อินเทอร์เน็ตไวไฟ (Wi-Fi) ในที่ทำงานสะดวก… แต่มาพร้อมความเสี่ยง!! จริงหรือ?

Loading

วันนี้โลกของการทำงานที่ต้องการความสะดวกรวดเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต จากทุกที่ ทำให้มีความนิยมใช้ Wi-Fi มากขึ้น แต่ในความสะดวกนั้นกับมาพร้อมเสี่ยงด้วยเช่นกัน… highlight เหล่าแฮกเกอร์จะสามารถใช้ช่องทางการเชื่อมต่อแบบไร้สายที่ขาดการป้องกันที่ดีมากเพียงพอทำอะไรได้บ้าง? คงต้องบอกว่าทำได้หลายรูปแบบ จนนับแทบไม่ไหว แต่พฤติกรรมที่เห็นบ่อย ๆ ที่ได้มีการเปิดเผยจาก จากผู้ให้บริการทางด้านโซลูชั่นปกป้องคุ้มครองโครงข่าย ระบุ ได้ 3 แบบด้วยกัน ได้แก่ ใช้ขุดรหัสผ่าน, ใช้ช่องโหว่ของเฟิร์มแวร์ และช่องทางแฝงจากเครือข่ายของบุคคลทั่วไป Wi-Fi ในที่ทำงาน สะดวกแต่มีความเสี่ยง ทุกวันนี้ที่ทำงานแทบจะทุกที่มีการบริการอินเตอร์เน็ตไร้สาย หรือ ไว-ไฟ ทั่วทั้งออฟฟิศ และในบางออฟฟิศก็มากกว่า 1 จุด ซึ่งการเติบโตขึ้นของความนิยมใช้งานระบบอินเทอร์เน็ตแบบไร้สายนี้เกิดขึ้นจากความต้องการความสะดวกสบาย ไม่ต่อสายสายแลน (Local Area Network หรือ LAN) เข้าโน้ตบุ้ค หรือคอมพิวเตอร์พีซี ให้น่ารำคาญ อีกทั้งจากการเติบโตของการใช้อุปกรณ์อื่น ๆ อาทิ สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต ในการทำงานก็เพิ่มขึ้นอย่างมาก ทำให้แนวโน้มในการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านสายลดน้อย ซึงแม้ว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านสายจะสามารถความเสถียรของสัญญาณได้มากกว่าก็ตาม แต่หลายองค์กรก็เลือกที่จะใช้งานแบบไร้สายมากกว่า และแม้ว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย จะสะดวกสบายแค่ไหน แต่ก็มาพร้อมด้วยความเสี่ยงด้วยเช่นกัน และสามารถสร้างความเสียหายได้อย่างมหาศาลเกินกว่าจะคาดคิด เพราะที่มีการปล่อยสัญญาณอยู่ตลอดเวลา จากจุดนี้เหล่าแฮกเกอร์สามารถใช้เป็นช่องทางในการโจมตีได้อย่างไม่อยากเย็น…

ชุมนุมยุค 2019 ชาวฮ่องกงป้องกันการสอดแนมออนไลน์ และไม่ทิ้งรอยเท้าดิจิทัลอย่างไร

Loading

แม้จะใช้เครื่องมือดิจิทัลต่างๆ มากมายในการชุมนุมเพื่อต่อต้านร่างกฎหมายส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนไปยังจีนแผ่นดินใหญ่ของชาวฮ่องกงครั้งนี้ แต่ประสบการณ์จาก Occupy Central เมื่อปี 2014 ก็ทำให้ผู้ชุมนุมปรับเปลี่ยนกลวิธีเพื่อปกป้องตัวเองเพิ่มขึ้น ให้ความสำคัญกับการรักษาข้อมูลส่วนตัวในการใช้เครื่องมือดิจิทัลมากขึ้น เพราะเกรงว่าอาจถูกนำมาใช้ดำเนินคดีทางกฎหมายได้ในภายหลัง เมื่อปี 2014 แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียกำลังได้รับความนิยม มีการใช้เฟซบุ๊กและทวิตเตอร์อย่างกว้างขวาง ครั้งนั้นตำรวจจับกุมชายคนหนึ่ง โดยอ้างว่าเขาโพสต์ข้อความชวนคนมาชุมนุมผ่านเว็บบอร์ด  และมีการส่งข้อความที่เป็นมัลแวร์แพร่กระจายไปทั่ววอทซแอป (WhatsApp) ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นการติดตั้งซอฟต์แวร์แอบดักฟังโดยเจ้าของเครื่องไม่รู้ตัว นักวิจัยกล่าวว่าส่วนใหญ่มาจากรัฐบาลจีน ผู้ชุมนุมส่วนใหญ่เติบโตมาในโลกดิจิทัล และตระหนักดีถึงอันตรายจากการสอดแนมและการทิ้งรอยเท้าดิจิทัล ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีจดจำใบหน้าจากจีนแผ่นดินใหญ่และการเก็บข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ทำให้ผู้ชุมนุมเตรียมหาทางหลบหลีกเทคโนโลยีการสอดส่องประชาชนหลายรูปแบบ ครั้งนี้ ในวันแรกๆ ของการชุมนุมมีการเผยแพร่คู่มือ คีย์บอร์ด ฟรอนท์ไลน์ องค์กรรณรงค์เสรีภาพเน็ต เผยแพร่แผ่นพับว่าด้วยการปกป้องตัวตนสำหรับผู้ชุมนุม ตั้งแต่แนะนำไม่ให้ใช้ไวไฟสาธารณะ ทิ้งโทรศัพท์ไว้ที่บ้าน หรือแม้แต่ห่อบัตรประชาชน หนังสือเดินทาง บัตรของธนาคารด้วยแผ่นอะลูมิเนียม เพื่อไม่ให้ข้อมูลส่วนตัวรั่วไหลได้ จากการใช้สแกนเนอร์จากคลื่นความถี่ RFID ปกติแล้ว คนฮ่องกงใช้วอทซแอปเป็นช่องทางในการสื่อสารหลัก แต่สำหรับการชุมนุม พวกเขาเปลี่ยนมาใช้แอปที่เข้ารหัสอย่าง เทเลแกรม (Telegram) แทน เพราะเชื่อว่าคุ้มครองความเป็นส่วนตัวและปลอดภัยกว่า และเพราะว่าสามารถสร้างกลุ่มสนทนาได้ใหญ่กว่าด้วย เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน เทเลแกรมประกาศว่า แอปเทเลแกรมเป็นเป้าหมายของการจู่โจมทางไซเบอร์ด้วยวิธี DDoS ต้นทางมาจากจีนแผ่นดินใหญ่…

