บังคับใช้แล้ว! ระเบียบศาล รธน. 45 ข้อ ว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยในที่ทำการศาล

Loading

23 ต.ค 62 – เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยในที่ทำการศาล พ.ศ. 2562 เพื่อให้การรักษาความปลอดภัยของศาลรัฐธรรมนูญและสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญและการรักษาความสงบเรียบร้อยของการพิจารณาคดีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสมและรัดกุมสอดคล้องกับกฎหมาย กฎ และระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมถึงโครงสร้างการบริหารราชการของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 มาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2542 และ ข้อ 8 (8) ของข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2562 ศาลรัฐธรรมนูญจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ อ่านทั้งหมด —————————————— ที่มา : ไทยโพสต์ / 25 ตุลาคม 2562 Link : https://www.thaipost.net/main/detail/48669

สงครามโดรน : สงครามเก่ากำลังจากไป สงครามใหม่มาถึงแล้ว!

Loading

“ผู้ควบคุม [โดรน] สามารถระบุเป้าหมาย เฝ้ามอง และทันใดนั้นโจมตีจากระยะหลายพันไมล์ที่ห่างไกลออกไป โดยไม่จำเป็นต้องเอาทหารเข้าไปในพื้นที่อันตรายแต่อย่างใด” Lawrence Freedman (2017) คอลัมน์ ยุทธบทความ ผู้เขียน สุรชาติ บำรุงสุข   เมื่อศตวรรษที่ 21 เริ่มต้นขึ้นนั้น โลกได้เห็นอุปกรณ์ทางทหารชุดหนึ่งที่นักการทหารหลายคนได้ให้ความสนใจอย่างมาก คือการปรากฏตัวของ “อากาศยานไร้คนขับ” หรือเรียกว่า “อากาศยานไร้นักบิน” (Unmanned Aerial Vehicles หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า UAVs) ซึ่งปัจจุบันถูกเรียกว่า “โดรน” (Drones) และอุปกรณ์ทางทหารนี้กำลังกลายเป็นอาวุธสำคัญของศตวรรษปัจจุบัน และอาจจะเป็นอาวุธที่จะมีส่วนต่อการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าสงครามในอนาคต พัฒนาการ โดรนอาจจะไม่ใช่เรื่องใหม่ และมีการใช้โดรนมาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 แล้ว แต่เป็นเพียงการใช้เพื่อการเป็นเป้าซ้อมยิงของนักบิน และด้วยเงื่อนไขทางเทคโนโลยี โดรนจึงยังไม่สามารถพัฒนาให้มีขีดความสามารถในการรบได้ แต่แนวคิดที่จะสร้างโดรนให้ทำการรบได้ (combat drone) เกิดขึ้นในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ด้วยข้อจำกัดของการพัฒนาทางเทคโนโลยี แนวคิดนี้จึงปรากฏอยู่ในบทความของประดิษฐกรรมทางวิทยาศาสตร์ สำหรับโดรนทางทหารสมัยใหม่เป็นผลมาจากการคิดของฟอสเตอร์ (John S. Foster) ที่เป็นวิศวกรนิวเคลียร์ฟิสิกส์ชาวอเมริกันในช่วงต้นทศวรรษที่ 1970 ที่เชื่อว่าเครื่องบินจำลองน่าจะนำมาใช้ประโยชน์ในทางทหารได้…

“ระวัง! เป็น ‘ชาวเน็ต’ แบบนี้ เสี่ยงโดนฟ้องนะรู้ไหม?”

