เอสโตเนียตรวจสุขภาพถึงระดับดีเอ็นเอให้ประชาชนฟรีแห่งแรกของโลก

Loading

รัฐบาลเอสโตเนียเริ่มดำเนินโครงการดูแลสุขภาพพลเมือง โดยให้บริการตรวจวิเคราะห์ข้อมูลทางพันธุกรรมฟรีแล้วในเดือนนี้ ซึ่งนโยบายดังกล่าวจะทำให้ประชาชนทุกคนได้รับการตรวจดีเอ็นเอโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และจะได้รับคำแนะนำในการดูแลรักษาสุขภาพจากผลวิเคราะห์ข้อมูลทางพันธุกรรมของตนเองอย่างละเอียดด้วย โครงการนำร่องในระยะแรกจะให้บริการตรวจดีเอ็นเอฟรีกับประชาชน 1 แสนคน หรือราว 1 ใน 10 ของประชากรทั้งประเทศที่มีอยู่ 1.3 ล้านคน โดยถือเป็นชาติแรกของโลกที่ให้บริการสาธารณสุขในลักษณะนี้กับพลเมืองอย่างถ้วนหน้า ข้อมูลทางพันธุกรรมของชาวเอสโตเนียแต่ละคน จะถูกนำไปวิเคราะห์เปรียบเทียบกับฐานข้อมูลยีนกลายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรคหลายแสนตัว เพื่อให้ทราบว่าแต่ละคนมีความเสี่ยงทางสุขภาพในด้านใดบ้าง จากนั้นข้อมูลนี้จะถูกบันทึกไว้ในแฟ้มรายงานข้อมูลพันธุกรรมส่วนบุคคล ซึ่งจะเชื่อมโยงกับระบบสารสนเทศสุขภาพแห่งชาติเอสโตเนีย (ENHIS) ในอนาคต ชาวเอสโตเนียที่ผ่านการตรวจวิเคราะห์ดีเอ็นเอแล้ว สามารถนำข้อมูลที่ได้เข้าปรึกษากับแพทย์ประจำครอบครัว เพื่อขอคำแนะนำเรื่องสุขภาพและวิถีการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคที่ตนมีความเสี่ยงสูงตามที่ข้อมูลพันธุกรรมได้บ่งชี้เอาไว้ เช่นโรคมะเร็ง โรคหัวใจ หรือโรคอัลไซเมอร์ ในขณะเดียวกัน แพทย์ผู้ทำการรักษาบุคคลดังกล่าวในอนาคต ก็สามารถเข้าถึงข้อมูลพันธุกรรมนี้ได้โดยสะดวกจากระบบสารสนเทศกลาง ซึ่งจะช่วยในการวินิจฉัยและรักษาโรคได้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก นับแต่ปี 2000 เป็นต้นมา เอสโตเนียได้เริ่มเก็บข้อมูลพันธุกรรมของประชาชนเข้าใน “ธนาคารชีวภาพ” (Biobank) ไปแล้ว 50,000 ราย ทางการหวังว่าโครงการนำร่องตรวจวิเคราะห์ข้อมูลพันธุกรรมของพลเมืองในครั้งนี้ จะช่วยเพิ่มทรัพยากรข้อมูลพันธุกรรมในธนาคารชีวภาพขึ้นอีกอย่างน้อย 3 เท่า และสามารถเก็บข้อมูลพันธุกรรมของประชากรทั้งประเทศได้ในอีกหลายปีข้างหน้า ก่อนหน้านี้เอสโตเนียเป็นประเทศขนาดเล็กในแถบยุโรปเหนือที่ขึ้นชื่อเรื่องความก้าวล้ำนำสมัยของนโยบายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และมุ่งพัฒนาตนเองให้เป็นสังคมดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ โครงการล่าสุดนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการยกเครื่องระบบสาธารณสุขให้มีความทันสมัย และสามารถให้การดูแลรักษาสุขภาพที่เหมาะสมที่สุดกับแต่ละบุคคลได้ มีหลายประเทศที่รัฐให้บริการตรวจดีเอ็นเอฟรีแก่ประชาชนเช่นกัน โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบประกันสุขภาพหรือโครงการธนาคารชีวภาพ เช่นในสหราชอาณาจักร ไอซ์แลนด์…

