เกิดเหตุคนร้ายหลอกถามรหัส OTP ธนาคารในมาเลเซียนับสิบราย, คาดอาจมีเหตุรหัสผ่านรั่ว
การเข้ารหัสและแลนด์สเคปการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในปัจจุบัน การวิจัยในห้องแล็บของ F5 ระบุว่า หน้าเว็บที่โหลดมาจากเว็บไซต์นับหลายล้านเว็บนั้นมีจำนวนถึง 80% ที่มีการเข้ารหัสข้อมูลเอาไว้ การทำงานเพื่อเข้ารหัสข้อมูลที่ใช้รับ–ส่งกันระหว่าง Servers กับ Clients หรือ Transport Layer Security (TLS) กลายเป็นสิ่งปกติที่องค์กรทุกขนาดและทุกอุตสาหกรรมนำไปใช้งานเนื่องจากหลายๆปัจจัยด้วยกัน ได้แก่ กฎระเบียบด้านการป้องกันภัยให้ข้อมูลของสหภาพยุโรป (GDPR), การจัดอันดับผลการค้นหาเว็บโดย Google, การเตือนเบราว์เซอร์ของเว็บไซต์ HTTP ที่ไม่เข้ารหัส และการให้ความสำคัญในเรื่องความเป็นส่วนบุคคลที่เพิ่มมากขึ้น เป็นต้น ในขณะที่การเข้ารหัสทราฟฟิคช่วยเพิ่มระดับความสามารถในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยให้แก่ข้อมูล แต่ก็ก่อให้เกิดผลลบได้เช่นกัน เนื่องจากมีปริมาณภาระงานมากขึ้นและอาจได้รับอันตรายจากมัลแวร์ที่ซ่อนอยู่ในทราฟฟิคที่มีการเข้ารหัสไว้ ซึ่งสร้างภาระให้กับองค์กรในการสรรหาโซลูชันที่มีประสิทธิภาพมาใช้ เพื่อให้โครงสร้างพื้นฐาน IT ยังคงทำงานรวดเร็วและพร้อมใช้งานตลอดเวลา อีกทั้งยังต้องป้องกันภัยและรักษาข้อมูลส่วนตัวได้อย่างรัดกุม คุณไม่สามารถตอบโต้กับสิ่งที่คุณมองไม่เห็น การเข้ารหัสทราฟฟิคเป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการป้องกันการถูกดักโจมตีระหว่างทางเพื่อดูหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลอย่างไรก็ตาม การเข้ารหัสก็สามารถทำให้อุปกรณ์ตรวจสอบหรือวิเคราะห์ความผิดปกติไม่สามารถมองเห็นทราฟฟิคเหล่านั้นไปด้วยเช่นกัน การเข้ารหัสและการถอดรหัสของทราฟฟิคจะต้องใช้พลังงานในการประมวลผลอย่างมาก ดังนั้นโซลูชันการตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัยต่างๆ เช่น ระบบตรวจจับการบุกรุก (IDS/IPS), Malware Sandbox, Next-gen Firewall (NGFW) และอื่น ๆ ไม่สามารถถอดรหัสได้ทั้งหมดหรือทำได้แต่ใช้ประสิทธิภาพมากมายมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นทราฟฟิคในการเข้าชมแอปพลิเคชันขององค์กรหรือการเข้าอินเทอร์เน็ตจากภายในองค์กร คุณจำเป็นต้องมีการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมดเพื่อให้สามารถมองเห็นทราฟฟิคได้อย่างเต็มศักยภาพ ความท้าทายในการตรวจสอบทราฟฟิคขาออก เป็นที่ทราบกันดีว่ามัลแวร์เป็นอันตราย