พ.ร.บ ไซเบอร์: ตีความต่างมุมจากผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยไซเบอร์ถึง iLaw
ประชาไท / บทความ / โดย ภูมิ ภูมิรัตน ผมเขียนเรื่องนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัว ในฐานะหนึ่งในผู้ทรงคุณวุฒิกรรมการเตรียมการด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ไม่ใช่ความเห็นของกรรมการแต่อย่างใด และเขียนขึ้นไม่ใช่เพื่อเจตนาบอกว่าใครผิดถูกอะไร แต่ผมกังวลกับกระแสถกเถียงกันที่รุนแรงมาก ทำให้แบ่งฝักแบ่งฝ่ายทะเลาะกัน เลยอยากลองชี้แจงข้อมูลเท่าที่ตัวเองทราบ เพื่อหวังว่าจะใช้ตรงนี้เป็นอีกหนึ่งพื้นที่พูดคุยแลกเปลี่ยนและสนทนากันอย่างสร้างสรรค์ร่วมกัน กฎหมายนี้มีความซับซ้อน เขียนกันมานาน และมีหลายมาตราที่คาบเกี่ยวกัน จะเข้าใจกฎหมายนี้ไม่ง่าย ต้องอ่านหลายรอบ ผมแนะนำให้ทุกคนหามาอ่านเอง โดยร่างที่ผมใช้เป็นร่างอ้างอิงของบทความนี้คือร่างที่ผ่านกรรมาธิการแล้ว และเข้าไปโหวตที่ สนช. ในวาระสองและสาม เมื่อวันก่อนที่ผ่านมา โดยแบ่งประเด็นเป็น 8 ประเด็นดังภาพในบทความดังนี้ 1. นิยามภัยคุกคามไซเบอร์ตีความได้กว้าง ครอบคลุม “เนื้อหา” บนโลกออนไลน์ 2. เจ้าหน้าที่รัฐสามารถ ขอข้อมูลจากใครก็ได้ เพื่อประโยชน์ในการทำงาน 3. กฎหมายให้อำนาจเจ้าหน้าที่ ยึด-ค้น-เจาะ-ทำสำเนา คอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์ 4. เมื่อมีภัยคุกคามไซเบอร์ร้ายแรงขึ้นไป เจ้าหน้าที่รัฐ สามารถสอดส่องข้อมูลได้แบบ Real-time 5. ในกรณีจำเป็นเร่งด่วน เจ้าหน้าที่สามารถใช้อำนาจได้โดยไม่ต้องขอหมายศาล 6. การใช้อำนาจยึด ค้น เจาะ หรือขอข้อมูลใดๆ…