ชุมนุมยุค 2019 ชาวฮ่องกงป้องกันการสอดแนมออนไลน์ และไม่ทิ้งรอยเท้าดิจิทัลอย่างไร

Loading

แม้จะใช้เครื่องมือดิจิทัลต่างๆ มากมายในการชุมนุมเพื่อต่อต้านร่างกฎหมายส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนไปยังจีนแผ่นดินใหญ่ของชาวฮ่องกงครั้งนี้ แต่ประสบการณ์จาก Occupy Central เมื่อปี 2014 ก็ทำให้ผู้ชุมนุมปรับเปลี่ยนกลวิธีเพื่อปกป้องตัวเองเพิ่มขึ้น ให้ความสำคัญกับการรักษาข้อมูลส่วนตัวในการใช้เครื่องมือดิจิทัลมากขึ้น เพราะเกรงว่าอาจถูกนำมาใช้ดำเนินคดีทางกฎหมายได้ในภายหลัง เมื่อปี 2014 แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียกำลังได้รับความนิยม มีการใช้เฟซบุ๊กและทวิตเตอร์อย่างกว้างขวาง ครั้งนั้นตำรวจจับกุมชายคนหนึ่ง โดยอ้างว่าเขาโพสต์ข้อความชวนคนมาชุมนุมผ่านเว็บบอร์ด  และมีการส่งข้อความที่เป็นมัลแวร์แพร่กระจายไปทั่ววอทซแอป (WhatsApp) ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นการติดตั้งซอฟต์แวร์แอบดักฟังโดยเจ้าของเครื่องไม่รู้ตัว นักวิจัยกล่าวว่าส่วนใหญ่มาจากรัฐบาลจีน ผู้ชุมนุมส่วนใหญ่เติบโตมาในโลกดิจิทัล และตระหนักดีถึงอันตรายจากการสอดแนมและการทิ้งรอยเท้าดิจิทัล ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีจดจำใบหน้าจากจีนแผ่นดินใหญ่และการเก็บข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ทำให้ผู้ชุมนุมเตรียมหาทางหลบหลีกเทคโนโลยีการสอดส่องประชาชนหลายรูปแบบ ครั้งนี้ ในวันแรกๆ ของการชุมนุมมีการเผยแพร่คู่มือ คีย์บอร์ด ฟรอนท์ไลน์ องค์กรรณรงค์เสรีภาพเน็ต เผยแพร่แผ่นพับว่าด้วยการปกป้องตัวตนสำหรับผู้ชุมนุม ตั้งแต่แนะนำไม่ให้ใช้ไวไฟสาธารณะ ทิ้งโทรศัพท์ไว้ที่บ้าน หรือแม้แต่ห่อบัตรประชาชน หนังสือเดินทาง บัตรของธนาคารด้วยแผ่นอะลูมิเนียม เพื่อไม่ให้ข้อมูลส่วนตัวรั่วไหลได้ จากการใช้สแกนเนอร์จากคลื่นความถี่ RFID ปกติแล้ว คนฮ่องกงใช้วอทซแอปเป็นช่องทางในการสื่อสารหลัก แต่สำหรับการชุมนุม พวกเขาเปลี่ยนมาใช้แอปที่เข้ารหัสอย่าง เทเลแกรม (Telegram) แทน เพราะเชื่อว่าคุ้มครองความเป็นส่วนตัวและปลอดภัยกว่า และเพราะว่าสามารถสร้างกลุ่มสนทนาได้ใหญ่กว่าด้วย เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน เทเลแกรมประกาศว่า แอปเทเลแกรมเป็นเป้าหมายของการจู่โจมทางไซเบอร์ด้วยวิธี DDoS ต้นทางมาจากจีนแผ่นดินใหญ่…