แต่โดยปกติแล้วระบบป้องกันแบบหลากหลายชั้นจะสามารถระบุและหยุดการแพร่กระจายมัลแวร์ไปยังผู้ใช้และอุปกรณ์อื่น ๆ ได้ หรือจากการกรองข้อมูล มัลแวร์สามารถติดมาจากแหล่งต่างๆ เช่น เว็บไซต์ที่เป็นอันตรายหรืออีเมลฟิชชิ่ง ดังนั้น จึงจำเป็นต้องตรวจสอบการส่งข้อมูลออกไปข้างนอกเครือข่ายเพื่อไม่ให้ข้อมูลสำคัญรั่วไหลออกจากสภาพแวดล้อมที่ควบคุมได้ ซึ่งกลายเป็นเรื่องที่ท้าทาย เพราะผู้โจมตีแทบทุกรายในปัจจุบันใช้ช่องทางที่มีการเข้ารหัสในการซ่อนการติดต่อของมัลแวร์ไปยัง C&C Server ความท้าทายในการตรวจสอบทราฟฟิคขาเข้า การตรวจสอบทราฟฟิคขาเข้าก็เป็นเรื่องยุ่งยากเช่นกัน แอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์เป็นสิ่งจำเป็นของธุรกิจ โดยผลการสำรวจที่ระบุในรายงานของ F5 Labs 2018 Application Protection Report พบว่า 34% ของเว็บแอปเป็นภารกิจที่จำเป็นขององค์กร ดังนั้น เมื่อแอปพลิเคชันเป็นสิ่งจำเป็น คุณจึงต้องใช้โซลูชันรักษาความมั่นคงปลอดภัย อาทิ Web Application Firewall (WAF) หรือ IDS/IPS เพื่อกรองทราฟฟิคที่ไม่พึงประสงค์ นอกจากอุปกรณ์ตรวจสอบการโจมตีแล้ว คุณอาจจะต้องรันทราฟฟิคของแอปผ่านทางเอ็นจิ้นวิเคราะห์ข้อมูลหรือโซลูชันที่บันทึกการใช้งานของลูกค้าอีกด้วย ซึ่งโซลูชันเหล่านี้จะนำเสนอคุณสมบัติเฉพาะที่ไม่ซ้ำกัน แต่การถอดรหัสไม่สามารถทำได้แบบแยกแต่ละโซลูชัน คุณประโยชน์ของการมองเห็นทราฟฟิค นักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงปลอดภัยประเมินว่า ขณะนี้มัลแวร์ทั้งหมดใช้การเข้ารหัสเพื่อซ่อนการตรวจจับจากอุปกรณ์รักษาความมั่นคงปลอดภัยที่ออกแบบมาเพื่อค้นหาและกำจัดมัลแวร์ เมื่อใช้กลยุทธ์การป้องกันในเชิงลึกผู้ดูแลระบบจำนวนมากใช้โซลูชันด้านความมั่นคงปลอดภัยในแบบอนุกรมเพื่อป้องกันมัลแวร์ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นวิธีที่ไม่ค่อยได้ผลและยังเป็นการเปิดประตูให้ทราฟฟิคที่ประสงค์ร้ายผ่านเข้ามาทางโซลูชันรักษาความมั่นคงปลอดภัย โดยสรุปก็คือคุณต้องการความมั่นคงปลอดภัยแต่ก็ไม่อาจยอมให้ประสิทธิภาพของเว็บ ทราฟฟิคย่อหย่อนลง ลบพิษภัยของมัลแวร์ โซลูชัน SSL/TLS จะทำการถอดรหัสทราฟฟิคและส่งไปยังอุปกรณ์การตรวจสอบซึ่งนับว่าเป็นขั้นตอนแรกที่ดีในการลดผลกระทบจากมัลแวร์ อย่างไรก็ตาม อาจมีความล่าช้าเกิดขึ้นโดยที่ไม่จำเป็นหากการเข้าถึงบางประเภทซึ่งไม่จำเป็นต้องผ่านอุปกรณ์ตรวจสอบ ตัวอย่างเช่น ถ้าทราฟฟิคขาออกคือการเข้าชมเว็บไซต์ที่เป็นที่ยอมรับว่ามั่นคงปลอดภัย และโซลูชันการป้องกันการรั่วไหลของข้อมูล (DLP) ตรวจไม่พบข้อมูลสำคัญหรือเป็นความลับบางครั้งการเข้าชมนั้นก็ยังคงต้องผ่าน NGFW หรือ IDS แต่สิ่งสำคัญคือต้องมีความสามารถในการกำหนดเส้นทางการเข้าชมเว็บให้สอดคล้องกับความเสี่ยงของคุณ Perfect Forward Secrecy และเปลี่ยนรหัสฉับไว โปรโตคอล TLS มีการเฝ้าระวังแบบ Passtive ที่เรียกว่า Perfect Forward Secrecy (PFS) Protection ซึ่งมีการปรับปรุงการแลกเปลี่ยนคีย์โดยการใส่คีย์ที่ไม่ซ้ำกันในแต่ละเซสชันที่ผู้ใช้สร้างขึ้น PFS การันตีได้ว่าผู้โจมตีจะไม่สามารถกู้คืนคีย์ใดๆ และถอดรหัสการสนทนาที่ถูกบันทึกไว้นับล้านๆ บทสนทนาได้ เนื่องจาก PFS เป็นมาตรฐานตามหลักปฏิบัติเนื่องจากเป็นวิธีเดียวที่ได้รับอนุญาตภายในโปรโตคอล TLS 1.3 คุณจึงต้องมีการเตรียมโซลูชันสำหรับรับมือข้อจำกัดดังกล่าว ก่อนหน้านี้ การเข้ารหัสด้วย RSA keys คุณต้องแลกเปลี่ยนคีย์กับคีย์อื่นๆ ของโซลูชัน แต่การเข้ารหัสแบบ PFS จะใช้กุญแจหรือคีย์เข้ารหัสที่ไม่ซ้ำกันสำหรับแต่ละเซสชัน F5 SSL Orchestrator สามารถถอดรหัสและส่งต่อข้อความที่ไม่มีการเข้ารหัสไปยังอุปกรณ์รักษาความมั่นคงปลอดภัย หรือสามารถเปลี่ยนแปลงการเข้ารหัสไปเป็นโปรโตคอล TSL 1.2 กับคีย์ RSA ทางเลือกที่สองนี้จะช่วยให้ไม่มีข้อมูลที่ไม่ถูกเข้ารหัสปรากฎอยู่ในระบบเครือข่ายเลย ในณะที่ยังคงช่วยให้อุปกรณ์รักษาความมั่นคงปลอดภัยสามารถตรวจสอบข้อมูลที่เข้ารหัสด้วยโปรโตลคอล TLS1.3 ได้ แม้ว่าจะยังไม่พบช่องโหว่ในการเข้ารหัสแบบ Elliptical Curve Ciphers ที่บังคับใช้เมื่อใช้เทคนิค PFS แต่สิ่งที่ปลอดภัยในวันนี้ไม่ได้หมายความว่าจะปลอดภัยไปตลอด การวิจัยเรื่องความมั่นคงปลอดภัยและเครื่องมือในการแฮ็กข้อมูลยังคงพัฒนาความก้าวหน้าพอๆ กับพลังของคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำให้ช่องโหว่ปรากฏออกมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การมีจุดควบคุมแบบรวมศูนย์กลางสำหรับการถอดรหัสและเข้ารหัสจะช่วยให้การเปลี่ยนวิธีการเข้ารหัสทำได้ง่ายขึ้น การมองเห็นทราฟฟิคยังไม่เพียงพอ การควบคุมผ่านระบบ Orchestration คือหัวใจสำคัญ ความสามารถในการมองเห็นภายในแพ็คเก็ตที่เข้ามาในแอปพลิเคชันของคุณหรือออกไปจากเครือข่ายของคุณเป็นสิ่งสำคัญ แต่ก็เป็นเพียงขั้นตอนแรกเท่านั้น การจัดการกับการเชื่อมต่อแบบอนุกรมหรือการกำหนดค่าเพื่อจัดการการถอดรหัสลับ/การเข้ารหัสลับทั่วทุกระดับชั้นการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเป็นเรื่องที่น่าเบื่อ นโยบายที่กำกับการใช้งานบางสิ่งย่อมมีข้อยกเว้นอยู่ด้วยเสมอ F5 SSL Orchestrator