ย่อคำให้ได้ความ

Loading

โดย : สุปัญญา  ชมจินดา สำนักงานราชบัณฑิตยสภา คำนำหน้านามเกี่ยวกับวิชาชีพต่าง ๆ ไม่ได้ใช้เป็นคำนำนามในหนังสือราชการตามระเบียบสารบรรณว่าด้วยการใช้คำนำนาม แต่ผู้อยู่ในแวดวงวิชาชีพนั้น ๆ ยังคงใช้กันอยู่ โดยเฉพาะวงวิชาชีพทางแพทย์ ซึ่งคำย่อที่ใช้ยังลักลั่นกัน เช่น คำว่า “นายสัตวแพทย์” มีทั้งที่ใช้อักษรย่อว่า สพ. นสพ. น.สพ. คำว่า “สัตวแพทย์หญิง” มีทั้งที่ใช้อักษรย่อว่า สพญ. สพ.ญ. และโดยที่ราชบัณฑิตยสถานได้เคยกำหนดคำย่อของนายสัตวแพทย์ ว่า สพ. มีผู้ท้วงติงและให้ข้อมูลเรื่องการใช้อักษรย่อดังกล่าวว่าผู้ที่อยู่ในแวดวงวิชาชีพสัตวแพทย์ใช้อักษรย่อ สพ. แก่สัตวแพทย์ทั้งชายและหญิงที่จบประกาศนียบัตร แต่ถ้าเป็นสัตวแพทย์ปริญญาที่เป็นชาย เรียกว่า นายสัตวแพทย์ ใช้อักษรย่อว่า น.สพ. ส่วนสัตวแพทย์หญิง ใช้อักษรย่อว่า สพ.ญ. คณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทยแห่งราชบัณฑิตยสถาน จึงได้นำเรื่องนี้มาพิจารณาโดยได้สอบถามข้อมูลจากกรมปศุสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ได้ความตรงตามที่มีผู้ทักท้วงมา เพื่อมิให้การใช้อักษรย่อของคำว่า นายสัตวแพทย์ สัตว์แพทย์หญิง และ สัตวแพทย์ มีความลักลั่นและสื่อความหมายได้ไม่ตรงตามข้อเท็จจริง และโดยที่หลักเกณฑ์การย่อคำของราชบัณฑิตยสถานกำหนดให้ใช้พยัญชนะต้นของแต่ละพยางค์ แล้วรวบจุดหลังพยัญชนะตัวสุดท้ายเพียงจุดเดียว คำ…

US may tie social media to visa applications

Loading

  The Trump administration has said it wants to start collecting the social media history of nearly everyone seeking a visa to enter the US. The proposal, which comes from the state department, would require most visa applicants to give details of their Facebook and Twitter accounts. They would have to disclose all social media…

สหรัฐฯ อาจขอประวัติการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของผู้ยื่นวีซ่า

Loading

  รัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้การนำของประธานาธิบดีทรัมป์ ระบุว่าต้องการเริ่มเก็บข้อมูลประวัติการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของเกือบทุกคนที่จะขอวีซ่าเข้าสหรัฐฯ ข้อเสนอที่ออกโดยกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ อาจทำให้ผู้ที่จะยื่นขอวีซ่า ต้องให้รายละเอียดเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ส่วนตัว โดยต้องระบุบัญชีสื่อสังคมออนไลน์ทุกอย่างที่เคยใช้ย้อนหลังในระยะเวลาห้าปี ซึ่งข้อเสนอนี้ อาจทำให้มีผู้ได้รับผลกระทบราว 14.7 ล้านคนต่อปี ข้อมูลที่ได้ จะถูกนำไปใช้ระบุตัวบุคคลและตรวจสอบผู้ที่ยื่นขอวีซ่าทั้งระยะยาวและระยะสั้น นอกจากนี้ ผู้ยื่นคำร้องจะถูกถามประวัติหมายเลขโทรศัพท์ อีเมล และการเดินทางย้อนหลังห้าปี รวมถึงต้องตอบคำถามว่าเคยถูกเนรเทศออกจากประเทศใดหรือไม่ และมีญาติเคยเกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายหรือไม่ ข้อเสนอนี้จะเป็นภาระเพิ่มเติมกับผู้เดินทางจากประเทศที่ไม่มีข้อตกลงยกเว้นวีซ่าเข้าสหรัฐฯ     อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอดังกล่าว จะไม่ส่งผลกระทบกับผู้ที่เป็นพลเมืองจากประเทศซึ่งมีข้อตกลงยกเว้นวีซ่าเข้าสหรัฐฯ อยู่แล้ว เช่น สหราชอาณาจักร แคนาดา ฝรั่งเศส และเยอรมนี แต่พลเมืองของประเทศที่ไม่มีข้อตกลงยกเว้นวีซ่าอย่าง อินเดีย จีน เม็กซิโก (และไทย) อาจต้องเผชิญกับความยุ่งยากในการเดินทางเข้าสหรัฐฯ ทั้งเพื่อท่องเที่ยวและทำงาน   จุดยืนในการขอข้อมูลสื่อสังคมออนไลน์ ภายใต้กฎที่มีผลบังคับใช้เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุว่าเจ้าหน้าที่จะขอข้อมูลสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ยื่นคำร้อง เฉพาะแต่ในกรณีที่เห็นว่า “ข้อมูลเหล่านี้จำเป็นต่อการยืนยันตัวบุคคล หรือเพื่อตรวจสอบอย่างเข้มงวดด้วยเหตุผลด้านความมั่นคงแห่งชาติ“ ทั้งนี้ ข้อเสนอที่เข้มงวดขึ้นออกมาหลังจากที่ประธานาธิบดีทรัมป์ สัญญาจะใช้ “มาตรการตรวจสอบที่เข้มงวดมาก” กับชาวต่างชาติที่ต้องการเดินทางเข้าสหรัฐฯ โดยอ้างเหตุผลเรื่องต่อต้านการก่อการร้าย หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ รายงานถ้อยคำในแถลงการณ์ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ…

Visa Tests Biometric Fingerprint Reader on Cards

Loading

  NEW YORK — Fingerprints can unlock doors, phones and more, but are consumers ready to pay with them? Visa, the financial services giant, thinks so. The company, which backs credit, debit and prepaid cards, has started pilot tests of cards that have a built-in fingerprint reader. Users place their finger on the sensor area…