Loading

“ชาวเน็ตด่ายับ ชาวเน็ตรุมจวก ชาวเน็ตแห่แชร์ฯลฯ สารพัดการกระทำที่ชาวเน็ตทำ แล้วชาวเน็ตคือใครกันแน่? ตอบเลยว่าชาวเน็ตอาจเป็นคุณนั่นแหละค่ะ ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่ใช้ชีวิตบนสังคมออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นเฟซบุ๊ก, LINE, อินสตาแกรม, ทวิตเตอร์ หรือพื้นที่ออนไลน์อื่น ๆ คุณก็เป็นชาวเน็ตไปครึ่งหนึ่งแล้วนะ ยิ่งสมัยนี้พอโซเชียลมีเดียบูมขึ้นเรื่อย ๆ ใคร ๆ ก็เข้าถึงได้ ทุกคนเล่นเป็นกันหมด โซเชียลเลยกลายเป็นโลกเสมือนขึ้นมาอีกใบ ที่ส่งเสริมให้ชาวเน็ตมีอิทธิพลมากเข้าไปอีก ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการสร้างตัวตนออนไลน์ขึ้นมาทำให้เรากลายเป็นอีกร่างหนึ่งได้โดยไม่รู้ตัว ดังที่เห็นกันตามข่าวดัง ๆ เมื่อไม่กี่วันมานี้ ไหนจะเรื่องเด็กติดเกมส์คลั่ง หนุ่มแว่นหัวร้อน รวมถึงคลิปต่าง ๆ ตามไทม์ไลน์ที่เต็มไปด้วยคอมเมนต์หยาบคาย คุณรู้หรือไม่ว่าการกระทำเหล่านี้มีความสุ่มเสี่ยงจะผิดกฎหมายนะคะ มันก็เหมือนในสังคมจริงนั่นแหละค่ะ ในเมื่อมีคนดีก็ย่อมมีคนไม่ดีปะปนอยู่ด้วยเป็นธรรมดา ส่วนบรรดาชาวเน็ตที่ไม่น่ารักมีแบบไหนบ้างห้องแนะแนวรวบรวมมาไว้แล้ว! ล่าแม่มด ชาวเน็ตตัวดีชอบตามไล่ลาหา ‘ผู้ต้องสงสัย’ ในประเด็นต่าง ๆ มารับผิดชอบเรื่องราว แต่กลายเป็นว่าชาวเน็ตเหล่านี้ไปลากใครก็ไม่รู้มาเกี่ยวข้องแบบงง ๆ คนนั้นก็เลยกลายเป็น ‘แพะรับบาป’ แบบไม่รู้อิโหน่อิเหน่ เรื่องนี้เกิดจากชาวเน็ตที่ขาดสติ คิดว่าตนเองเป็นผู้พิทักษ์ความถูกต้อง ตั้งศาลเตี้ยขึ้นมาตัดสินอะไรต่อมิอะไรด้วยตัวเอง แต่นั่นกลายเป็นละเมิดความเป็นส่วนตัวคนอื่นไปซะอย่างนั้น แบบนี้ถือว่าผิดกฎหมายนะคะ ลามปาม เมื่อการล่าแม่มดคนเดียวมันไม่เพียงพอ ชาวเน็ตก็จะเริ่มไปสู่โซเชียลมีเดียของญาติโกโหติกาของคนนั้นอีกด้วย ไม่ว่าจะแชร์…