เกาหลีใต้เตรียมติดตั้งสถานี 5G ในหมู่บ้านแดซัง พื้นที่ติดชายแดน ที่ขึ้นชื่อว่าอันตรายที่สุดในโลก

Loading

สมกับเป็นประเทศที่ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือได้เร็วที่สุดในโลก หลังจากที่เกาหลีใต้เพิ่งเปิดใช้เครือข่าย 5G เป็นประเทศแรกในโลกเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ล่าสุดนี้ ทาง KT Corp ค่ายยักษ์ใหญ่ที่กินส่วนแบ่งในตลาด 5G อยู่ 30% ก็กำลังจะขยายพื้นที่ให้บริการไปยังหมู่บ้านติดชายแดนเกาหลีเหนือ ที่ที่บิล คลินตัน อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เคยออกปากว่าเป็นพื้นที่ที่อันตรายที่สุดในโลก หมู่บ้านนี้มีชื่อว่าหมู่บ้านอิสระแดซัง (Daesung Freedom Village) อยู่ห่างจากพรมแดนเกาหลีเหนือเพียง 400 เมตร และเป็นพื้นที่ที่มีกองกำลังทหารติดอาวุธอย่างแน่นหนา ผู้คนไม่สามารถออกจากบ้านโดยปราศจากการคุ้มครองของทหารได้ อีกทั้งด้วยความห่างไกลจากตัวเมืองทำให้การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเป็นไปได้อย่างยากลำบาก KT ซึ่งเดิมเคยเป็นองค์กรโทรศัพท์แห่งประเทศเกาหลีใต้ จึงเข้าไปติดตั้งสถานีสัญญาณ 5G ในหมู่บ้านแดซัง เพื่อให้ชาวบ้านกว่า 200 คนที่นั่นใช้อินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว และสามารถใช้เทคโนโลยีในกิจกรรมต่างๆ เช่นสั่งการระบบรดน้ำต้นไม้ในไร่นา ไม่จำเป็นต้องออกไปรดเองพร้อมมีทหารคอยคุ้มครองอย่างที่เคยทำมาตลอด เพียงแต่จะมีบางพื้นที่ในหมู่บ้านที่อินเทอร์เน็ตอาจจะไม่เร็วเท่าข้างนอก อย่างเช่นในโรงเรียนที่ถูกสร้างขึ้นอย่างแน่นหนาเพื่อป้องกันกระสุนปืนลูกหลงที่อาจยิงเข้ามาถูกเด็กๆ “คราวนี้หมู่บ้านของเราที่เต็มไปด้วยกฎเข้มงวดและความตึงเครียดในความเป็นจริง ก็จะสามารถมีโลกเสมือนที่ดีงามกับเขาเสียที” คิม ดงกู หัวหน้าหมู่บ้านกล่าวกับนักข่าวรอยเตอร์ ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ติดตั้งต้องลงพื้นที่อย่างระมัดระวังไม่ให้สัญญาณเครือข่ายข้ามเขตแดนไปยังเกาหลีเหนือได้อย่างเด็ดขาด ข้อมูล ณ ปี 2018 อัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประชากรเกาหลีใต้อยู่ที่ 92.6% ปัจจุบันที่เกาหลีใต้มีสถานีสัญญาณ 5G อยู่กว่า…