‘แบงก์-ตำรวจ-ธปท.’ ประเดิมเทรนด์เอไอตรวจจับใบหน้า

Loading

เนคเทคเปิดเวทีวิชาการตั้งโจทย์สงสัยหัวข้อ “เทคโนโลยีรู้จำใบหน้า ประเทศไทยพร้อมใช้แล้วจริงหรือ” ดึงนักการธนาคาร ธปท. นักกฎหมายและนักเทคโนโลยี ขึ้นเวทีแชร์ประสบการณ์ที่ได้ใช้เทคโนโลยีนี้ในการทำงาน เนคเทคเปิดเวทีวิชาการขับเคลื่อนเทคโนโลยีเอไอ “ระบบรับรู้จำใบหน้า” มุ่งเพิ่มประสิทธิภาพการยืนยันตัวตน เพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจและสร้างมาตรฐานในการรักษาความปลอดภัย ธปท.เปิดแซนด์บอกซ์การใช้ไบโอเมตทริกซ์ตรวจสิทธิหรือแสดงตน ด้านนักกฎหมายแนะเพิ่มความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล สร้างการยอมรับจากผู้ใช้งาน ระบบรับรู้จำใบหน้า (Face Recognition) เป็นเทคโนโลยีไบโอเมตริกซ์สำหรับตรวจสอบและระบุตัวตนของบุคคล โดยเปรียบเทียบลักษณะใบหน้าจากฐานข้อมูลภาพใบหน้า ผ่านการวิเคราะห์และประมวลผลด้วยปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) ที่ประยุกต์ใช้งานกันอย่างแพร่หลายในทุกแวดวง เนื่องจากช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการยืนยันตัวตน ทำให้ผู้ใช้งานได้รับความสะดวกมากขึ้น สายการเงินใช้ยืนยันตัวตน การใช้งานของ “ระบบรับรู้จำใบหน้า” ในมุมมองของภาคธนาคารอย่าง ทัดพงศ์ พงศ์ถาวรกมล Principal Visionary Architech บริษัท กสิกร แล็บส์ จำกัด ในเครือของธนาคารกสิกรไทย ที่ถูกสะท้อนออกมาในการสัมมนาภายใต้หัวข้อ “เทคโนโลยีรู้จำใบหน้า ประเทศไทยพร้อมใช้แล้วจริงหรือ” ในงานประชุมวิชาการประจำปี 2562 เนคเทค กล่าวว่า เป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญต่อการให้บริการลูกค้าในวงการธนาคาร ซึ่งก่อนหน้านี้ได้เริ่มวิจัยนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับเดโม่ในบริษัทผ่าน Face Pay ในการจ่ายเงินโดยใช้ใบหน้าของผู้มาใช้บริการแทนกระเป๋าสตางค์ ระบบจะรู้ได้ทันทีว่าบุคคลนั้นมีชื่อว่าอะไร และลิงค์กับบัญชีโดยอัตโนมัติ ถือเป็นกระบวนการที่ง่ายต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่โดยใช้เทคนิค ‘ดีพ เลินนิ่ง’ (Deep Learning)…

แฉ แฮกเกอร์จีนเจาะโครงข่ายโทรคมนาคมตามรอย “อุยกูร์” ในเอเชีย รวมทั้ง “ไทย”

