สมเด็จพระราชินีแห่งมาเลเซีย ประณามการจับกุมผู้วิจารณ์พระองค์บนโลกออนไลน์

Loading

สมเด็จพระราชินีแห่งมาเลเซีย ทรงกลับมาใช้งานทวิตเตอร์อีกครั้งวานนี้ เพื่อแสดงความผิดหวังต่อการจับกุมผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์พระองค์บนโซเชียลมีเดีย สืบเนื่องจากการทรงฉายพระรูปพิธีฉลองวันชาติมาเลเซีย เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (13 ก.ย.) ตำรวจมาเลเซีย จับกุมนักกิจกรรมในเมืองกลัง (Klang) รัฐสลังงอร์ ซึ่งถูกกล่าวหาว่าโพสต์ข้อความหมิ่นประมาทสมเด็จพระราชินี สมเด็จพระราชินีตุนกู ฮายาห์ อซิซาห์ อมีนาห์ ไมมูนาห์ อิสกันดาริยาห์ รายา ประไหมสุหรี อากงแห่งมาเลเซีย ทรงตรัสว่าพระองค์และสมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่าน อับดุลละฮ์ เรียยาตุดดิน อัล-มุซตาฟา บิลละฮ์ ซะฮ์ อิบนี อัล-มาร์ฮุม สุลต่าน ฮาจี อะฮ์มัด ซะฮ์ อัล-มุซตาอิน บิลละฮ์ (สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซียพระองค์ที่ 16) ไม่ได้ทรงร้องขอให้ตำรวจดำเนินการจับกุม และพระองค์ทรงเสียพระราชหฤทัยต่อเหตุการณ์นี้ ก่อนหน้านี้ ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ในมาเลเซียส่วนหนึ่งโพสต์วิจารณ์ สมเด็จพระราชินีตุนกู ฮายาห์ อซิซาห์ ว่าทรงวางตัวไม่เหมาะสม ในงานฉลองวันชาติมาเลเซียเมื่อวันที่ 31 ส.ค. จากการที่พระองค์ทรงฉายพระรูปพิธีเดินขบวนเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม สมเด็จพระราชินีทรงตรัสชี้แจงในเวลาต่อมาว่า สมเด็จพระราชาธิบดีทรงแนะให้พระองค์ฉายรูป สมเด็จพระราชินีทรงปิดการใช้งานบัญชีทวิตเตอร์เมื่อวันพุธที่ผ่านมา และทรงโพสต์ข้อความบนอินสตาแกรมว่า ทรงปิดทวิตเตอร์ด้วยเหตุผลส่วนพระองค์…

มิติใหม่ใช้โดรนถล่มเป้าหมายระดับโลก ราคาถูกลงแต่ได้ผลเกินคาด

Loading

การเป็นพันธมิตรระหว่างฮูษีกับอิหร่าน ยังเพิ่มความเป็นไปได้ที่จะมีการใช้แบ่งปันวิธีโจมตีด้วยโดรนไปให้แนวร่วมในอิหร่าน อิรัก ซีเรีย และเลบานอน วิม ซไวเนนบวร์ก นักวิจัยอาวุโสเกี่ยวกับโดรนที่ PAX องค์กรสันติภาพเนเธอร์แลนด์ กล่าวกับ NYT ว่า การโจมตีโรงกลั่นน้ำมันของซาอุดีอาระเบียไม่เพียงแต่เปิดเผยถึงช่องโหว่ของซาอุดิอาระเบียในการทำสงครามกับกบฎฮูษีเท่านั้น แต่ยังแสดงให้เห็นว่าการโจมตีเป้าหมายระดับสูงเริ่มที่จะมีต้นทุนที่ต่ำลงมาก โดยอาจมีค่าใช้จ่าย 15,000 เหรียญสหรัฐหรือน้อยกว่าในการสร้างโดรน การโจมตีครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงการใช้กลยุทธ์แบบ “เดวิดและโกลิอัท” (หรือตัวเล็กล้มยักษ์) และใช้โดรนโดรนราคาถูก เพื่อทำให้สถานการณ์ในตะวันออกกลางยิ่งคาดเดาได้ยากขึ้น เพราะการโจมตีดังกล่าวไม่เพียงแต่จะสร้างความเสียหายต่อโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่สำคัญเท่านั้น แต่ยังสามารถเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านความปลอดภัย ทำให้ตลาดปั่นป่วน และทำให้ความหวาดกลัวขยายวงกว้าง แม้ว่า กบฎฮูษีจะไม่มีทุนทรัพย์ทางการเงินที่สำคัญ แต่โดรนกลับกลายเป็นทางออกต้นทุนต่ำให้เขาเพื่อใช้โจมตีศัตรูตัวฉกาจคือ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ซึ่งเป็นประเทศที่ใช้งบประมาณทางทหารที่สูงเป็นอันดับ 3 ของโลกในปี 2561 โดยมีงบประมาณถึ 67,600 ล้านเหรียญสหรัฐ ตอกย้ำว่า ประเทศที่มีงบประมาณทางทหารที่สูงมาก ก็อาจเพลี่ยงพล้ำต่อฝ่ายที่ไม่มียุทโธปกรณ์ชั้นเลิศเลย นอกจากนี้ การโจมตีล่าสุด ยังทะลวงลึกเข้าไปในดินแดนของซาอุดิอาระเบียมากกว่าการโจมตีครั้งก่อน ฟาเรีย อัลมุสลิมี ผู้ร่วมก่อตั้งของ Sanaa Center for Strategic Studies ซึ่งเน้นประเด็นเกี่ยวกับเยเมน กล่าวว่า สิ่งทีเกิดขึ้นเป็นความท้าทายต่อซาอุดีอาระเบีย…

อังกฤษห้ามผู้เข้าสอบใส่นาฬิกาทุกชนิดเพื่อป้องกันการทุจริต

Loading

เป็นเรื่องยากสำหรับผู้คุมสอบที่จะแยกระหว่างนาฬิกาธรรมดาทั่วไปกับนาฬิกาอัจฉริยะหรือสมาร์ทวอทช์ (Smart Watch) หรือแม้แต่ให้ผู้คุมสอบตรวจนาฬิกาผู้เข้าสอบทุกคน สหราชอาณาจักรจึงพิจารณาห้ามใส่นาฬิกาทุกชนิดเข้าห้องสอบเพื่อป้องกันการทุจริต คณะกรรมการอิสระด้านการทุจริตการสอบ (The Independent Commission on Examination Malpractice) รายงานว่า มีการทุจริตการสอบอยู่ในระดับต่ำมาก แต่ถึงกระนั้นการห้ามใส่นาฬิกาทุกประเภท รวมถึงอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้นั้น จะช่วยลดความเป็นไปได้ที่ผู้สอบจะเข้าถึงการใช้งานอินเทอร์เน็ตในช่วงสอบได้ แนวคิดนี้ไม่ใช่แนวคิดใหม่แต่อย่างใด โรงเรียนบางแห่งในสหรัฐอเมริกาก็ได้สั่งห้ามนำนาฬิกาข้อมือเข้าห้องสอบมาแล้ว แต่นี่เป็นคำแนะนำจากหน่วยงานควบคุมการวัดคุณสมบัติและการสอบ (The Office of Qualifications and Examinations Regulation หรือ Ofqual) ที่กำกับดูแลทุกโรงเรียนในสหราชอาณาจักร ซึ่งคาดว่าจะบังคับใช้กฎเรื่องการห้ามใส่นาฬิกาเข้าสอบในทุกการจัดสอบภายในฤดูร้อนปีหน้า ปัญหาส่วนหนึ่งก็เนื่องมาจากความสามารถในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของอุปกรณ์ หลายปีก่อนเคยมีนักเรียนแอบใส่นาฬิกาที่เป็นเครื่องคิดเลขเข้าสอบ แต่หน้าตาอุปกรณ์นั้นดูแยกแยะได้ชัดเจนจากนาฬิกาทั่วไป ซึ่งต่างจากสมาร์ทวอทช์ในปัจจุบันนี้ แน่นอนว่านาฬิกาไม่ใช่วิธีเดียวที่ใช้ในการทุจริต ทางคณะกรรมาธิการยังเสนอให้คอยตรวจสอบเว็บเถื่อนที่อาจจำหน่ายข้อสอบและคอยตรวจตราห้องน้ำในช่วงสอบเพื่อให้แน่ใจว่านักเรียนไม่ได้ซ่อนโน้ตหรือโทรศัพท์ไว้ ——————————————– ที่มา : ADPT News / 13 กันยายน 2562 Link : https://www.adpt.news/2019/09/13/uk-may-ban-all-watches-during-exams-to-prevent-cheating/

เตือนสาวผู้ใช้แอปติดตามรอบเดือน เสี่ยงข้อมูลถูกแชร์ให้ Facebook

Loading

Privacy International กลุ่มผู้สนับสนุนการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจากสหราชอาณาจักร ออกมาแจ้งเตือนหญิงสาวผู้ใช้แอปพลิเคชันสำหรับติดตามรอบเดือนหลายล้านราย เสี่ยงข้อมูลสุขภาพไม่ว่าจะเป็น รอบเดือน ชีวิตบนเตียง การใช้ยาคุม อาการป่วย และอื่นๆ ถูกเปิดเผยให้ Facebook โดยไม่รู้ตัว แม้ว่าคุณจะไม่ได้เล่น Facebook ก็ตาม แอปพลิเคชันติดตามรอบเดือน เป็นหนึ่งในแอปพลิเคชันยอดนิยมที่เหล่าหญิงสาวดาวน์โหลดมาใช้งานเพื่อติดตามรอบเดือนของตนเอง รวมไปถึงผู้ที่ต้องการมีบุตร เนื่องจากแอปพลิเคชันดังกล่าวสามารถติดตามช่วงที่ไข่ตกเพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้ และเพื่อให้การคำนวณมีความแม่นยำ ผู้ใช้จำเป็นต้องบันทึกข้อมูลสุขภาพและข้อมูลส่วนบุคคลเชิงลึก เช่น วันที่มีเพศสัมพันธ์ วันที่มีประจำเดือน อาการป่วย สุขภาพจิต และอื่นๆ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ถือเป็นข้อมูลลับที่ส่วนใหญ่ไม่ต้องการเปิดเผยให้ผู้อื่นทราบ อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบของ Privacy International พบว่า แอปพลิเคชันติดตามรอบเดือนหลายรายที่มียอดดาวน์โหลดนับล้าน ได้แชร์ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้ไปยัง Facebook และบริการภายนอกอื่นๆ แม้ว่าคุณจะไม่ได้ล็อกอินผ่านทางบัญชี Facebook หรือมีบัญชี Facebook ก็ตาม โดยข้อมูลเหล่านี้จะถูกแชร์ผ่านทาง SDK ของ Facebook ที่ติดมากับแอป เพื่อให้ Facebook นำข้อมูลไปใช้ทำแคมเปญโฆษณาต่อ ในขณะที่เจ้าของแอปก็จะได้ค่าตอบแทนกลับคืนมาเช่นกัน แอปพลิเคชันที่ส่งข้อมูลให้ Facebook ได้แก่…