ในโลกที่ทุกสิ่งทันสมัยมากขึ้นด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล และอุปกรณ์ต่าง ๆ อาทิ Smart Phone กลายเป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวก แต่ในความสะดวกกับมาพร้อมกับปัญหาของล่วงล้ำสิทธิอย่างคาดไม่ถึง…
เมื่อ Smart Phone ล่วงล้ำพื้นที่ส่วนตัว?
นวัตกรรม และเทคโนโลยีอันทันสมัยได้สร้างความเปลี่ยนแปลงในชีวิตประจำวัน แต่ในทางกลับกัน เครื่องมือที่ทันสมัย และมอบความสะดวกสบาย กับช่องทางให้เกิดอาชญากรรมรูปแบบใหม่ และเกิดคำถามมากมายถึงความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่อาจเข้ามาละเมิดสิทธิพลเมือง เช่น สิทธิในความเป็นส่วนตัว ได้เช่นกัน
เรื่องดังกล่าวไม่ใช่เรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นหลังจากที่โลกได้ก้าวไปสู่ยุคที่เราเรียกว่า “ยุคดิจิทัล” ที่แทบจะทุกคนใช้สมาร์ทโฟนเป็นเหมือนอวัยวะที่ 33 ของร่างกาย เพียงแต่หลายคนยังไม่ตระหนักถึงภัยคุกคามที่ตามมาเน่ืองจากไม่เชื่อว่าจะเป็นเช่นดังในหนัง “สายลับ” ได้จริง
หากคุณนึกภาพไม่ออกผู้เขียนแนะนำให้ลองกลับไปหาหนังเรื่อง สโนว์เดน (Snowden) หรือ แฉกระฉ่อนโลก (CitizenFour) ดู เพราะมันคือหนังที่สร้างขึ้นจากกรณีของ เอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน (Edward Snowden) อดีตเจ้าหน้าที่ฝ่ายคอมพิวเตอร์ของ ซีไอเอ (CIA)
ที่ออกมาเปิดเผยถึงโครงการลับสุดยอดที่ใช้ชื่อรหัสว่า “พริซึม” (prism) หรือการสอดแนมด้วยเทคโนโลยีที่ให้สภาความมั่นคงแห่งชาติ (NSA) สำนักงานข่าวกรองกลาง (CIA) และสำนักงานสอบสวนกลางแห่งสหรัฐฯ (FBI) สามารถเข้าไปจารกรรม “ข้อมูลส่วนตัว”
ของประชาชนอเมริกัน และผู้ที่เข้าไปตั้งถิ่นฐานในประเทศ ด้วยการเจาะเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์แม่ข่าย หรือเซิร์ฟเวอร์ของบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านไอที 9 แห่ง ได้แก่ ไมโครซอฟท์, กูเกิล, เฟซบุ๊ก, ยาฮู, แอปเปิล, เอโอเแอล, พาลทอล์ค, สไกป์, และยูทูบ
โดยให้เจ้าหน้าที่เข้าไปค้นหาข้อมูลทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นอีเมล์ ภาพถ่าย คลิปเสียง หรือคลิปภาพเคลื่อนไหว และไม่นับรวมไปถึงการดักฟังโทรศัพท์ของมะกันชนกว่า 10 ล้านคน ตลอดจนการดักฟังเสียง วีดีโอ ข้อความแชท และการถ่ายโอนข้อมูล ต่าง ๆ
ของโปรแกรมสไกป์ หรือโปรแกรมติดต่อสื่อสารระหว่างกันผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยข้อความพร้อมเสียง และภาพจากกล้อง ที่อยู่บนคอมพิวเตอร์พกพาหลายท่านอาจคิดว่าสิ่งนี้เป็นเรื่องที่น่ากังวล แต่ไม่น่าจะมีใครมาสอดแนมคนปกติธรรมดาทั่วไป
แน่นอนว่าความคิดนี้ไม่ผิดแต่ไม่ถูกซะทีเดียว เพราะนั่นกำลังหมายถึงว่าคุณกำลังตั้งอยู่บนความประมาท และไว้ใจในเทคโนโลยีมากจนเกินปกป้อง หรือป้องกันตนเอง ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์ที่เหล่าแฮกเกอร์ใช้ชุดคำสั่งป่วนวงจรอุปกรณ์ของคุณ
เพื่อใช้กล้องในสอดส่องพฤติกรรม แล้วนำไปประจานหรือเรียกค่าไถ่หากไม่ต้องให้เปิดเผยข้อมูล ก็จะเกิดขึ้นได้ โดยล่าสุดมีการเปิดเผยว่าปัจจุบันมีการขายโปรแกรม “spy on your ex-girlfriend” ที่ใช้สอดส่องอุปกรณ์ ในราคา 19.99 ดอลลาร์ ได้ทางออนไลน์ แล้ว
ซีโรคลิกเทคโนโลยี (Zero Click Technology)
ไมก์ เมอร์เรย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงไซเบอร์ของ Lookout ใน ซานฟรานซิสโก ซึ่งเป็นบริษัทที่ช่วยเหลือรัฐบาลต่าง ๆ ภาคธุรกิจ และผู้บริโภคในการรักษาข้อมูลของตัวเองให้ปลอดภัย ได้เคยออกมาให้ความเห็นว่า
ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ “สปายแวร์” (Spyware) มากมาย ที่สามารถติดตั้ง เพ่ือใช้สอดแนมผู้บริโภคได้ บางชนิดฉลาดถึงขั้นที่ว่าสามารถสั่งให้เปิดไมโครโฟน และกล้องเมื่อไหร่ก็ได้ รวมไปถึงสามารถสั่งให้บันทึกทุกอย่างที่เกิดขึ้นรอบตัว
รวมไปถึงสามารถแอบเข้าแอปพลิเคชันต่าง ๆ และโซเชียลมีเดียที่มีทุกแอพพลิเคชั่นฯ ได้ด้วย และสั่งให้ขโมยภาพถ่าย รวมไปถึงหมายเลขโทรศัพท์ และข้อมูลในปฏิทินของได้ รวมถึงอีเมล และเอกสารทุกอย่างที่มีในเครื่องได้
ซึ่งซอฟต์แวร์จำพวกสปายแวร์นี้ มักจะไม่ได้ดักจับสกัดข้อมูลที่อยู่ระหว่างทางของการส่ง (ซึ่งปกติจะถูกเข้ารหัสไว้) แต่สปายแวร์จะใช้ประโยชน์จากหน้าที่การทำงานต่าง ๆ ของโทรศัพท์เพื่อขโมย หรือสั่งก็ได้ และมีแนวโน้มเทคโนโลยีประเภทนี้จะมีการพัฒนาที่ก้าวหน้ามากขึ้น และแทบจะไม่สามารถตรวจจับได้เลย ซึ่งเคยมีหลายกรณีที่หน่วยงานรัฐใช้ซอฟต์แวร์สปายแวร์ในการติดตามหาผู้ก่อการร้าย อาทิ กรณีของ “เอล ชาโป” ผู้นำเครือข่ายค้ายาเสพติดรายใหญ่แห่งเม็กซิโก
ที่หลบหนีออกจากเรือนจำเป็นเวลา 6 เดือน แต่ทางการเม็กซิโกได้ใช้ซอฟต์แวร์สปายแวร์ตัวหนึ่ง และแอบใส่ในเครื่องของคนใกล้ชิด จนสามารถหาแหล่งกบดาน จะสามารถจับกุม “เอล ชาโป” ได้ในที่สุด แม้ว่าจะไม่มีการเปิดเผยวิธีการ หรือชื่อของซอฟต์แวร์สปายแวร์นี้ แต่ก็มีความเป็นไปได้หากพิจารณาจากกรณีที่ เอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน (Edward Snowden) ได้ออกแฉรัฐบาลสหรัฐ
นอกเหนือจากนี้ โลกของสปายแวร์วันนี้ได้ก้าวเข้าสู่ขั้นที่เรียก “เทคโนโลยีที่ไม่ต้องใช้การคลิก” (zero click technology) แล้ว ซึ่งกรณีตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือกรณีศึกษาของ วอตส์แอปป์ (WhatsApp) ที่เปิดช่องให้แฮกเกอร์ใช้เป็นช่องทางในการเข้าถึงซอฟต์แวร์ของโทรศัพท์ โดยเมื่อผู้ใช้เปิดแอปฯ แฮ็กเกอร์จะสามารถดาวน์โหลดสปายแวร์เข้าเครื่องของเจ้าของเครื่อง โดยที่ไม่ต้องคลิกลิงก์ใด ๆ ทั้งสิ้น แต่โทรศัพท์จะถูกเจาะเข้าระบบได้ด้วยการใช้แอปฯ นี้โทรออก และวางสาย
รวมไปถึงสอดส่องการพูดคุยกับเพื่อนและครอบครัวเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ทั่วไปในชีวิตประจำวัน ทำให้ วอตส์แอปป์ ต้องรีบแก้ไขปัญหานี้ให้แก่ผู้ใช้งาน 1,500 ล้านคน และในทุกวันนี้ยังไม่มีรู้ว่า ใครคือผู้ที่อยู่เบื้องหลังการแฮ็กในครั้งนี้ และเมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้มีข่าวว่า ว่า มาร์ค ซักเกอร์เบริก เจ้าพ่อโซเชียลมีเดียของโลก อย่าง “เฟสบุ๊ค” (Facebook) ยังปิดคลุมกล้องเลนต์ถ่ายรูปในสมาร์ทโฟนของเขา รวมไปถึงทำบางสิ่งบางอย่างกับช่องต่อไมโครโฟนหูฟัง
ฟังแล้วเหมือนเรื่องตลกชวนขบขัน แต่คำถามคือเราควรทำแบบนั้นหรือไม่ คำตอบคือ ใช่ หากเมื่อใดก็ตามที่คุณต้องการจะโทรศัพท์ หรือ สไกป์ ติดสติกเกอร์ปิดกล้องเว็บแคมไว้ น่าจะวิธีที่ดีที่สุดที่คุณทำได้เพื่อความเป็นส่วนตัวของคุณ แม้เราอาจจะคิดว่าคุณไม่มีอะไรที่จะปกปิด อย่างน้อยที่สุด หากว่าในชีวิตของคุณคุณมีลูก ๆ ที่เป็นวัยรุ่น เราก็ควรจะแน่ใจว่าได้ปิดช่องกล้องของลูกๆ เพื่อปกป้องพวกเขา
——————————————–
เขียนโดย : ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) / 16 ตุลาคม 2562
Link : https://www.theeleader.com/cyber-security/when-smart-phone-is-a-problem-of-civil-rights-to-be-careful/