นำเสนอทั้งการมองเห็นทราฟฟิคในระดับที่ครอบคลุมสูงสุด ระบบ Orchestration จัดให้มีการควบคุมการรับส่งข้อมูลหรือทราฟฟิคตามนโยบายเพื่อให้บริการตามสภาพความเสี่ยงและสภาพเครือข่ายแบบไดนามิก SSL Orchestrator สามารถตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาดเพื่อควบคุมการรับส่งข้อมูลขาเข้าและขาออกไปยังอุปกรณ์รักษาความมั่นคงปลอดภัยโดยอาศัยอำนาจในการเป็น Proxy เต็มรูปแบบทั้ง SSL/TLS และ HTTP และในขณะที่การเข้าชมเว็บส่วนใหญ่น่าจะใช้โปรโตคอล HTTPS SSL Orchestrator จะช่วยให้คุณจัดการกับการถอดรหัสและการเข้ารหัสลับอย่างชาญฉลาดกับการรับส่งข้อมูลประเภทอื่นๆ ด้วย เช่น STARTTLS ภายใน FTP, IMAP,…
รัฐปีนังของมาเลเซียนำเทคโนโลยีจดจำใบหน้าและ AI ที่พัฒนาโดยบริษัท IBM มาใส่ในกล้องวงจรปิด 767 ตัวทั่วเกาะ เพื่อใช้ตรวจจับอาชญากรรม หลายคนอาจจะกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัวแต่ทางสภาของรัฐยืนยันว่าเทคโนโลยีนี้จะใช้เพื่อตรวจจับใบหน้าของอาชญากรเท่านั้น เพื่อลดการก่อเหตุบนท้องถนน Chow Kon Yeow ผู้ว่าการรับปีนังให้สัมภาษณ์ว่า “เทคโนโลยีนี้จะช่วยจับภาพใบหน้าของอาชญากรหรือคนที่ตำรวจต้องการตัว ด้วยการควบคุมจากห้องควบคุมของ MBPP ที่สภาของเมือง และสำนักงานตำรวจของรัฐปีนัง การตรวจจับจะทำผ่านกล้องวงจรปิดที่ติดตั้งทั่วเกาะ เป้าหมายเบื้องต้นคือลดอาชญากรรมบนท้องถนน เพื่อสร้างความปลอดภัยและคุณภาพชีวิตที่ดีกับประชาชน เค้าตั้งเป้าจะเพิ่มกล้องพร้อมเทคโนโลยีจดจำใบหน้าให้เป็น 3,000 ตัวทั่วรัฐ เพื่อป้องกันการเกิดอาชญากรรมได้ดีขึ้น รวมถึงขยายพื้นที่ไปยังพื้นที่ใกล้เคียงที่อยู่ใต้การปกครองของรัฐ Seberang Perai Municipal Council (MPSP)” ส่วนทาง A. Thaiveegan ผู้บัญชาการตำรวจแห่งรัฐปีนังบอกว่า ได้ทำการอัพโหลดรูปของผู้ร้ายและคนที่ตำรวจต้องการตัวขึ้นไปในระบบเรียบร้อยแล้ว ถ้ามีการตรวจเจอใบหน้าเมื่อไหร่ AI ก็จะแจ้งเตือนทันที ซึ่งทางปีนังได้แรงบันดาลใจมาจากประเทศจีนที่เริ่มใช้เทคโนโลยีนี้มาตั้งแต่ปี 2005 แม้ว่าเทคโนโลยีจดจำใบหน้านั้นอาจจะไม่ได้ไว้วางใจได้ 100% เพราะอย่างในจีนนั้นก็มีปัญหากล้องที่เอาไว้ตรวจจับคนข้ามถนนผิดที่ ตรวจจับโฆษณาข้างรถเมล์ ส่งใบสั่งไปให้คนที่อยู่ในรูปแทนทั้งที่ไม่ได้ทำความผิดซึ่งอันนี้ก็ต้องมารอดูการปรับปรุงระบบให้ฉลาดขึ้น แต่เทคโนโลยีนี้ช่วยให้ทางการของจีน ช่วยระบุตัวคนที่น่าสงสัยได้ถึง 2,000 คน จับกุมอาชญากรได้ถึง 200 คดี ————————————————————— ที่มา…
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว