กล้องวงจรปิดกว่า 60 ตัวในญี่ปุ่นถูกแฮกเกอร์เข้าถึงเพราะไม่เปลี่ยนรหัสผ่าน

Loading

  แฮกเกอร์จำนวนหนึ่งสามารถเข้าถึงระบบกล้องวงจรปิดกว่า 60 ตัวที่ผลิตโดย Canon Inc. ซึ่งถูกติดตั้งตามสถานที่ต่าง ๆ ทั่วญี่ปุ่น โดยกล้องทั้งหมดมีการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเพื่อการดูภาพจากระยะไกล รายงานข่าวระบุว่าภาพจากกล้องบางส่วนจะปรากฏข้อความที่แฮกเกอร์ทิ้งไว้ว่า “I’m Hacked. bye2.” อยู่ด้วย หลังเกิดเหตุ เมืองยะชิโยะในจังหวัดชิบะ และเมืองอะเงะโอะในจังหวัดไซตะมะ ซึ่งสูญเสียการควบคุมกล้องวงจรปิดในพื้นที่คลองส่งน้ำ ต่างก็ออกมายอมรับว่าพวกเขาไม่ได้เปลี่ยนรหัสผ่านของกล้องวงจรปิด แต่ใช้ค่าเดิมที่ตั้งมาจากโรงงาน ซึ่งหลังจากตรวจพบความผิดปกติจึงได้ทำการเปลี่ยนรหัสผ่านและตัดการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต รวมถึงแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจแล้ว ส่วนทางด้าน Canon ได้ออกมาแนะนำผ่านทางเว็บไซต์ว่าผู้ติดตั้งระบบกล้องวงจรปิดทั้งหมดควรทำการเปลี่ยนรหัสผ่านเสียใหม่ นอกจากนี้ยังมีรายงานถึงเหตุการณ์ในลักษณะเดียวกันเกิดขึ้นกับกล้องวงจรปิดในอีกหลายพื้นที่ เช่น ตลาดปลาในจังหวัดฮิโระชิมะ ศูนย์ดูแลผู้พิการในจังหวัดเฮียวโงะ และบริษัทแห่งหนึ่งในจังหวัดโอกินาวะ   ———————————————————————————————————————————————- ที่มา : Blognone | wklk     /  วันที่ 7 พ.ค.61 ลิงก์ : https://www.blognone.com/node/102064

ตัวแทน AWS อาเซียนยืนยัน ระบบคลาวด์ไม่ได้ถูกแฮกกรณีข้อมูลหลุด, มีการป้องกันและแจ้งเตือนหลายชั้น

Loading

  เดือนที่แล้วมีประเด็นอื้อฉาวในวงการโทรคมนาคมและความปลอดภัยไซเบอร์ในบ้านเรา กรณีที่โอเปอเรเตอร์ทำข้อมูลบัตรประชาชนลูกค้าหลุด จากการเปิด bucket บน S3 เป็นพับลิกแล้วอ้างว่าถูกแฮก วันนี้ Blognone ได้มีโอกาสพูดคุยกับ Santanu Dutt ตำแหน่ง Senior Manager ฝั่ง Solution Architecture ของ AWS ในอาเซียน ซึ่งคุณ Santanu ยืนยันว่ากรณีดังกล่าว AWS ไม่ได้ถูกแฮกและระบบก็มีโซลูชันความปลอดภัยที่แน่นหนา หลายชั้น รวมถึงมีการแจ้งเตือนความผิดพลาดหรือความเสี่ยงต่างๆ อยู่ตลอดเวลา คุณ Santanu บอกว่า AWS ถูกพัฒนาขึ้นโดยมีประเด็นด้านความปลอดภัยเป็นหนึ่งในปัจจัยตั้งต้นอันดับแรกๆ ขณะเดียวกันบริษัทก้ได้รับมาตรฐานด้านความปลอดภัยระดับโลกมากมาย โซลูชันด้านความปลอดภัยหลังบ้านก็ค่อนข้างครอบคลุมและหลากหลาย อย่างการยืนยันตนด้วย 2FA, ระบบบันทึก log ทุกอย่างที่เกิดขึ้นในระบบ, ระบบ Machine Learning ที่ตรวจสอบความปลอดภัยต่างๆ เป็นต้น     ที่สำคัญที่สุดคือ AWS มีการแจ้งเตือนประเด็นหรือความเสี่ยงต่างๆ บนหน้า Dashboard ที่เห็นได้ชัดและจะไม่หายไปจนกว่าจะแก้ไข…

พนักงานเฟซบุ๊กมีอภิสิทธิ์ ได้รับแจ้งเตือนเมื่อพนักงานคนอื่นส่องข้อมูลส่วนตัว

Loading

  เฟซบุ๊กถือข้อมูลส่วนตัวคนจำนวนมาก และบางครั้งพนักงานก็ใช้อำนาจในทางไม่ชอบไปส่องข้อมูลส่วนตัวที่ตัวเองไม่ได้มีสิทธิ์ดู ปัญหาเช่นนี้ทำให้มีคำถามว่าพนักงานเฟซบุ๊กด้วยกันเองจะมีปัญหาพนักงานแอบส่องข้อมูลกันเองหรือไม่ และทางเฟซบุ๊กก็ออกมาตอบว่าสำหรับพนักงานของเฟซบุ๊กเอง จะได้รับแจ้งเตือนเมื่อมีพนักงานคนอื่นเข้าไปส่องข้อมูลในบัญชี โฆษกของเฟซบุ๊กระบุว่าบริษัทเคยพิจารณาว่าจะปล่อยฟีเจอร์ “แบบเดียวกัน” ให้กับผู้ใช้ทั่วไป แต่ก็ต้องคิดถึงผลกระทบที่ตามมา เช่น ฟีเจอร์นี้อาจจะกลายเป็นการเตือน “คนร้าย” ให้รู้ตัวเมื่อถูกสอบสวน เฟซบุ๊กระบุว่ามีพนักงานเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลโดยไม่มีการแจ้งเตือน และพนักงานเหล่านั้นก็ยังถูกตรวจสอบอย่างหนัก การเข้าถึงข้อมูลต้องตรวจย้อนกลับไปถึงบั๊กหรือเหตุผลเป็นลายลักษณ์อักษร เหตุผลเหล่านั้นจะถูกตรวจสอบโดยผู้จัดการภายหลัง อย่างไรก็ดี มีพนักงานจำนวนหนึ่งถูกไล่ออกจากการเข้าถึงข้อมูลโดยไม่เหมาะสมในช่วงหลายปีที่ผ่านมา   ————————————————————————————————————————————————— ที่มา : Blognone | lew       วันที่ 6 พ.ค.2561 ลิงก์ : https://www.blognone.com/node/102052