หวั่นภัยก่อการร้าย บริติชแอร์เวย์ระงับบินไคโร

Loading

สายการบินบริติชแอร์เวย์ของอังกฤษประกาศระงับเที่ยวบินไปกรุงไคโรของอียิปต์ 7 วันเริ่มตั้งแต่วันเสาร์ ภายหลังทบทวนมาตรการรักษาความปลอดภัย ขณะรัฐบาลอังกฤษเตือนมีความเสี่ยงสูงจากภัยก่อการร้ายในอียิปต์ รายงานเอเอฟพีเมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคมกล่าวว่า สายการบินลุฟต์ฮันซาของเยอรมนีก็ระงับเที่ยวบินจากนครมิวนิกและแฟรงก์เฟิร์ตไปยังกรุงไคโรเมื่อวันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม โดยคำแถลงไม่ได้ระบุเหตุผล แต่สายการบินนี้กลับมาให้บริการตามปรกติแล้วเมื่อวันอาทิตย์ ส่วนบริติชแอร์เวย์ (บีเอ) ประกาศระงับการบินไปยังกรุงไคโรนาน 7 วัน โดยแถลงการณ์อ้างเหตุผลว่า สายการบินทบทวนการจัดการด้านความปลอดภัยของสนามบินทั่วโลกที่เราให้บริการทุกแห่งอย่างสม่ำเสมอ และได้ตัดสินใจระงับเที่ยวบินไปกรุงไคโร เพื่อเป็นการป้องกันไว้ก่อน ระหว่างรอการประเมินเพิ่มเติม ว่ามีความปลอดภัยสำหรับการบินแล้ว “ความปลอดภัยและสวัสดิภาพของลูกค้าและลูกเรือของเราเป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญอันดับแรกอยู่เสมอ และเราจะไม่ทำการบินจนกว่าจะปลอดภัย” แถลงการณ์กล่าว ด้านกระทรวงการบินพลเรือนของอียิปต์กล่าวว่า กระทรวงกำลังทำงานร่วมกับสถานทูตอังกฤษประจำกรุงไคโร และตัวแทนของบีเอในอียิปต์ และได้ส่งเที่ยวบินพิเศษของอียิปต์แอร์ไปยังกรุงลอนดอนทุกวันเพื่อรับผู้โดยสารที่ตกค้าง ขณะเดียวกัน กระทรวงการต่างประเทศของอังกฤษมีคำแนะนำถึงชาวอังกฤษที่กำลังจะเดินทางไปอียิปต์ โดยเตือนว่ามีความเสี่ยงสูงของการก่อการร้ายโจมตีภาคการบิน และได้มีการวางมาตรการรักษาความปลอดภัยเพิ่มเติมสำหรับเที่ยวบินจากอังกฤษไปยังอียิปต์แล้ว ขอให้พลเมืองอังกฤษให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัยของสนามบินต่างๆ อย่างเต็มที่ รัฐบาลอังกฤษแนะนำพลเมืองอังกฤษให้หลีกเลี่ยงการเดินทางทางอากาศทั้งขาเข้าและขาออกจากเมืองชาร์มเอลเชค เมืองพักตากอากาศของอียิปต์บนคาบสมุทรไซนาย หากไม่มีกิจธุระจำเป็น คำเตือนอ้างถึงความเป็นไปได้สูงที่ผู้ก่อการร้ายจะพยายามก่อเหตุในอียิปต์ แม้การโจมตีส่วนใหญ่จะเกิดในเขตไซนายเหนือ แต่ยังคงมีความเสี่ยงก่อการร้ายทั่วประเทศอียิปต์ รวมถึงในกรุงไคโร. —————————————————————– ที่มา : ไทยโพสต์ / 21 กรกฎาคม 2562 Link : https://www.thaipost.net/main/detail/41555

ทำไมประชาคมข่าวกรองสหรัฐฯจึงคัดค้าน ‘จีน’ และ ‘หัวเว่ย’ ถึงขนาดนี้

Loading

By Spengler  การที่ประชาคมข่าวกรองของสหรัฐฯ มีความระวังตื่นภัยจากเรื่องที่บริษัทหัวเว่ยของจีนก้าวขึ้นเป็นผู้นำด้านระบบสื่อสารไร้สาย 5 จี เบื้องลึกลงไปก็เพราะมันหมายถึงการแอบดักจับสัญญาณการสื่อสารเพื่อสอดแนมสืบความลับของอเมริกา จะทำไม่ได้อีกต่อไป และพวกสปายสายลับมีหวังจะต้องตกงาน  การที่ประชาคมข่าวครองสหรัฐฯเกิดความระวังตื่นภัยจากเรื่องที่จีนก้าวขึ้นเป็นผู้นำในด้านบรอดแบนด์เคลื่อนที่ 5 จี (5G mobile broadband) นั้น มีสาเหตุมาจากภัยคุกคามที่จีนอาจแอบดักจับสัญญาณการสื่อสารเพื่อสอดแนมสืบความลับ น้อยเสียยิ่งกว่าความเป็นไปได้ที่การแอบดักจับสัญญาณการสื่อสารเพื่อสอดแนมสืบความลับกำลังจะกลายเป็นสิ่งที่แทบเป็นไม่ได้อีกต่อไปแล้ว ทั้งนี้ต้องขอบคุณวิทยาการเข้ารหัสลับด้วยเทคโนโลยีควอนคัม (quantum cryptography) ผมได้สนทนาว่าด้วยหัวข้อนี้อยู่หลายครั้งหลายครากับบรรดาแหล่งข่าวทั้งของสหรัฐฯและของจีน แต่อันที่จริงข้อสรุปเช่นนี้มีปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนในพวกแหล่งข้อมูลข่าวสารสาธารณะอยู่แล้ว ประชาคมข่าวกรองของอเมริกา ใช้จ่ายงบประมาณปีละเกือบๆ 80,000 ล้านดอลลาร์ [1] โดยยอดนี้ครอบคลุมทั้งจำนวนราว 57,000 ล้านดอลลาร์สำหรับโครงการข่าวกรองแห่งชาติ (National Intelligence Program) และ 20,000 ล้านดอลลาร์สำหรับโครงการข่าวกรองทหาร (Military Intelligence Program) ทั้งนี้การข่าวกรองด้านสัญญาณการสื่อสาร (Signals intelligence ใช้อักษรย่อว่า SIGINT) ซึ่งงานหลักคือการสืบความลับด้วยการแอบดักจับสัญญาณการสื่อสารนั้น เป็นด้านซึ่งได้รับงบประมาณส่วนใหญ่ไป โดยที่สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Agency) [2] นอกเหนือจากปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ แล้ว งานสำคัญคือการบันทึกรายการพูดคุยโทรศัพท์และการรับส่งข้อความเป็นตัวอักษรของคนอเมริกัน…