มารู้จัก…อุปกรณ์ฉุกเฉินในรถไฟฟ้า

Loading

ข่าวการใช้อุปกรณ์ฉุกเฉินภายในรถไฟฟ้าผิดวิธีจนเกิดผลกระทบต่อการเดินรถทั้งระบบ มีให้ได้ยินกันเป็นระยะ ดังนั้น เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง เรามารู้จักอุปกรณ์เหล่านี้กันสักนิด อุปกรณ์ฉุกเฉินภายในรถไฟฟ้าทุกขบวน จะมีอยู่ 2 ชนิด ติดตั้งที่บริเวณประตูรถไฟฟ้า ชนิดแรก คือ คันโยกเปิดประตูกรณีฉุกเฉิน หรือ Passenger Emergency Release เรียกย่อ ๆ ว่า PER เป็นคันโยกสีแดง ติดตั้งอยู่ด้านซ้ายของประตูทุกบาน ทั้งรถไฟฟ้า BTS และ MRT ส่วนของรถไฟฟ้า Airport Rail Link จะเป็นคันโยกสีเขียว มีฝาพลาสติกครอบไว้ คันโยก PER นี้ จะใช้เมื่อต้องการหยุดรถ เช่น มีคนตกชานชาลา หรือต้องการเปิดประตูรถไฟฟ้า เพื่อให้ผู้โดยสารออกจากตัวรถอย่างปลอดภัย แต่ต้องมีเจ้าหน้าที่ควบคุมรถไฟฟ้าให้คำแนะนำเท่านั้น หากผู้โดยสารดึง PER โดยไม่มีเหตุอันควร จะส่งผลต่อการเดินรถได้ ชนิดที่สอง คือ ปุ่มติดต่อสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ควบคุมรถไฟฟ้า หรือ Passenger Communication Unit เรียกแบบย่อว่า PCU…

จีนแอบใส่แอปฯ ลับในมือถือนักท่องเที่ยว เก็บข้อมูลส่วนบุคคล-ข้อความ-ประวัติการโทร เฝ้าระวังข้อมูลที่อาจเป็นปัญหา

Loading

การท่องเที่ยวในจีนอาจไม่ปลอดภัยอีกต่อไป เมื่อทางการจีนแอบติดตั้งซอฟต์แวร์บางตัวลงในโทรศัพท์มือถือของนักท่องเที่ยว กระบวนการแทรกแซงทางข้อมูลของตำรวจตรวจคนเข้าเมืองของประเทศจีนนี้ถูกเปิดเผยออกมา เมื่อนักท่องเที่ยวเปิดเผยร่องรอยของซอฟต์แวร์ที่หลงเหลือในโทรศัพท์ของเขากับสื่อ ก่อนทีมสืบสวนของสำนักข่าวเดอะการ์เดียนและพันธมิตรระหว่างประเทศจะร่วมกันติดตามกรณีล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชนครั้งนี้และพบว่าตำรวจตรวจคนเข้าเมืองของจีนจะแอบติดตั้งแอปพลิเคชันบางอย่างในโทรศัพท์ของนักเดินทางที่เดินทางเข้าสู่เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ผ่านทางประเทศคีร์กีซสถาน นอกจากนั้น นักท่องเที่ยวหลายรายยังเปิดเผยว่าเจ้าหน้าที่ของทางการจีนจะขอให้นักท่องเที่ยวส่งมือถือพร้อมรหัสสำหรับเข้าใช้งานให้กับเจ้าหน้าที่ ก่อนจะนำโทรศัพท์หายเข้าไปในห้องราว 1-2 ชั่วโมงและนำกลับออกมาให้ในภายหลัง ซึ่งจากการติดตามดูโทรศัพท์ส่วนมากจะถูกถอนการติดตั้งของแอปฯ ออกไปก่อนส่งคืน แต่ในบางครั้งนักท่องเที่ยวก็พบว่าแอปฯ ยังอยู่ในเครื่องของพวกเขา โดยแอปฯ ดังกล่าวจะทำหน้าที่ดาวน์โหลดข้อมูลส่วนบุคคลหลายอย่าง ทั้งข้อความ ข้อมูลติดต่อ และประวัติการใช้งานบางอย่างส่งกลับไปที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองที่หน้าด่าน โดยเฉพาะผู้ที่เข้าเมืองผ่านทางเขตพรมแดน Irkeshtam ซึ่งอยู่สุดเขตตะวันตกของจีนที่มีการหลงเหลือของร่องรอยการติดตามในโทรศัพท์ของนักท่องเที่ยวเป็นประจำ ขณะเดียวกัน ยังไม่สามารถทราบได้ว่าข้อมูลดังกล่าวถูกดูดออกไปเพื่ออะไรและทางการจีนจะเก็บข้อมูลเหล่านั้นไว้นานแค่ไหน และแม้ว่าจะไม่พบหลักฐานการติดตามข้อมูลภายหลังจากการเดินทางผ่านข้ามแดน แต่ข้อมูลภายในเครื่องก็ยังสามารถใช้ในการติดตามค้นหาตัวตนของเจ้าของเครื่องได้ ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์โดยสำนักข่าวเดอะการ์เดียน นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยไซเบอร์ ระบุว่า แอปฯ ดังกล่าวที่ถูกออกแบบโดยบริษัทในจีนจะค้นหาข้อมูลที่ทางการจีนคิดว่าเป็น “ปัญหา”  ซึ่งหมายรวมถึงคำศัพท์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับลัทธิหัวรุนแรง Islamist และคู่มือปฏิบัติการอาวุธ รวมถึงข้อมูลอื่นๆ อย่างการถือศีลอดในช่วงรอมฎอนจนถึงวรรณกรรมของดาไลลามะ และวงดนตรีเมทัลจากญี่ปุ่นชื่อ Unholy Grave โดยกระบวนการล่วงละเมิดนี้เป็นส่วนหนึ่งของความเข้มงวดที่จีนมีต่อเขตปกครองตนเองซินเจียง ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลจีนได้ควบคุมเสรีภาพในพื้นที่ดังกล่าวโดยการติดตั้งกล้องสำหรับจดจำใบหน้าประชากรมุสลิมทั่วท้องถนนและมัสยิด รวมถึงมีรายงานว่ามีการบังคับให้ประชาชนในพื้นที่ดาวน์โหลดซอฟต์แวร์เพื่อติดตามโทรศัพท์ของพวกเขา ด้าน Edin Omanović หนึ่งในกลุ่มรณรงค์ด้านความเป็นส่วนตัวระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า “มันน่าตกใจมากที่เพียงแค่การดาวน์โหลดแอปฯ หรือบทความข่าวอาจทำให้ผู้คนต้องเข้าค่ายกักกัน” เช่นเดียวกับ Maya…

