เมื่อ Smart Phone คือ ปัญหาของสิทธิพลเมืองที่ต้องระวัง…

Loading

ในโลกที่ทุกสิ่งทันสมัยมากขึ้นด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล และอุปกรณ์ต่าง ๆ อาทิ Smart Phone กลายเป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวก แต่ในความสะดวกกับมาพร้อมกับปัญหาของล่วงล้ำสิทธิอย่างคาดไม่ถึง… เมื่อ Smart Phone ล่วงล้ำพื้นที่ส่วนตัว? นวัตกรรม และเทคโนโลยีอันทันสมัยได้สร้างความเปลี่ยนแปลงในชีวิตประจำวัน แต่ในทางกลับกัน เครื่องมือที่ทันสมัย และมอบความสะดวกสบาย กับช่องทางให้เกิดอาชญากรรมรูปแบบใหม่ และเกิดคำถามมากมายถึงความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่อาจเข้ามาละเมิดสิทธิพลเมือง เช่น สิทธิในความเป็นส่วนตัว ได้เช่นกัน เรื่องดังกล่าวไม่ใช่เรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นหลังจากที่โลกได้ก้าวไปสู่ยุคที่เราเรียกว่า “ยุคดิจิทัล” ที่แทบจะทุกคนใช้สมาร์ทโฟนเป็นเหมือนอวัยวะที่ 33 ของร่างกาย เพียงแต่หลายคนยังไม่ตระหนักถึงภัยคุกคามที่ตามมาเน่ืองจากไม่เชื่อว่าจะเป็นเช่นดังในหนัง “สายลับ” ได้จริง หากคุณนึกภาพไม่ออกผู้เขียนแนะนำให้ลองกลับไปหาหนังเรื่อง สโนว์เดน (Snowden) หรือ แฉกระฉ่อนโลก (CitizenFour) ดู เพราะมันคือหนังที่สร้างขึ้นจากกรณีของ เอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน (Edward Snowden) อดีตเจ้าหน้าที่ฝ่ายคอมพิวเตอร์ของ ซีไอเอ (CIA) ที่ออกมาเปิดเผยถึงโครงการลับสุดยอดที่ใช้ชื่อรหัสว่า “พริซึม” (prism) หรือการสอดแนมด้วยเทคโนโลยีที่ให้สภาความมั่นคงแห่งชาติ (NSA) สำนักงานข่าวกรองกลาง (CIA) และสำนักงานสอบสวนกลางแห่งสหรัฐฯ (FBI) สามารถเข้าไปจารกรรม…

สภาฮ่องกงยังวุ่น ฝ่ายค้านประท้วงจนผู้นำอภิปรายไม่ได้

Loading

สภานิติบัญญัติของฮ่องกงยังไม่สามารถเปิดประชุมได้เป็นวันที่ 2 ติดต่อกัน จากการที่บรรดาสมาชิกฝ่ายค้านยังคงประท้วงขับไล่นางแคร์รี แลม หัวหน้าคณะผู้บริหาร ส่วนแกนนำม็บที่ถูกลอบทำร้ายมีอาการดีขึ้นแล้ว สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเขตบริหารพิเศษฮ่องกง ประเทศจีน เมื่อวันที่ 17 ต.ค. ว่าความพยายามของฝ่ายนิติบัญญัติฮ่องกงในการเปิดประชุมสภานิติบัญญัติ (เล็กโค) เมื่อวันพฤหัสบดี เพื่อให้นางแคร์รี แลม หัวหน้าคณะผู้บริหาร ได้มีโอกาสอภิปรายและตอบกระทู้ถามสดของสมาชิก หลังการประชุมเมื่อวันพุธที่เป็นการแถลงนโยบายไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เนื่องจากพรรคฝ่ายค้านประท้วงอย่างหนัก จนผู้นำหญิงของฮ่องกงต้องออกจากที่ประชุมเพื่อไปบันทึกเทปการแถลงนโยบาย แล้วออกอากาศทางโทรทัศน์แทน ยังคงเป็นไปด้วยความวุ่นวายและโกลาหล จากการที่สมาชิกพรรคฝ่ายค้านหลายคนประท้วงและตะโกนด่าทอเธอ ขณะที่สมาชิกฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านหลายคนชกต่อยกันเองในสภา จนเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยต้องระดมกำลังเพิ่มเป็นพิเศษ และนำตัวบรรดาสมาชิกอารมณ์ร้อนทั้งหมดออกไปสงบสติด้านนอก นางแคร์รี แลม หัวหน้าคณะผู้บริหารฮ่องกง เดินออกจากห้องประุชมสภา หลังไม่สามารถอภิปรายได้เป็นครั้งที่ 2 ติดต่อกัน เพราะฝ่ายค้านประท้วงอย่างหนัก เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยนำตัวนายจิมมี ซั้ม ในสภาพได้รับบาดเจ็บสาหัสและได้รับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นแล้ว ส่งโรงพยาบาล ทั้งนี้ สถานการณ์ดังกล่าวส่งผลให้การประชุมเกิดขึ้นไม่ได้ ไม่ต่างจากเมื่อวันพุธที่ผ่านมา ในขณะที่ในอีกด้านหนึ่ง นายจิมมี ซั้ม ผู้นำแนวร่วมสิทธิมนุษยชนพลเรือน ( ซีเอชอาร์เอฟ ) ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์กรอิสระเคลื่อนไหวทางการเมืองและสิทธิมนุษยชน  เปิดเผยผ่านบัญชีสังคมออนไลน์ของตัวเอง ว่าอาการบาดเจ็บของเขา “ดีขึ้นเป็นลำดับ” หลังถูกกลุ่มชายฉกรรจ์ไม่ทราบฝ่ายรุมทำร้ายโดยใช้ค้อนเป็นอาวุธ…