ว่าด้วยความสำคัญของบัตรประจำตัว

Loading

การติดบัตรประจำตัวนับเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่ เนื่องจากเป็นวิธีการควบคุมบุคคลที่จะผ่านเข้า-ออกพื้นที่ควบคุมหรือพื้นที่หวงห้ามของหน่วยงาน และเป็นการพิสูจน์ทราบตัวบุคคล เพื่อให้แน่ใจว่า บุคคลนั้นเป็นผู้มีสิทธิผ่านเข้า-ออกพื้นที่ของหน่วยงานเหล่านั้นได้จริง อย่างเช่น กลุ่มเจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน กลุ่มผู้มาติดต่อ  กลุ่มผู้ร่วมประชุม เป็นต้น อีกทั้งรูปแบบหรือสีของบัตรประจำตัวที่กำหนดไว้ยังช่วยให้เจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานสามารถแบ่งแยกเบื้องต้นได้ว่า กลุ่มผู้ติดบัตรประจำตัวอยู่ในกลุ่มใด หรือสังเกตเห็นได้ว่าผู้ติดบัตรประจำตัวล่วงล้ำเข้าสู่ในพื้นที่ที่ไม่ได้รับอนุญาต  ขณะนี้มาตรการติดบัตรประจำตัวนี้ไม่กำหนดชัดเจนในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ มีเพียงระบุไว้ในคู่มือมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยหน่วยงานภาครัฐฝ่ายพลเรือน ซึ่งจัดทำเมื่อปี 2553 โดยสำนักข่าวกรองแห่งชาติในฐานะองค์การรักษาความปลอดภัยแห่งชาติฝ่ายพลเรือน สำหรับให้หน่วยงานของรัฐและองค์การอิสระฝ่ายพลเรือน นำไปเป็นแนวทางปฏิบัติเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ.2517 ซึ่งปัจจุบันยกเลิกแล้ว เป็นระเบียบที่ให้ความสำคัญต่อบัตรประจำตัวและกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ชัดเจน โดยถือว่า บัตรประจำตัวเป็นเอกสารราชการที่ใช้แสดงฐานะเจ้าของบัตรต่อเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ถึงสิทธิในการผ่านเข้า-ออกพื้นที่ส่วนราชการ ขณะผ่านจุดตรวจหรือช่องทางเข้า-ออก เพื่อเข้าสู่เขตที่มีการรักษาความปลอดภัย ทั้งยังใช้เป็นหลักฐานควบคุมบุคคลทั้งภายในและภายนอก โดยเฉพาะต่อกรณีที่พบการกระทำความผิดหรือละเมิดกฎระเบียบที่กำหนดไว้ในหน่วยงานรัฐ ตลอดจนยังเป็นเอกสารเฉพาะตัวบุคคลที่ยืนยันถึงการได้รับความไว้วางใจให้เข้าถึงและระดับชั้นที่ให้เข้าถึงสิ่งที่เป็นความลับหรือมีความสำคัญของราชการ หรือแสดงถึงการได้รับอนุญาตให้ผ่านหรือเข้าไปปฎิบัติงานในพื้นที่ควบคุมหรือเขตหวงห้าม รวมทั้งในพื้นที่ที่จัดการประชุมลับอีกด้วย  แม้ว่าในปัจจุบันมาตรการเกี่ยวกับบัตรประจำตัวจะยังกำหนดใช้ภายในหน่วยงานของรัฐ แต่ก็มิได้สร้างความเข้าใจให้ตระหนักถึงความสำคัญของบัตรประจำตัวหรือมิได้เข้มงวดในการถือปฏิบัติมากนัก เช่น บัตรประจำตัวต้องติดที่อกเสื้อ เพื่อให้เห็นได้ชัดเจน และให้ติดไว้ตลอดเวลาที่อยู่ในพื้นที่่รักษาความปลอดภัย เป็นต้น ถึงแม้ขณะนี้ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับบัตรประจำตัวจะไม่มีความชัดเจนในระเบียบราชการว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือนก็ตาม แต่หากหน่วยงานของรัฐเห็นถึงความสำคัญก็สามารถกำหนดขึ้นเป็นระเบียบภายใน เพื่อให้เจ้าหน้าที่และผู้ที่เข้ามาในพื้นที่ครอบครองของหน่วยงานของรัฐนั้น ถือปฏิบัติตามตลอดระยะเวลาที่อยู่ในพื้นที่ก็ได้ ตัวอย่างหน่วยงานของรัฐที่กำหนดเป็นระเบียบภายใน ได้แก่ รัฐสภาเรียกว่า ระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยของรัฐสภา พ.ศ.2559 ระบุถึงเช่นนี้ ข้อ 5 ในระเบียบนี้…