8 เหตุผล ที่คุณควรสนใจข้อกำหนด GDPR จาก EU

Loading

ในรอบเดือนที่ผ่านมา ถ้าใครใช้บริการ social media หรือ website ที่มีการสมัครสมาชิกในฝั่งยุโรปและอเมริกาแล้วละก็ จะได้รับจดหมายจากบริการนั้น ๆ ในเรื่องการปรับเปลี่ยนนโยบายการเก็บข้อมูลและการใช้ข้อมูลของผู้ใช้ต่าง ๆ ออกมา กรณีที่เกิดขึ้นนี้ไม่ใช่ผลพวงจากการที่เกิดกรณี Facebook และ Cambridge Analytica ที่ผ่านมา แต่เกิดจากผลพวงที่ของข้อกำหนด EU ที่จะเริ่มใช้ 25 พฤษภาคมนี้ในเรื่อง ข้อกำหนดปกป้องข้อมูล หรือ General Data Protection Regulation (GDPR)  ซึ่งจะมีผลไม่ใช่เฉพาะแค่ EU แต่โดยรวมแล้วทั้งโลกเลยทีเดียว General Data Protection Regulation (GDPR) เป็นเรื่องข้อกำหนดที่จะใหญ่ที่สุดที่ EU เคยทำมา ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้บริโภคหรือคนที่อยู่ในหสภาพยุโรปนั้นสามรรถควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลตัวเองได้ง่ายมากขึ้น และทำให้ข้อกำหนดไม่ว่าจะเป็น EULA, TOS ต่าง ๆ ที่แบรนด์ต่าง ๆ เขียนออกมาคลุมเครือ อ่านยาก ทำความเข้าใจได้ยาก ก็ต้องทำให้เข้าใจได้ง่ายมากขึ้นสำหรับคนทั่วไป ที่จะได้รับรู้สิทธิและเงื่อนไขในเรื่องข้อมูลเมื่อใช้บริการต่าง ๆ ขึ้นมา ซึ่งแท้จริงแล้วข้อกำหนดนี้จะสร้างมาตรฐานที่ดีต่อไป และทำให้เกิดความเชื่อใจในการใช้งานเพิ่มมากขึ้นนั้นเอง…

GDPR คืออะไร สำคัญอย่างไร? ทำไมจึงต้องเข้าใจ GDPR?

Loading

โดย…นคร เสรีรักษ์ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้ก่อตั้ง PrivacyThailand กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ความสนใจหรือความตระหนักรู้เรื่องความเป็นส่วนตัวและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในประเทศไทยนับว่ามีอยู่ค่อนข้างน้อย โดยเฉพาะในโลกปัจจุบันที่คนไทยนิยมใช้โซเชียลมีเดียกันจนติดอันดับต้นๆ ของโลก เราโพสต์เราแชร์ข้อมูลส่วนตัวบนโลกออนไลน์โดยไม่เคยตระหนักถึงความสำคัญของความเป็นส่วนตัว ที่น่าห่วงกว่าการไม่เห็นคุณค่าในพื้นที่ส่วนตัว คือการมองไม่ตระหนักถึงอันตรายหรือความเสียหายที่จะเกิดจากการโจรกรรมข้อมูลของเราไปใช้ประโยชน์ในทางไม่ชอบ จนพูดกันว่าความเป็นส่วนตัวตายไปแล้วจากโลกดิจิทัลวันนี้ ระยะหลังๆ นี้ เริ่มมีการพูดถึงข้อมูลส่วนบุคคลกันมากขึ้น โดยเฉพาะในแวดวงผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับข้อมูล การติดต่อสื่อสาร และธุรกิจที่มีฐานข้อมูลส่วนบุคคลขนาดใหญ่ นั่นคือความกังวลต่อ GDPR ซึ่งเป็นข้อบังคับของสหภาพยุโรปเกี่ยวกับการเก็บและการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ที่กลัวกันมากก็เพราะบทลงโทษของผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ GDPR จะถูกปรับสูงถึง 20 ล้านยูโร ที่สำคัญคือจะมีผลบังคับใช้ในเดือนพฤษภาคม 2561 ที่กำลังจะมาถึง จริงๆ แล้ว เรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในระดับนานาชาติไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะมีพัฒนาการมากมายทั้งในระดับกฎหมายต่างประเทศในนานาประเทศและกฎหมายหรือข้อตกลงระหว่างประเทศในหลายเวที เช่น การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แนวทางขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ข้อตกลงของรัฐสภาแห่งยุโรป ข้อบังคับสหภาพยุโรป (European Union Directive 95/46/EC) แนวทางของสหประชาชาติ และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามแนวทางของ APEC การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามข้อบังคับ EU การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตาม EU Directive 95/46…

ไอเอสโผล่ประกาศตัวอีกรอบสาม ก่อการร้ายสยองอินโดฯ – 4 คนร้ายใช้ดาบ

Loading

เอเอฟพีรายงานว่า  เหตุการณ์ก่อการร้ายระลอกใหม่ในอินโดนีเซียเมื่อวันที่ 16 พ.ค. ที่สถานีตำรวจในนครเปกันบารู บนเกาะสุมาตรา เจ้าหน้าที่ตำรวจเสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บอีก 2 ราย ตำรวจยิงวิสามัญฯ คนร้าย 4 รายตายที่จุดเกิดเหตุนั้นเป็นเหตุการณ์ที่กองกำลังรัฐอิสลาม หรือไอเอส ประกาศตัวว่าอยู่เบื้องหลังการเขย่าขวัญอินโดนีเซียอย่างต่อเนื่อง เหตุดังกล่าวเกิดต่อจากเหตุการณ์ที่ 2 ครอบครัวซึ่งต่างรู้จักกันและเป็นสมาชิกของกลุ่มเรียนด้านศาสนาเดียวกันก่อเหตุระเบิดพลีชีพสังหารเหยื่อในสัปดาห์นี้ เหตุการณ์แรกครอบครัว 6 คน พ่อแม่ลูกกระจายกำลังวจุดระเบิดพลีชีพที่โบสถ์คริสต์เมื่อวันที่ 13 พ.ค. คร่าชีวิต 13 ราย วันต่อมา อีกครอบครัว 5 คน จุดระเบิดพลีชีพที่สถานีตำรวจเมื่อวันที่ 14 พ.ค. ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บ 10 คน ที่เมืองสุราบายา เมืองใหญ่ลำดับที่สองของอินโดนีเซีย ส่วนเหตุการณ์ล่าสุด วันที่ 16 พ.ค. กลุ่มคนร้ายขับรถตู้เล็กบุกเข้าประตูทางเข้าสถานีตำรวจใช้ดาบซามูไรเข้าทำร้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตำรวจจึงวิสามัญฯ 4 ราย และอีกรายจับเป็นได้   สถานการณ์นี้เพิ่มแรงกดดันให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผ่านกฎหมายความมั่นคงซึ่งจะให้อำนาจตำรวจมากขึ้นให้ดำเนินการชิงลงมือต่อผู้ต้องสงสัยว่าวางแผนก่อการร้ายก่อน ประเทศอินโดนีเซียมีกำหนดเป็นเจ้าภาพจัดมหกรรมกีฬาเอเชียนเกมส์ในเดือนสิงหาคม รวมถึงการประชุมกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟ…

ข่าวสารที่คลาดเคลื่อนทางสื่อสังคมออนไลน์ กรณีสารเคมีรั่วที่โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทน

Loading

  กรณีเหตุสารเคมีรั่วที่โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะทดแทน เมื่อ 6 พ.ค.61 จากการตรวจสอบสำนักข่าวออนไลน์ที่รายงานข่าวดังกล่าว พบเว็บไซต์ที่ลงข้อความคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง พบว่า สำนักข่าวอย่างน้อย 2 สำนัก ได้รายงานข่าวสารที่คลาดเคลื่อน ระบุข้อความ “สารเคมีรั่วไหล บริเวณก่อสร้างโรงไฟฟ้าทดแทน 4-7 กฟผ.แม่เมาะ พบเป็นไซยาไนต์…” สำนักข่าวได้อ้างการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองส่วนท้องถิ่นที่อยู่ในพื้นที่ตั้งของโรงไฟฟ้าดังกล่าว ซึ่งได้รับข้อมูลจากการสอบถามเจ้าหน้าที่ของโรงไฟฟ้า กฟผ.แม่เมาะว่า สารที่รั่วไหลออกมา คือ ก๊าซไฮโดรเจนไซยาไนต์ ซึ่งเป็นยาพิษ… ข่าวสารที่คลาดเคลื่อนถูกแชร์ออกไปเป็นจำนวนมากในสื่อสังคมออนไลน์ รวมทั้งภาพถ่ายสถานที่เกิดเหตุ ซึ่งคาดว่าได้มาจากกล้องโทรศัพท์มือถือของผู้ปฏิบัติงานที่พกพาเข้าไปในพื้นที่ สร้างความตื่นตระหนกแก่ประชาชน และเป็นการบ่อนทำลายความน่าเชื่อถือของหน่วยงานที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ อย่างไรก็ดี การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. แม่เมาะได้ออกมาได้ชี้แจงรายละเอียดผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ (Facebook) ในวันเดียวกัน พร้อมทั้งเชิญสื่อมวลชนเข้าตรวจสอบจุดเกิดเหตุ เพื่อยืนยันให้ประชาชนได้รับทราบข้อเท็จจริง โดยยืนยันไม่ใช่สารไซยาไนต์ ทำให้ลดกระแสความวิตกกังวลของประชาชน และได้ปฏิบัติการตามแผนฉุกเฉินควบคุมสถานการณ์สารรั่วในบริเวณพื้นที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าทดแทนได้ทัน มีการประกาศให้คนงานออกไปยังจุดรวมพลเพื่อความปลอดภัย ไม่มีผู้บาดเจ็บ หรือได้รับอันตรายจากการสูดกลิ่นและควัน เจ้าหน้าที่ได้เข้าตรวจสอบ ดำเนินการแก้ไขเบื้องต้นจนควบคุมการรั่วไหลได้อย่างเรียบร้อย   นายประทีป พันธ์ยก หมวดความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน กฟผ.แม่เมาะ กล่าวว่า สารเคมีที่รั่วไหลเป็นกรดไฮโดรคลอลิค (HCL)…