สหรัฐฯ เตรียมยกระดับใช้จดจำใบหน้าที่สนามบิน ระบุตัวคนที่อยู่เกินวีซ่ากำหนด
องค์การรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือน
สำนักข่าวกรองแห่งชาติ
secnia@nia.go.th
02-2797180 ต่อ 7310
Vishwanath Akuthota อดีตนักศึกษาชาวอินเดียวัย 27 ปีถูกตัดสินให้รับโทษจำคุกนานสูงสุด 10 ปีและปรับเป็นเงินสูงสุดเกือบ 8,000,000 บาทหลังก่อเหตุใช้ USB Killer ที่สั่งซื้อออนไลน์ทำลายคอมพิวเตอร์ของ College of St. Rose ในเมืองนิวยอร์กรวมแล้วเกือบ 70 เครื่อง เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดย Akuthota ได้แอบเข้าไปในมหาวิทยาลัยที่ตนเองจบการศึกษาตอนกลางดึกแล้วใช้ USB Killer ที่สั่งซื้อออนไลน์ทำลายคอมพิวเตอร์ 59 เครื่อง จอมิเตอร์และคอมพิวเตอร์โพเดียมอีก 7 เครื่อง พร้อมถ่ายวิดีโอตนเองขณะดำเนินการดังกล่าวด้วย จากการตรวจสอบวิดีโอพบว่า Akuthota มีความตั้งใจทำลายอุปกรณ์ดังกล่าวจริง โดยมีการพูดว่า “I’m going to kill this guy”, “it’s dead” และ “it’s gone. Boom” USB Killer เป็นเครื่องมือหน้าตาเหมือน USB ที่ถูกออกแบบมาเพื่อทำลายวงจรคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ เมื่อเสียบเข้าช่อง USB ของคอมพิวเตอร์…
17 เม.ย.2562 จากกรณีเจ้าหน้าที่เก็บตัวอย่างสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอ (DNA) ของผู้เข้ารับการเกณฑ์ทหารในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ จนถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่เคารพในสิทธิในเนื้อตัวร่างกายและความเป็นส่วนตัวของผู้เข้ารับการเกณฑ์ทหาร โดย มูลนิธิผสานวัฒนธรรมออกแถลงการณ์ เรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องยึดมั่นในหลักนิติธรรม มีความโปร่งใส โดยขอเรียกร้องให้ยุติการเก็บตัวอย่างสารพันธุกรรมหรือดีเอนเอของผู้เข้ารับการเกณฑ์ทหารและทำลายตัวอย่างสารพันธุกรรมที่ได้เก็บไปแล้วด้วยนั้น ล่าสุดวันนี้ ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ รายงานว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันนี้ถึงกระเเสการคัดค้านการเกณฑ์ทหาร เเละการตรวจดีเอ็นเอดังกล่าวว่า ตนขอชี้เเจงว่าการเก็บดีเอ็นเอของทหารชายเเดนภาคใต้เป็นครั้งเเรกในการตรวจดีเอ็นเอของพลทหาร ถือเป็นปีเเห่งหารนำร่อง ซึ่งเริ่มในจังหวัดชายเเดนใต้ก่อน เนื่องจากมีปัญหาด้านความมั่นคง ส่วนจะขยายไปยังพื้นที่จังหวัดอื่นๆ นั้นไม่ได้มีการบังคับ “การตรวจดีเอ็นเอได้มีการเเจ้งให้ผู้เข้าเกณฑ์ทหารทราบก่อนทั้งหมด ขึ้นอยู่กับความสมัครใจเเละความยินยอมของเเต่ละคน ส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือดี เข้าใจในเหตุผล เเละไม่ได้เป็นการละเมิดสิทธิ์ ส่วนการเก็บดีเอ็นเอไว้เพื่อเป็นฐานข้อมูลเเห่งความมั่นคง เพราะเข้ารับราชการทหารเพียง 2 ปี” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวทิ้งท้าย ————————————————————– ที่มา : ประชาไท / 17 เมษายน 2562 Link : https://prachatai.com/journal/2019/04/82097
บริษัท PhishLabs ได้เปิดเผยข้อมูลสถิติและแนวโน้มการโจมตีแบบ phishing ในปี 2019 โดยรวมพบว่าในปีที่ผ่านมาปริมาณการโจมตีเพิ่มขึ้นกว่า 40% ผู้โจมตีใช้บริการออกใบรับรอง HTTPS ฟรีเพื่อทำให้เว็บไซต์ปลอมดูน่าเชื่อถือ กลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่คือเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลและฝ่ายการเงิน การโจมตีแบบ phishing เป็นการหลอกลวงให้เหยื่อเข้าไปยังเว็บไซต์ปลอมเพื่อข้อมูลสำคัญ เช่น รหัสผ่าน โดยส่วนใหญ่ผู้ประสงค์ร้ายจะส่งลิงก์ของเว็บไซต์ปลอมมาทางอีเมล โปรแกรมแช็ต หรือทาง SMS โดยบริการที่มักถูกนำมาสร้างเป็นหน้าเว็บไซต์ปลอมส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับด้านการเงิน อีเมล หรือบริการเก็บไฟล์แบบออนไลน์ จากสถิติของปี 2018 พบว่าผู้ประสงค์ร้ายนิยมใช้บริการเว็บโฮสติ้งฟรีเพื่อฝากหน้าเว็บไซต์ phishing นอกจากนี้ยังพบว่าเกือบครึ่งหนึ่งของเว็บไซต์ปลอมที่พบในปี 2018 เป็นเว็บไซต์ที่เข้าผ่าน HTTPS ซึ่งนอกจากจะทำให้ผู้ใช้สังเกตความผิดปกติได้ยากแล้วยังมีผลกระทบต่อความสามารถของระบบตรวจจับและป้องกัน phishing ด้วย แนวทางการตรวจสอบและป้องกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ phishing สามารถศึกษาได้จาก infographic ของไทยเซิร์ต ——————————————————– ที่มา : ไทยเซิร์ต / 17 เมษายน 2562 Link : https://www.thaicert.or.th/newsbite/
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว