้ารับตำแหน่งว่า ทรัมป์เคยนำเสนอหลักฐานด้านข่าวกรองที่แสดงให้เห็นว่าปูตินเป็นผู้สั่งโจมตีทางไซเบอร์เพื่อปั่นป่วนการเลือกตั้งสหรัฐฯ ในปี 2559 หลักฐานที่ทรัมป์นำเสนอในครั้งนั้นมีทั้งเอกสารและอีเมลจากเจ้าหน้าที่กองทัพรัสเซียและข้อมูลลับสุดยอดอื่นๆ จากแหล่งที่ใกล้ชิดกับปูติน โดยในข้อมูลเหล่านี้เปิดเผยว่ารัสเซียพยายามแฮ็กระบบและใช้วิธีการใส่ร้ายป้ายสีในการป่วนการเลือกตั้งสหรัฐฯ อย่างไร แต่หลังจากนั้นทรัมป์ก็ไม่ได้พูดถึงข้อค้นพบข้างต้นอย่างชัดเจนและหลังจากการประชุมร่วมกับรัสเซียในช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาที่ฟินแลนด์ก็ตอบคำถามนักข่าวเรื่องการแทรกแซงของรัสเซียโดยบอกว่ารัสเซียไม่ได้ตั้งเป้าหมายกับสหรัฐฯ ซึ่งฟังดูขัดแย้งกับสิ่งที่ผู้อำนวยการหน่วยข่าวกรองแห่งชาติ แดน โคท กล่าวไว้หลายวันก่อนหน้านี้ แม้ว่าเขาจะนั่งห่างจากทรัมป์ออกไปไม่มากนักในห้องทำงานคณะรัฐมนตรี อีกไม่กี่ชั่วโมงต่อมาทรัมป์ก็ให้สัมภาษณ์กับสื่อซีบีเอสในแบบที่กลับคำอีกครั้ง โดยบอกว่าโดยส่วนตัวแล้วเขาโทษปูตินในเรื่องการแทรกแซงการเลือกตั้งสหรัฐฯ แต่ก็เชื่อว่าปูตินมีส่วนเกี่ยวข้องในทางอ้อมในฐานะ “ผู้เป็นผู้นำประเทศ” เท่านั้นไม่ใช่ในทางตรง รวมถึงอาจจะมีคนกลุ่มอื่นก็ได้ที่ก่อเหตุ สำหรับสาเหตุที่ทรัมป์ต้องกลับคำไปมาเช่นนี้ มีผู้ช่วยประธานาธิบดีที่ใกล้ชิดกับทรัมป์แต่ไม่ประสงค์ออกนามบอกกับสื่อนิวยอร์กไทม์ว่าเป็นเพราะถ้าหากทรัมป์ยอมรับว่ามีการพยายามแทรกแซงการเลือกตั้งปี 2559 จากรัสเซียแล้ว ถึงแม้ว่าจะบอกว่าเป็นการแทรกแซงที่ไม่สำเร็จก็ตาม มันก็จะทำให้เกิดการตั้งคำถามต่อความชอบธรรมในการตำรงตำแหน่งปัจจุบันของทรัมป์ ตัวอย่างที่ดีที่สุดสำหรับเรื่องนี้ต้องย้อนไปเมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2560 มีการประชุมสรุปประเมินสถานการณ์ย่อๆ จากเจ้าหน้าที่ระดับสูงฝ่ายความมั่นคงหลายคนของสหรัฐฯ เจ้าหน้าที่ผู้ที่เข้าร่วมประชุมด้วยในวันนั้นบอกว่ามีการนำเสนอข้อมูลข่าวกรองจำนวนมากที่แสดงให้เห็นว่าปูตินมีบทบาทในการแทรกแซงการเลือกตั้งสหรัฐฯ เช่น อีเมลที่ฝ่ายข่าวกรองกองทัพรัสเซียฉกมาได้จากพรรคเดโมแครตและวางแผนร่วมกับวิกิลีคส์ว่าจะเผยแพร่อีเมลนี้อย่างไรดี นอกจากนี้ยังมีการพูดถึงแหล่งข่าวกรองที่เป็นบุคคลยึนยันบทบาทของปูตินในกรณีนี้เช่นกัน…