รัฐสภาฟลอริดาผ่านกฎหมายเพิ่มอายุขั้นต่ำผู้ซื้อปืน-ให้บุคลากรในโรงเรียน “พกอาวุธ”

Loading

รอยเตอร์ – รัฐสภาแห่งรัฐฟลอริดาผ่านร่างกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยอาวุธปืนเมื่อวานนี้ (7 มี.ค.) โดยกำหนดเพิ่มอายุขั้นต่ำสำหรับบุคคลที่จะซื้อปืนไรเฟิลเป็น 21 ปี การจำหน่ายปืนทุกประเภทต้องมีระยะเวลารอ 3 วัน และอนุญาตให้ลูกจ้างบางคนในโรงเรียนของรัฐสามารถพกอาวุธได้ มาตรการทางกฎหมายล่าสุดมีขึ้นหลังเกิดโศกนาฏกรรมกราดยิงโรงเรียนมัธยม มาร์จอรี สโตนแมน ดักลาส ในเมืองพาร์คแลนด์ เมื่อวันที่ 14 ก.พ. ซึ่งทำให้นักเรียนและครูเสียชีวิตรวม 17 ราย และนำมาซึ่งการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ของกลุ่มผู้รอดชีวิตที่ต้องการเห็นรัฐควบคุมปืนมากกว่านี้ แม้ร่างกฎหมายฉบับนี้จะครอบคลุมข้อเสนอส่วนใหญ่ของนักเรียนและผู้ปกครอง แต่ยังไม่ตอบสนองข้อเรียกร้องสำคัญ คือการสั่งแบนปืนไรเฟิลจู่โจมแบบที่ถูกนำมาใช้ก่อเหตุเมื่อวันที่ 14 ก.พ. ฝ่ายที่สนับสนุนร่างกฎหมายฉบับนี้อ้างว่า เหตุกราดยิงโรงเรียนในสหรัฐฯ ซึ่งเกิดถี่ขึ้นจนน่าตกใจในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา คนร้ายมักจะใช้ “ปืนพก” เสียเป็นส่วนใหญ่ มาตรการเหล่านี้จะมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายโดยอัตโนมัติภายใน 15 วัน เว้นเสียแต่จะถูก “วีโต” โดย ริค สก็อตต์ ผู้ว่าการรัฐฟลอริดาซึ่งเป็นคนของพรรครีพับลิกัน โฆษกหญิงของ สก็อตต์ ออกมาระบุเมื่อวันอังคาร (6) ว่า เขายังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะลงนามรับรองร่างกฎหมายนี้หรือไม่ ร่างกฎหมายยังเปิดทางให้บุคลากรในโรงเรียนสามารถพกปืนขณะปฏิบัติหน้าที่ได้ ซึ่งก็มีเสียงวิจารณ์ว่า การอนุญาตเช่นนี้อาจทำให้นักเรียนส่วนน้อยเสี่ยงต่อการถูกยิงเพราะทำผิดวินัย…

ออกคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรและด้วยวาจา … เจ้าหน้าที่ตามคำสั่งใด ? ต้องรับผิด !

Loading

ตัวอย่างคำวินิจฉัยที่น่าสนใจ : เผยแพร่เพื่อประโยชน์ทางวิชาการเท่านั้น นางสาวฐิติพร ป่านไหม พนักงานคดีปกครองชํานาญการ กลุ่มเผยแพร่ขอมูลทางวิชาการและวารสาร สํานักวิจัยและวิชาการ สํานักงานศาลปกครอง ในทางปฏิบัติของการจัดทำภารกิจของหน่วยงานทางปกครอง ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำบริการสาธารณะหรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคนั้น หน่วยงานทางปกครองจะมีการมอบหมายหรือแต่งตั้งให้เจ้าหน้าที่คนหนึ่งคนใดเป็นผู้ควบคุมดูแลหรือดำเนินการเพื่อให้ภารกิจดังกล่าวบรรลุผลสำเร็จ ซึ่งโดยทั่วไปหน่วยงานทางปกครองหรือผู้มีอำนาจเลือกที่จะใช้รูปแบบการออกคำสั่งเป็นหนังสือหรือเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อให้เกิดความชัดเจน แต่ในบางกรณีหน่วยงานทางปกครองหรือผู้มีอำนาจอาจเลือกที่จะใช้รูปแบบการออกคำสั่งด้วยวาจามอบหมายให้เจ้าหน้าที่คนหนึ่งคนใดปฏิบัติหน้าที่ ถ้ากิจการงานที่มอบหมายนั้นเป็นเรื่องเร่งด่วนหรือมีความจำเป็น โดยกฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องนั้นไม่ได้กำหนดรูปแบบไว้โดยเฉพาะเจาะจงว่าจะต้องออกคำสั่งโดยทำเป็นหนังสือหรือเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งกรณีเช่นนี้ หน่วยงานทางปกครองย่อมสามารถที่จะออกคำสั่งทางปกครองโดยถือปฏิบัติตามรูปแบบที่พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 กำหนดไว้ กล่าวคือ การออกคำสั่งทางปกครองอาจทำเป็นหนังสือหรือด้วยวาจาหรือโดยการสื่อความหมายในรูปแบบอื่นก็ได้ แต่ต้องมีข้อความหรือความหมายที่ชัดเจนเพียงพอที่จะเข้าใจได้ (มาตรา 34) และในกรณีที่คำสั่งทางปกครองเป็นคำสั่งด้วยวาจา ถ้าผู้รับคำสั่งร้องขอและการร้องขอได้กระทำโดยมีเหตุอันสมควรภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีคำสั่ง เจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งต้องยืนยันคำสั่งนั้นเป็นหนังสือ (มาตรา 35) และคำสั่งทางปกครองนั้นย่อมมีผลตราบเท่าที่ยังไม่มีการเพิกถอนหรือสิ้นผลลงโดยเงื่อนเวลาหรือโดยเหตุอื่น (มาตรา 42 วรรคสอง) อย่างไรก็ดี ในเรื่องนี้อาจเกิดประเด็นปัญหาว่า ถ้าแต่เดิมผู้มีอำนาจได้ออกคำสั่งมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว แต่ต่อมาผู้มีอำนาจได้ออกคำสั่งด้วยวาจาเปลี่ยนแปลงให้เจ้าหน้าที่อื่นทำหน้าที่แทน โดยไม่ได้ยกเลิกคำสั่งเดิมที่เป็นลายลักษณ์อักษร และเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบหมายตามคำสั่งซึ่งเป็นลายลักษณ์อักษรไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว หากมีความเสียหายเกิดขึ้นแก่หน่วยงานทางปกครอง เจ้าหน้าที่คนดังกล่าวจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายหรือไม่ คดีปกครองที่นำมาเป็นอุทาหรณ์ในคอลัมน์กฎหมายใกล้ตัวฉบับนี้ เป็นกรณีที่หน่วยงานทางปกครองมีคำสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ได้รับคำสั่งแต่งตั้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้เป็นผู้ควบคุมงานและกรรมการตรวจการจ้างชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากการกระทำละเมิด ทั้งที่ความเสียหายเกิดขึ้นภายหลังจากที่ผู้มีอำนาจได้มอบหมายงานด้วยวาจาให้เจ้าหน้าที่อื่นเป็นผู้รับผิดชอบแทน ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้มีว่า เทศบาลตำบลเสาไห้ (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3) ได้มีคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรแต่งตั้งให้ผู้ฟ้องคดีซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นช่างโยธาเป็นผู้ควบคุมงานและกรรมการตรวจการจ้างงานก่อสร้างปรับปรุงและตกแต่งอาคารที่ทำการ ต่อมา ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 โดยนายกเทศมนตรีได้มีคำสั่งด้วยวาจาให้ปลัดเทศบาลตำบลเสาไห้…

German court finds Facebook oversharing user data

Loading

‘Facebook hides default settings that are not privacy-friendly in its privacy center and does not provide sufficient information about this when users register,’ Federation of German Consumer Organisations (VZBV) legal expert Heiko Duenkel says FRANKFURT, Germany – A German court has found Facebook is breaching data protection rules with privacy settings that over-share by default…

ศาลเยอรมันชี้ Facebook บังคับผู้ใช้ระบุชื่อจริงเป็นการละเมิดกฎการป้องกันข้อมูล

Loading

องค์กรสิทธิผู้บริโภคในเยอรมันเผยว่า ศาลเยอรมันตัดสิน Facebook ละเมิดกฎการป้องกันข้อมูลส่วนตัว ด้วยการตั้งค่าให้ผู้ใช้ระบุชื่อนามสกุลจริงเป็นค่าเริ่มต้น กฎหมายการป้องกันข้อมูลของเยอรมันระบุว่าข้อมูลส่วนบุคคลนั้น บริษัทสามารถบันทึกและนำไปใช้ภายใต้ข้อตกลงที่ชัดเจนจากแต่ละบุคคล แต่ศาลตัดสินว่า การให้ผู้ใช้ต้องให้ชื่อจริงเป็นค่าเริ่มต้นนั้นเป็นความล้มเหลว เพราะไม่ได้เสนอทางเลือกให้ผู้ใช้ได้รู้เลยว่าข้อมูลจะถูกนำไปใช้อย่างไร ผู้พิพากษาตัดสินว่า Facebook มีการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวที่ละเมิดกฎ เช่น การแชร์ข้อมูลตำแหน่งกับคู่สนทนา หรือการสร้างโปรไฟล์ให้ search engine ภายนอกสามารถค้นหาได้ ข้อกำหนดการใช้งานจำนวน 8 ย่อหน้าของ Facebook ก็ไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะประเด็นการเรียกร้องให้ผู้ใช้ใช้ชื่อจริง ศาลระบุอีกว่า สโลแกน “Facebook นั้นให้ผู้ใช้เข้าถึงได้ฟรี และมันจะเป็นเช่นนั้น” (Facebook is free and always will be) ก็เป็นเรื่องที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิด เพราะสิ่งที่ผู้ใช้ต้องจ่ายคือข้อมูล ไม่ใช่เงิน Facebook อาจต้องเสียค่าปรับถึง 250,000 ยูโร หรือ 306,000 ดอลลาร์ แต่ Facebook ระบุว่าจะยื่นอุทธรณ์ต่อไป ————————————————————– ที่มา : blognone / 13…