ภรรยา กับ ภริยา เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

Loading

โดย : พรทิพย์ เดชทิพย์ประภาพ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา           ราชบัณฑิตยสถานเป็นสถาบันที่ให้บริการทางวิชาการแก่หน่วยงานต่าง ๆ และประชาชนทั่วไปในเรื่องที่เกี่ยวกับภาษาไทย ด้วยเหตุนี้ ในแต่ละวันจึงมีผู้โทรศัพท์มาสอบถามปัญหาเกี่ยวกับการใช้ภาษาไทยยังราชบัณฑิตยสถานเป็นจำนวนมาก และหนึ่งในคำถามที่นักวรรณศิลป์ (กองศิลปกรรม) จะต้องเจอกันเป็นประจำ คือ คำถามว่า ภรรยา กับ ภริยา ใช้เหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร เนื่องจากมักพบการใช้คำว่า ภรรยา กับหญิงที่เป็นคู่ครองของชายซึ่งเป็นบุคคลทั่วไป และมักพบการใช้คำว่า ภริยา กับหญิงที่เป็นคู่ครองของชายซึ่งเป็นบุคคลระดับสูงหรือบุคคลสำคัญ           ดังนั้น ในคอลัมน์องค์ความรู้ภาษาไทยโดยราชบัณฑิตยสถานฉบับนี้ ผู้เขียนจึงขออธิบายให้ได้ทราบถึงความเหมือนและความแตกต่างของสองคำดังกล่าวนี้           ความเหมือนของคำว่า ภรรยา กับ ภริยา คือ เป็นคำนามเหมือนกัน และมีความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 เหมือนกัน คือ เมีย หญิงที่เป็นคู่ครองของชาย คู่กับสามี  …

Facebook และ Microsoft ออกระบบ Privacy ใหม่ รับ GDPR

Loading

General Data Protection Regulation (GDPR) หรือกฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของพลเมืองที่อาศัยอยู่ในเขตสหภาพยุโรปเตรียมถูกประกาศใช้อย่างเป็นทางการในเดือนพฤษภาคม 2018 ที่จะถึงนี้ ทำให้หลายบริษัททั่วโลกเตรียมรีบเร่งเพื่อออกนโยบายและมาตรการควบคุมให้สอดคล้องกับกฎหมายดังกล่าว ไม่เว้นแม้แต่บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Facebook และ Microsoft Credit: ShutterStock.com เพื่อสามารถให้บริการตาม GDPR ทาง Facebook ได้ออก Global Privacy Center ใหม่ เพื่อให้ผู้ใช้ Facebook สามารถบริหารจัดการข้อมูลที่ตนต้องการจะแชร์ หรืออีกนัยหนึ่งคือ ตั้งค่าความเป็นส่วนบุคคล (Privacy) ของตนได้อย่างครอบคลุม สำหรับ Microsoft นั้น ได้เพิ่มหน้า Activity History เข้าไปยัง Microsoft Privacy Dashboard ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถดูว่ามีข้อมูลอะไรที่บันทึกอยู่ในบัญชีของ Microsoft บ้าง รวมไปถึงปรับแต่งความเป็นส่วนบุคคลของตนบนอุปกรณ์และเบราว์เซอร์ได้ และในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ ผู้ใช้จะสามารถเรียกดูและบริหารจัดการข้อมูลที่ใช้ไป กิจกรรมที่เกิดขึ้นบนอุปกรณ์และบริการต่างๆ รวมไปถึงสามารถนำข้อมูลที่เห็นบน Dashboard ออกมาและลบบางส่วนที่ไม่ต้องการทิ้งได้ ตรงกับความต้องการของ GDPR ที่ระบุว่าผู้ใช้ต้องมีสิทธิ์ลบข้อมูลส่วนบุคคลทิ้งได้ตามความต้องการ นอกจากนี้ยังมี…

ใครคือผู้ได้รับผลกระทบจากกฏหมาย GDPR

Loading

กฏหมาย GDPR กำลังจะถูกใช้ในกลุ่มประเทศ EU ประมาณกลางปี 2018 โดยเรื่องนี้มีผู้ได้ผลกระทบไม่น้อย วันนี้เราจึงสรุปบทความที่นำเสนอถึงมุมมองว่า GDPR นั้นมีผลกระทบอย่างไร จริงๆแล้วใครมีผลกระทบบ้างและบริษัทหรือผู้ให้บริการ Cloud มีการรับมือกับกฏหมายนี้อย่างไร ซึ่งแม้แต่ในประเทศเราเองหากท่านใดที่มีการทำธุรกิจกับกลุ่มประเทศใน EU หรือมีการใช้ Cloud ในโซนนั้นก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน ส่วนนึงที่สำคัญมากกับกฏหมายนี้คือคำว่า ‘Data Localization‘ ซึ่งอ้างถึงการเก็บข้อมูลต้องอยู่ภายในภูมิภาคหรือประเทศเดียวกันกับที่ๆ ข้อมูลนั้นเกิดขึ้น ซึ่งประเทศอย่าง จีน เยอรมัน สวิตเซอร์แลนด์ เนเธอแลนด์ รัสเซีย อินโดนีเซีย แคนย่า แทนซาเนีย และอีกหลายประเทศสามารถผ่านคำสั่งนี้ก่อนปี 2018 แล้ว อันที่จริงแล้ว GDPR ได้กล่าวถึงการที่ข้อมูลส่วนบุคคลจะสามารถถูกส่งไปในประเทศนอก EU ซึ่งมีระดับการปกป้องที่ได้รับการรับรองแล้วเท่านั้น หากองค์กรใดมีข้อสงสัยแม้เพียงน้อยนิดต่อปลายทางนั้นก็ไม่สามารส่งข้อมูลไปที่นั่นได้ เนื่องด้วยบทปรับอันแสนแพงหลายองค์กรจึงต้องทำให้แน่ใจว่าข้อมูลของลูกค้าจะไม่ออกไปนอก EU รวมถึงประเทศที่ข้อมูลนั้นเกิดขึ้นด้วย นอกจากนี้ภายในกฏหมาย GDPR ยังมีนิยามคำว่า ‘Data Controller’ และ ‘Data Processor’ ที่ต้องเข้าใจดังนี้ Data Controller หมายถึง…