Loading

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า แฮกเกอร์ซึ่งทำงานให้กับรัฐบาลจีน ได้เจาะเข้าไปในโครงข่ายโทรคมนาคมในหลายประเทศในเอเชียกลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อติดตามชาวอุยกูร์ โดยเป็นการอ้างการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่ข่าวกรอง 2 คน และที่ปรึกษาด้านความมั่นคงอีก 2 คน ซึ่งทำหน้าที่ในการสอบสวนเกี่ยวกับการโจมตีดังกล่าว แหล่งข่าวเปิดเผยว่า การแฮก หรือการเจาะระบบที่เกิดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของโครงการจารกรรมบนโลกไซเบอร์ ที่มีเป้าหมายเป็นบุคคลระดับสูง เช่น เจ้าหน้าที่ทูตและเจ้าหน้าที่ทหารต่างประเทศ แต่จีนจะพุ่งเป้าลำดับต้นๆไปกับการตามรอยการเคลื่อนไหวของชาวอุยกูร์ ซึ่งเป็นชาวมุสลิมชนกลุ่มน้อยในจีน ที่รัฐบาลปักกิ่งเชื่อว่าเป็นภัยคุกคามต่อจีน ทั้งนี้ จีนถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากนานาชาติเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อชาวอุยกูร์ ในเขตปกครองตนเองซินเจียง และมีชาวอุยกูร์จำนวนมากที่สุดคุมขังอยู่ในสถานที่ที่จีนเรียกว่าเป็นศูนย์ฝึกวิชาชีพ รอยเตอร์ระบุว่า ปฏิบัติการเจาะข้อมูลดังกล่าว เกิดขึ้นโดยแฮกเกอร์ชาวจีนหลายกลุ่ม ที่เจาะเข้าไปในระบบเครือข่ายของผู้ให้บริการโทรคมนาคมในหลายประเทศ ซึ่งรวมทั้งตุรกี คาซักสถาน อินเดีย มาเลเซีย และไทย โดยประเทศเหล่านี้มักจะถูกใช้เป็นจุดแวะของชาวอุยกูร์ในการเดินทางระหว่างซินเจียงกับตุรกี ซึ่งนักเคลื่อนไหวระบุว่า เป็นความพยายามที่จะหลบหนีการถูกดำเนินคดี ขณะที่รัฐบาลปักกิ่งระบุว่า กลุ่มชาวอุยกูร์ที่เดินทางพวกนี้ เป็นพวกที่จะเดินทางไปร่วมต่อสู้กับกลุ่มติดอาวุธในอิรักและซีเรีย อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจีนเองยืนยันมาตลอดว่าไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการโจมตีบนโลกไซเบอร์หรือการกระทำทารุณต่อชาวอุยกูร์ ขณะที่รอยเตอร์เองไม่สามารถระบุได้ว่า ผู้ให้บริการโทรคมนาคมที่ถูกโจมตีคือใคร ขณะที่ทางการในอินเดียและไทยต่างปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นเรื่องดังกล่าว ——————————————————- ที่มา : มติชน / 17 กันยายน 2562 Link : https://www.matichon.co.th/foreign/news_1674331

เร็วหรือช้าไป…เมื่อไทยมี พ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคลฯ

Loading

โดย… ชวน หวังสุนทรชัย ความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับผู้อ่านสำคัญมากน้อยแค่ไหน? สารคดีเรื่อง The Great Hack ที่ตีแผ่กรณี Facebook ทำข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหลให้บริษัท Cambridge Analytica น่าจะทำให้เราต้องหันมาสนใจประเด็นนี้กันอย่างจริงจัง กรณี Facebook ปล่อยข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล ส่งผลให้ Facebook ถูกคณะกรรมาธิการการค้าสหรัฐ (Federal Trade Commission) สั่งปรับเป็นจำนวนเงินกว่า 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 155,000 ล้านบาท รวมถึงหน่วยงานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศอิตาลี ก็ได้ออกคำสั่งปรับ Facebook เป็นจำนวนเงิน 1 ล้านยูโร หรือ 34 ล้านบาท เห็นได้ว่าประเทศตะวันตก ให้ความสำคัญกับข้อมูลส่วนบุคคลและบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มข้น สำหรับประเทศไทย ในแง่ของกฎหมายเราอาจช้าและก้าวไม่ทันสากลเพราะที่ผ่านมาใช้เวลารวมกว่า 20 ปี เพื่อร่างกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จนสุดท้ายได้กฎหมายออกมาในปีนี้ และจะมีผลบังคับใช้ในปีหน้า (พ.ศ.2563) แต่ในรายละเอียดพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ก็ยังไม่มีความชัดเจนมากนักสำหรับผู้ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ภายใต้การคุ้มครองของกฎหมายนี้ ทุกคนมีสิทธิในการบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลของตัวเอง…