ว่าด้วย Fake News

Loading

  Fake News เป็นศัพท์นิยมขณะนี้เกี่ยวกับพฤติกรรมใส่ร้ายหรือหลอกลวงด้วยข่าวสาร การรายงานหรือนำเสนอด้วยข้อมูลเท็จ หรือการบิดเบือนข้อมูลข่าวสารสำหรับใช้โจมตีหรือทำลายฝ่ายตรงข้าม ไม่ว่าจะกระทำเป็นการเฉพาะเจาะจงที่ตัวบุคคล กลุ่มบุคคล หรือมุ่งให้เกิดความล่มสลายต่อเนื่องแบบโดมิโนในระบบการเมือง เศรษฐกิจ สังคม หรือการทหารก็ได้ ในอดีตการสร้างเรื่องราวใส่ร้ายหรือการหลอกลวงด้วยข้อมูลข่าวสารเสมือนจริงเช่นเดียวกับ Fake News คือ การบ่อนทำลาย ซึ่งนับเป็นวิธีที่ยากลำบากต่อการกำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยหรือคุ้มครองป้องกัน แต่มีจุดอ่อนที่ต้องดำเนินการด้วยระยะเวลายาวนาน ที่อาจเป็นเหตุให้บรรดาเป้าหมายตรวจสอบพบก่อนที่การบ่อนทำลายจะบรรลุผล     ปัจจุบันการคุ้มครอง ป้องกัน และเผชิญกับ Fake News นับเป็นความยากลำบากที่ยิ่งทวีมากขึ้น เนื่องมาจากการแพร่กระจายข้อมูลข่าวสารผ่านระบบเทคโนโลยีการสื่อสารในขณะนี้เป็นไปอย่างไร้ขอบเขตและรวดเร็ว ถึงแม้นานาประเทศพยายามที่จะให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน เพื่อให้แยกแยะและต่อต้าน Fake News ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเท็จ ข่าวสารลวง และข้อมูลข่าวสารที่ถูกบิดเบือนเหล่านั้น อย่างเช่น องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) จัดทำ “Journalism, ‘Fake News’ and Disinformation” และเผยแพร่รายละเอียดผ่านทาง https://en.unesco.org คู่มือของ UNESCO ดังกล่าวนำเสนอข้อมูลและแนวการอบรมสำหรับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับสื่อมวลชน ไม่ว่าจะเข้ามาศึกษา ฝึกอบรม ประกอบการเรียนการสอน…

Elizabeth Warren ซื้อโฆษณาแพร่ข้อมูลปลอมในเฟซบุ๊ก เพื่อทดสอบว่าเฟซบุ๊กจะลบมันออกไหม

Loading

Elizabeth Warren ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีจากพรรคเดโมแครต ผู้มีโยบายลดอิทธิพลบริษัทไอทีขนาดใหญ่ ทดสอบเฟซบุ๊กด้วยการซื้อโฆษณาที่มีเนื้อหาว่า เฟซบุ๊ก สนับสนุนการกลับมาลงเลือกตั้งอีกครั้งของโดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐในตอนนี้ และยังแนบภาพที่ทรัมป์ และ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก จับมือพบปะกันที่ทำเนียบขาวด้วย เนื้อหาดังกล่าวไม่เป็นความจริง ซึ่ง Warren ก็รู้ในจุดนี้ แต่เธอกำลังทดสอบว่า เฟซบุ๊กจะมีท่าทีอย่างไรกับโฆษณาการเมืองที่มีข้อมูลปลอม ผลปรากฏว่าตอนแรก เฟซบุ๊กก็ดึงโฆษณาออก แต่ก็ดึงกลับมาใหม่อีกครั้ง โดยเฟซบุ๊กให้เหตุผลว่า หน้าที่ของเฟซบุ๊กคือ พยายามป้องกันการแทรกแซงการเลือกตั้งจากภายนอก แต่ไม่มีสิทธิ์ไปแทรกแซงสิ่งที่นักการเมืองพูดหรือแถลงไว้ และคำพูดของนักการเมืองจะไม่ไปถึงมือผู้ตรวจสอบข้อมูลภายนอก แต่ถ้าคำพูดนั้นเป็นการทำอันตรายให้คนอื่นก็ยังคงถือว่าผิดกฎแพลตฟอร์ม แต่ก็ไม่มีสิทธิ์ไปเซนเซอร์คำพูดของนักการเมือง ผู้อ่านสามารถดูโฆษณาดังกล่าวได้ ที่นี่ ———————————————— ที่มา : Blognone / 15 ตุลาคม 2562 Link : https://www.blognone.com/node/112527

เผยผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตกว่า 40% ใน เอเชีย-แปซิฟิก มี Cyber risk สูง

