‘กอ.รมน.ภ.4-กก.อิสลามปัตตานี’ วอนอย่าเชื่อข่าวลือห้ามเข้าเมืองช่วง 28-30 พ.ค.

Loading

เมื่อเวลา 14.30 น.วันที่ 27 พ.ค.ที่สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำ จ.ปัตตานี พ.อ.ธนาวีร์ สุวรรณรัตน์ รองโฆษก กองอำนวยการรักษาความมั่นคง (กอ.รมน.) ภาค 4 ส่วนหน้า นายดือราแม มะมิงจิ ประธานคณะกรรมการอิสลาม จ.ปัตตานี ร่วมชี้แจงกรณีมีบุคคลปล่อย 2 คลิปปริศนาสร้างข่าวลือต่อๆ กัน ขอไม่ให้ประชาชนที่นับถือศาสนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ออกจากบ้านเข้าเขตเมืองในวันที่ 28 – 30 พ.ค. เพราะจะมีการก่อเหตุสร้างสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ โดยจากคลิปที่ปรากฏมองว่าเป็นความพยายามปล่อยข่าวลือสร้างความสับสนและหวาดกลัว ตลอดจนสร้างพลกระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติศาสนากิจของมุสลิมในพื้นที่ช่วงเดือนรอมฎอน และยังเป็นการบิดเบือนหลักคำสอนตามศาสนาอิสลามที่ถูกต้อง จึงเตรียมประกาศใช้มาตรการทางกฎหมายเข้าดำเนินคดีกับผู้เกี่ยวข้องทุกราย ทั้งนี้ขอให้ประชาชนเชื่อมั่นในมาตรการรักษาความสงบเรียบร้อย อย่าตื่นตระหนกกับข่าวลือดังกล่าว ส่วนเหตุการณ์ที่กลุ่มคนร้ายลอบวางระเบิดตู้เอทีเอ็มป่วนเมืองปัตตานี ยะลา นราธิวาส เมื่อ 20 พ.ค.ที่ผ่านมานั้นเจ้าหน้าที่สามารถควบคุมตัวผู้เกี่ยวข้องได้แล้วหลายราย ขณะนี้อยู่ระหว่างขยายผลเพิ่มเติม ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่าคลิปข่าวลือดังกล่าวมีการปล่อยต่อๆ อย่างแพร่หลายตามโซเชียล จนเกิดคำถามและสร้างความวิตกกังวนว่าจะเกิดเรื่องราวจริงหรือไม่ โดยประชาชนส่วนหนึ่งได้มีการตักเตือนครอบครัวและญาติ เพื่อเลี่ยงกับอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจริง ท่ามกลางการจัดมาตรการขุมเข้มในทุกพื้นที่ โดยมีคำสั่งให้สนธิกำลังร่วมทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครอง ตลอดจนกำลังภาคประชาชน เข้ามาช่วยตรวจตราตามจตุดตรวจจุดสกัดในเส้นทางหลักและทางรองเข้าสู่พื้นที่เขตตัวเมืองปัตตานี และมีการจัดส่งชุดลาดตระเวนประจำจุดที่มีความสุ่มเสี่ยงเน้นชุมชนเมืองและย่านเศรษฐกิจ พร้อมทั้งขอความร่วมมือประชาชนช่วยเป็นหูเป็นตา…

เจ๋ง! นักศึกษาในฟลอริดา พัฒนาอุปกรณ์ป้องกันการโจรกรรมข้อมูลที่ตู้ ATM

Loading

นอกจากจะมีเหล่าแฮคเกอร์ หรือนักเจาะข้อมูล ที่ขโมยหมายเลขบัตรเครดิตทางอินเตอร์เนตแล้ว ยังมีมิจฉาชีพกลุ่มอื่นๆ ที่ขโมยข้อมูลจากตัวบัตรโดยตรงหรือที่ตู้ ATM ล่าสุด นักเรียนกลุ่มหนึ่งที่มหาวิทยาลัยฟลอริดา คิดค้นอุปกรณ์ที่ยับยั้งการโจรกรรมเหล่านี้ได้ ด้วยต้นทุนไม่แพงแล้ว แม้ว่าบัตรเครดิตและบัตรเดบิตรุ่นใหม่ๆ จะมีแถบชิพอิเล็กทรอนิค ที่ยากต่อการคัดลอกหมายเลขบัตร แต่ก็ยังมีบัตรเครดิตจำนวนมากที่ยังใช้แถบแม่เหล็กและต้องใช้เครื่องอ่านบัตรแบบเก่ากันอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามร้านค้าเล็กๆ หรือปั๊มน้ำมัน ซึ่งมักจะตกเป็นเป้าหมายของเหล่ามิจฉาชีพ อาจารย์ Patrick Traynor จากมหาวิทยาลัยฟลอริดา อธิบายว่า บัตรเครดิตจะถูกเข้าถึงข้อมูลภายในบัตรได้ ด้วยเครื่องอ่านบัตรเครดิต หรือ Card Reader ซึ่งจะมีเครื่องอ่านบัตรเพียงเครื่องเดียวที่ปรากฏอยู่ในช่องเสียบบัตรของตู้ ATM หรือร้านค้า แต่วิธีของเหล่ามิจฉาชีพจะติดหัวอ่านปลอมเข้ากับหัวอ่านแถบแม่เหล็กของบัตรของจริงอย่างแยบยล และเมื่อลูกค้าใส่บัตรเครดิตเข้าไป หัวอ่านนั้นจะคัดลอกข้อมูล และนำไปทำบัตรเครดิตปลอมมาใช้ เจ้าหน้าที่รักษากฏหมายของสหรัฐฯ เรียกการโจรกรรมดังกล่าวว่า Skimmer ซึ่งในแต่ละปีสามารถขโมยเงินได้มากกว่าหนึ่งพันล้านดอลลาร์ การโจรกรรมแบบ Skimmer กำลังแพร่หลาย โดยเฉพาะตามเมืองใหญ่ เช่นที่มหานครนิวยอร์ค ทว่าที่นั่นกลับมีตำรวจสืบสวนเพียง 4 คนเท่านั้น ที่ได้รับการฝึกอบรมให้สามารถตรวจสอบหัวอ่านปลอมที่ถูกนำไปติดตั้งตามตู้ ATM ได้ ล่าสุด นักเรียนกลุ่มหนึ่งที่มหาวิทยาลัยฟลอริดา ภายใต้การนำของอาจารย์ Patrick Traynor คิดค้นพัฒนาอุปกรณ์ที่มีชื่อเรียกว่า…