อินเทอร์เน็ตไวไฟ (Wi-Fi) ในที่ทำงานสะดวก… แต่มาพร้อมความเสี่ยง!! จริงหรือ?

Loading

วันนี้โลกของการทำงานที่ต้องการความสะดวกรวดเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต จากทุกที่ ทำให้มีความนิยมใช้ Wi-Fi มากขึ้น แต่ในความสะดวกนั้นกับมาพร้อมเสี่ยงด้วยเช่นกัน… highlight เหล่าแฮกเกอร์จะสามารถใช้ช่องทางการเชื่อมต่อแบบไร้สายที่ขาดการป้องกันที่ดีมากเพียงพอทำอะไรได้บ้าง? คงต้องบอกว่าทำได้หลายรูปแบบ จนนับแทบไม่ไหว แต่พฤติกรรมที่เห็นบ่อย ๆ ที่ได้มีการเปิดเผยจาก จากผู้ให้บริการทางด้านโซลูชั่นปกป้องคุ้มครองโครงข่าย ระบุ ได้ 3 แบบด้วยกัน ได้แก่ ใช้ขุดรหัสผ่าน, ใช้ช่องโหว่ของเฟิร์มแวร์ และช่องทางแฝงจากเครือข่ายของบุคคลทั่วไป Wi-Fi ในที่ทำงาน สะดวกแต่มีความเสี่ยง ทุกวันนี้ที่ทำงานแทบจะทุกที่มีการบริการอินเตอร์เน็ตไร้สาย หรือ ไว-ไฟ ทั่วทั้งออฟฟิศ และในบางออฟฟิศก็มากกว่า 1 จุด ซึ่งการเติบโตขึ้นของความนิยมใช้งานระบบอินเทอร์เน็ตแบบไร้สายนี้เกิดขึ้นจากความต้องการความสะดวกสบาย ไม่ต่อสายสายแลน (Local Area Network หรือ LAN) เข้าโน้ตบุ้ค หรือคอมพิวเตอร์พีซี ให้น่ารำคาญ อีกทั้งจากการเติบโตของการใช้อุปกรณ์อื่น ๆ อาทิ สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต ในการทำงานก็เพิ่มขึ้นอย่างมาก ทำให้แนวโน้มในการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านสายลดน้อย ซึงแม้ว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านสายจะสามารถความเสถียรของสัญญาณได้มากกว่าก็ตาม แต่หลายองค์กรก็เลือกที่จะใช้งานแบบไร้สายมากกว่า และแม้ว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย จะสะดวกสบายแค่ไหน แต่ก็มาพร้อมด้วยความเสี่ยงด้วยเช่นกัน และสามารถสร้างความเสียหายได้อย่างมหาศาลเกินกว่าจะคาดคิด เพราะที่มีการปล่อยสัญญาณอยู่ตลอดเวลา จากจุดนี้เหล่าแฮกเกอร์สามารถใช้เป็นช่องทางในการโจมตีได้อย่างไม่อยากเย็น…