บังกลาเทศสั่งให้หยุดขาย “ซิมการ์ด” ในค่ายผู้ลี้ภัยโรฮิงญา อ้างความปลอดภัย

Loading

เอเอฟพี – บริษัทค่ายมือถือบังกลาเทศได้รับคำสั่งจากธากาให้หยุดจำหน่ายซิมการ์ดโทรศัพท์มือถือให้กับผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญา เจ้าหน้าที่กล่าวในวันจันทร์ (9 ก.ย) อีกหนึ่งสัญญาณแสดงให้เห็นถึงธากาเริ่มไม่มีความอดทนหลังล้มเหลวส่งชาวโรฮิงญาเหล่านี้กลับพม่า เอเอฟพีรายงานวันนี้ (9 ก.ย) ว่า บังกลาเทศต้องแบกรับผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาร่วม 1 ล้านคนนับตั้งแต่รัฐบาลทหารพม่าได้เข้าปราบปรามอย่างหนักในรัฐยะไข่เมื่อสิงหาคม ปี 2017 จนทำให้ชาวมุสลิมโรฮิงญาจำนวนมากหนีออกนอกประเทศและเข้าสู่บังกลาเทศที่มีพรมแดนติดกัน ในความพยายามการส่งตัวมุสลิมโรฮิงญากลับประเทศเมื่อปลายเดือนสิงหาคมล่าสุดล้มเหลวไม่เป็นท่า จากการที่ผู้ลี้ภัยเหล่านี้ปฎิเสธที่จะเดินทางกลับเข้าพม่าหากไม่ได้รับหลักประกันความปลอดภัยและความเป็นพลเมืองอย่างถูกต้องในพม่า และยิ่งเพิ่มความปวดหัวให้กับธากามากขึ้นเมื่อมีการประท้วงโดยชาวโรฮิงญาจำนวนราว 200,000 คนแสดงถึงการครบรอบ 2 ปี ตั้งแต่ที่พวกเขาเดินทางมาถึง ผู้กำกับด้านการสื่อสารบังกลาเทศออกคำสั่งในวันที่ 3 ก.ย ให้บรรดาบริษัทผู้ให้บริการมือถือตัดสัญญาณโทรศัพท์บริเวณค่ายผู้ลี้ภัยโรฮิงญาที่มีหลายสิบแห่ง โดยอ้างเหตุผลด้านความปลอดภัยเป็นหลัก และบริษัทผู้ให้บริการทั้ง 4 บริษัทได้รับคำสั่งว่าภายใน 7 วันให้ส่งรายงานการปฎิบัติที่ทางบริษัทเหล่านี้ได้ตัดสัญญาการเชื่อมต่อข้อมูล และได้รับคำสั่งจากทางการธากาให้หยุดจำหน่ายซิมการ์ดสำหรับโทรศัพท์มือถือภายในพื้นที่ค่ายผู้ลี้ภัย ด้านเอส.เอ็ม. ฟาร์ฮัด (S.M. Farhad) เลขาธิการใหญ่ของสมาพันธ์ผู้ประกอบการให้บริการโทรศัพท์มือถือบังกลาเทศ AMTOB (Association of Mobile Telecom Operators of Bangladesh) ซึ่งเป็นตัวแทนผู้ให้บริการทุกค่ายให้สัมภาษณ์กับเอเอฟพีวันจันทร์ (9) ฟาร์ฮัดกล่าวต่อว่า นอกจากนี้อินเตอร์เนตความเร็วสูงระบบ 3G และ…

“สุพิศาล” ยกกรณีสื่อออสซี่แฉ “ธรรมนัส” ใช้ Data Government เป็นประโยชน์ ลั่นไทยต้องไปให้ถึง

Loading

เมื่อวานนี้ (10 กันยายน 2562) ที่พรรคอนาคตใหม่ พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อพรรคอนาคคตใหม่ กล่าวถึง กรณีที่หนังสือพิมพ์ซิดนีย์ มอร์นิง เฮอรัลด์ ของออสเตรเลีย นำเสนอข่าวการถูกดำเนินคดียาเสพติดของ ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า ตอนที่ตนเองอภิปรายรายงาน สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด หรือ ป.ป.ส. นั้น ก็มีประเด็นในเรื่องนี้ที่เตรียมไว้ แต่เนื่องจากเวลาจำกัดจึงอภิปรายไปไม่ถึง นั่นคือเรื่องความร่วมมือกันปราบปรามยาเสพติด ของ ป.ป.ส.กับต่างประเทศ โดยประเด็นสำคัญคือหน่วยงาน ป.ป.ส. ต้องเก็บข้อมูลผู้ค้ายาเสพติดในรายงานให้มากสุด จากนั้นก็ต้องมีการรายงานให้นายกรัฐมนตรีทราบ จะได้รู้ข้อมูล รวมถึงศึกษาในรายละเอียด โดยเฉพาะช่วงนั้นที่มีการพูดถึงเรื่งคุณสมบัติของรัฐมนตรี ที่จะมาร่วมรัฐบาลกับท่าน เกี่ยวข้องกับยาเสพติดจริงหรือไม่ “ในกรณีของหนังสือพิมพ์ต่างประเทศที่เปิดเผยข่าวนี้ในลักษณะข่าวการสืบสวน ก็มาจากการที่มีข้อเท็จจริงปรากฏอยู่ในชั้นศาล ของต่างประเทศ ข้อมูลเหล่านี้สำหรับต่างประเทศแล้ว เขาเรียก ดาต้า กอฟเวอร์เม้น (Data Government ) ที่สามารถนำมาเปิดเผยได้ ซึ่งประเทศไทยเรายังไปไม่ถึงขนาดนั้น โดยเฉพาะการเปิดเผยข้อมูลของรัฐบาล นี่แสดงให้เห็นว่าสื่อ ออสเตรเลียมีรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องในชั้นศาลอย่างชัดเจน ซึ่งข้อมูลอ้างอิงจากในชั้นศาล นั้นน่าเชื่อถือ…