จี้รัฐบาลไซปรัสแจงขายพาสปอร์ตให้ไฮโซกัมพูชา

Loading

ส.ส.ฝ่ายค้านไซปรัส ประเทศเกาะในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนฟากตะวันออก เรียกร้องให้รัฐบาลชี้แจงข้อเท็จจริง หลังจากสำนักข่าวรอยเตอร์เปิดเผย กรณีที่สมาชิกในครอบครัวและกลุ่มคนสนิทของสมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ได้หนังสือเดินทาง หรือพาสปอร์ต ไซปรัส ภายใต้โครงการอื้อฉาว ขายสิทธิความเป็นพลเมือง แลกกับเงินลงทุนในประเทศ สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานจากกรุงนิโคเซีย สาธารณรัฐไซปรัส เมื่อวันที่ 17 ต.ค. ว่า นางไอรีน ชาราลัมไบด์ ส.ส.พรรคฝ่ายค้าน อาเคล ของไซปรัส และยังเป็นผู้แทนพิเศษฝ่ายต่อต้านการทุจริตขององค์การความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป (โอเอสซีอี) เขียนข้อความบนเฟซบุ๊กว่า การเปิดเผยของสำนักข่าวรอยเตอร์ ทำให้ไซปรัสถูกดูหมิ่นดูแคลนจากนานาชาติ รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยไซปรัส ต้องให้คำตอบในเรื่องนี้ รายงานผลการสืบสวนของรอยเตอร์ เผยให้เห็นว่า สมาชิกในครอบครัวของฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา และครอบครัวของกลุ่มคนใกล้ชิด มีทรัพย์สินอยู่ในต่างแดนหลายสิบล้านดอลลาร์สหรัฐ และใช้ความร่ำรวยซื้อสิทธิความเป็นพลเมืองต่างชาติ ซึ่งฮุน เซน เอง เคยกล่าวประณามว่า เป็นการกระทำที่ “ไม่รักชาติ” ายงานของรอยบเตอร์ระบุว่า สมาชิก 8 คนของครอบครัวฮุน เซน รวมทั้งครอบครัวของผุ้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง ขอซื้อและได้รับพาสปอร์ตไซปรัส ระหว่างปี พ.ศ.…

เฟซบุ๊ก จับมือ สำนักข่าว เอเอฟพี ตรวจสอบข่าวปลอมในไทย

Loading

เฟซบุ๊ก ร่วมกับ สำนักข่าว เอเอฟพี เปิดโปรแกรมตรวจสอบข่าวปลอมในประเทศไทย หากพบว่าไม่จริง จะแจ้งเตือนผู้ใช้งานก่อนแชร์ว่าปลอมพร้อมแสดงลิงก์ข่าวที่ถูกต้อง ขณะที่เพจข่าวปลอมจะถูกลดคะแนนการมองเห็น ส่งผลกระทบต่อการหารายได้จากเฟซบุ๊ก นางอันจาลี คาปูร์ ผู้อำนวยการฝ่ายพันธมิตรข่าวประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค เฟซบุ๊ก กล่าวว่า เฟซบุ๊กประกาศเปิดตัวโปรแกรมการตรวจสอบข้อมูลเท็จโดยผู้ตรวจสอบภายนอก ในประเทศไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการรักษาความโปร่งใสบนแพลตฟอร์มอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดการเผยแพร่ข้อมูลเท็จและพัฒนาคุณภาพของข่าวสารที่ผู้คนอ่านบนโลกออนไลน์ โดยเฟซบุ๊กร่วมมือกับ สำนักข่าว เอเอฟพี ซึ่งได้รับการรับรองโดยเครือข่ายการตรวจสอบข้อเท็จจริงระดับนานาชาติ (International Fact Checking Network หรือ IFCN) ที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดที่สถาบันพอยน์เตอร์ โดย เฟซบุ๊ก ได้เปิดตัวโปรแกรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยผู้ตรวจสอบภายนอกในเดือนธันวาคม 2559 และมีพันธมิตรกว่า 50 รายทั่วโลก ครอบคลุมกว่า 40 ภาษา มีเจ้าหน้าที่กว่า 30,000 คน กระจายตัวทำงานอยู่ในแต่ละประเทศ เพื่อให้เข้าใจวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ สำหรับการตรวจสอบ จะตรวจสอบบนเพจ หรือ ลิงก์ ข่าว ที่เป็นทั้งเนื้อหาข่าว รูปภาพและวิดีโอ ที่เปิดเป็นสาธารณะ เท่านั้น ไม่ได้ตรวจสอบกับเพจส่วนบุคคล เมื่อมีการตรวจสอบพบว่า…