Loading

ความจริงที่น่าตกตะลึง!! ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตใน เอเชีย-แปซิฟิก มีพฤติกรรมทางไซเบอร์เสี่ยงสูง (Cyber risk) ผลสำรวจพบว่า 40% เต็มใจเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว… ผลสำรวจชี้ชัด Cyber risk ใน APAC สูง  เมื่อไม่นานมานี้ได้มีเปิดเผยผลสำรวจ Global Privacy Report 2018 ที่ทาง แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) ได้สำรวจผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific หรือ APAC) พบว่า 39.2% เต็มใจที่จะเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวเพื่อให้ได้ความปลอดภัยเพิ่มเติม เช่น การตรวจสอบ หรือสอดส่องความปลอดภัยออนไลน์ แต่ยังมีกว่า 40% ที่ยอมเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว โดยกว่า 22% สารภาพว่าแชร์ข้อมูลโซเชียลมีเดียเพื่อเล่นควิซต่างๆ ขณะที่ 18.9% ยอมรับว่ายอมสละความเป็นส่วนตัวเพื่อรับสินค้า และบริการฟรี เช่น ซอฟต์แวร์หรือของขวัญอื่น ๆ นอกจากนี้ในรายงานฉบับดังกล่าวยังเปิดเผยอีกว่า 55.5% ของผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอยู่ในช่วงอายุ 16-24 ปี และ 25-34 ปี และมีความคิดว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะมีความเป็นส่วนตัวครบถ้วนสมบูรณ์ในโลกดิจิทัลสมัยใหม่ และเชื่อว่าข้อมูลส่วนตัว เช่น ที่อยู่ วันเกิด…

องค์การพัฒนาเอกชน APOPO ฝึกหนูยักษ์แอฟริกันดมหากับระเบิดทั่วโลก

Loading

Ellie Cutright รักหนูเป็นชีวิตจิตใจมาตั้งเเต่เด็ก และตอนนี้เธอทำงานในทีมนักวิจัยขององค์กรไม่หวังผลกำไรนานาชาติ APOPO ที่แทนซาเนีย เธอบอกว่าคนมองว่าหนูสกปรก แต่ตอนเป็นเด็ก เธอมีหนูหลายตัวเป็นสัตว์เลี้ยงจึงไม่รู้สึกรังเกียจหนู Cutright บอกว่าได้ติดตามข่าวสารขององค์กร APOPO ทาง Facebook มานานหลายปีในช่วงเรียนมหาวิทยาลัย จนกระทั่งวันหนึ่งเธอเห็นประกาศรับสมัครงานขององค์กรตอนที่เธอกำลังเรียนอยู่ปีสุดท้าย เเละเธอตัดสินใจสมัครงานเเม้ว่าจะไม่คิดว่าจะได้งานนี้ เเต่ความฝันก็เป็นจริง เธอบอกว่า หนูเป็นสัตว์ที่ฉลาดเเละน่าทึ่ง และหนูพันธุ์ที่ทีมวิจัยของเธอทำงานด้วยน่ารักมาก ชอบอยู่กับคน ชอบให้อุ้มเเละดูแล นอกจากนี้ยังขยันทำงานอีกด้วย หนูยักษ์แอฟริกันเมื่อโตเต็มที่อาจมีขนาดใหญ่เท่ากับเเมวเลี้ยงทีเดียว หนูพันธุ์นี้เกิดเเละเลี้ยงให้โตที่สำนักงานใหญ่ขององค์กร APOPO ในเมือง Morogoro ประเทศแทนซาเนีย การฝึกหนูเริ่มต้นขึ้นเมื่อหนูหย่านมเเม่ตอนราวอายุ 10 สัปดาห์ การฝึกฝนใช้การกดตัวคลิกเกอร์เเละให้รางวัลเป็นอาหาร ซึ่งได้ผลดีเพราะหนูชอบกิน หนูดมกลิ่นกับระเบิดจะเริ่มการฝึกบนโต๊ะที่คลุมด้วยดิน เเละถูกสอนให้ดมกลิ่นหาตลับใบชาทรงไข่ที่บรรจุดินระเบิดทีเอ็นที Cutright กล่าวว่า เมื่อหนูเข้าไปใกล้จุดที่ฝังตลับใบชาบรรจุดินระเบิดทดลอง ผู้ควบคุมจะกดปุ่มคลิกและหนูจะได้รับรางวัลเป็นอาหาร นี่ทำให้หนูเรียนรู้ว่ากลิ่นของดินระเบิดหมายถึงอาหาร หลังจากนั้น ทีมนักวิจัยจะค่อย ๆ ขยายบริเวณพื้นที่เสาะหากับระเบิดออกไป โดยใช้เชือกผูกที่คอหนูขณะวิ่งไปตามพื้นดินเพื่อดมหากับระเบิดทดลอง Cutright กล่าวว่าเมื่อหนูเริ่มเข้าไปดมกลิ่นหากับระเบิดสังหารบุคคลในพื้นทื่จริง ๆ หนูจะคุ้ยดินตรงจุดที่มีกับระเบิดอยู่ เป็นสัญญาณบอกให้คนดูเเลหนูว่าพบวัตถุสงสัย และจะทำการติดเครื่องหมายลงในจุดนั้นก่อนที่จะเริ่มขั้นตอนกอบกู้กับระเบิดอย่างปลอดภัย หนูดมกับระเบิดขององค์กรไม่หวังผลกำไรแห่งนี้ถูกส่งไปทำงานค้นหากับระเบิดในพื้นที่ที่เต็มไปด้วยกับระเบิดหลายเเห่งในเเทนซาเนีย เเละยังถูกส่งไปทำงานนี้ในประเทศอื่น…