ศาลพม่าปฏิเสธประกันตัว นักข่าวรอยเตอร์โดนขังต่อข้อหาละเมิดความลับราชการ

Loading

เอเอฟพี – ศาลพม่าปฏิเสธให้ประกันตัวสองนักข่าวรอยเตอร์ที่ถูกตั้งข้อหาตามกฎหมายความลับราชการในวันนี้ (1) กฎหมายที่อาจทำให้ทั้งสองต้องเผชิญกับโทษจำคุกนาน 14 ปี คดีความที่ก่อให้เกิดการคัดค้านอย่างรุนแรงจากการถดถอยของเสรีภาพสื่อในประเทศ วา โลน และกอ โซ อู สองนักข่าวชาวพม่าถูกกล่าวหาว่าครอบครองเอกสารที่เป็นความลับทางราชการที่เกี่ยวข้องกับการปราบปรามทางทหารอย่างรุนแรงต่อชนกลุ่มน้อยมุสลิมโรฮิงญา การปราบปรามที่เกิดขึ้นในพื้นที่ตอนเหนือของรัฐยะไข่ส่งผลให้ชาวมุสลิมโรฮิงญาเกือบ 700,000 คน ต้องอพยพหลบหนีไปบังกลาเทศตั้งแต่เดือนส.ค. และหลายคนกล่าวหาว่ามีการสังหารหมู่ การข่มขืน และการวางเพลิงโดยทหารพม่า “ศาลได้ตัดสินใจที่จะไม่ให้ประกันตัว” ผู้พิพากษาเย ละวิน กล่าว  สองนักข่าวที่ถูกควบคุมตัวตั้งแต่เดือนธ.ค. กล่าวว่าพวกเขาได้รับเอกสารจากเจ้าหน้าที่ตำรวจสองนายที่ได้เชิญพวกเขาทานอาหารค่ำชานนครย่างกุ้ง และเมื่อพวกเขาออกจากร้านอาหาร พวกเขาถูกจับกุมตัวก่อนที่จะมีโอกาสได้ดูเอกสารเหล่านั้น ซึ่งผู้สังเกตการณ์ระบุว่าจากระยะเวลาดังกล่าวอาจเป็นการจัดฉากของตำรวจ กลุ่มสิทธิมนุษยชนและนักการทูต และบุคคลทางการเมืองที่รวมทั้งอดีตประธานาธิบดีบิล คลินตัน ได้เรียกร้องการปล่อยตัวนักข่าวทั้งสองคน การตัดสินใจเกี่ยวกับการประกันตัวมีความสำคัญด้วยการไต่สวนเบื้องต้นก่อนการพิจารณาคดีคาดว่าจะกินเวลาหลายเดือนก่อนศาลจะตัดสินอย่างเป็นทางการว่าจะรับคดีดังกล่าวหรือไม่ และคาดว่าทั้งคู่จะยังคงอยู่ในคุกตลอดช่วงเวลาดังกล่าว ภรรยาของวา โลน เสียใจกับคำตัดสินของศาล ด้วยหวังว่าสามีจะได้รับการประกันตัว ขณะที่กอ โซ อู ซึ่งถูกสวมกุญแจมือได้มีโอกาสอุ้มลูกสาวอายุ 2 ขวบเพียงไม่นานระหว่างอยู่นอกห้องพิจารณาคดีก่อนตำรวจจะนำตัวไป รอยเตอร์ระบุว่ารู้สึกผิดหวังกับการตัดสินใจของศาลแต่เชื่อว่ากระบวนการจะแสดงให้เห็นถึงความบริสุทธิ์ของนักข่าว แต่สำนักข่าวปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นถึงรายละเอียดของสิ่งที่สองนักข่าวกำลังรายงานในช่วงเวลาที่ถูกจับกุม แต่มีการคาดการณ์กันอย่างกว้างขวางว่าพวกเขากำลังสืบเรื่องการสังหารหมู่ชาวโรฮิงญาในหมู่บ้านอินดิน ทางตอนเหนือของรัฐยะไข่. ————————————————————————– ที่มา : MGR Online…