ว่าด้วย Fake News

Loading

  Fake News เป็นศัพท์นิยมขณะนี้เกี่ยวกับพฤติกรรมใส่ร้ายหรือหลอกลวงด้วยข่าวสาร การรายงานหรือนำเสนอด้วยข้อมูลเท็จ หรือการบิดเบือนข้อมูลข่าวสารสำหรับใช้โจมตีหรือทำลายฝ่ายตรงข้าม ไม่ว่าจะกระทำเป็นการเฉพาะเจาะจงที่ตัวบุคคล กลุ่มบุคคล หรือมุ่งให้เกิดความล่มสลายต่อเนื่องแบบโดมิโนในระบบการเมือง เศรษฐกิจ สังคม หรือการทหารก็ได้ ในอดีตการสร้างเรื่องราวใส่ร้ายหรือการหลอกลวงด้วยข้อมูลข่าวสารเสมือนจริงเช่นเดียวกับ Fake News คือ การบ่อนทำลาย ซึ่งนับเป็นวิธีที่ยากลำบากต่อการกำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยหรือคุ้มครองป้องกัน แต่มีจุดอ่อนที่ต้องดำเนินการด้วยระยะเวลายาวนาน ที่อาจเป็นเหตุให้บรรดาเป้าหมายตรวจสอบพบก่อนที่การบ่อนทำลายจะบรรลุผล     ปัจจุบันการคุ้มครอง ป้องกัน และเผชิญกับ Fake News นับเป็นความยากลำบากที่ยิ่งทวีมากขึ้น เนื่องมาจากการแพร่กระจายข้อมูลข่าวสารผ่านระบบเทคโนโลยีการสื่อสารในขณะนี้เป็นไปอย่างไร้ขอบเขตและรวดเร็ว ถึงแม้นานาประเทศพยายามที่จะให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน เพื่อให้แยกแยะและต่อต้าน Fake News ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเท็จ ข่าวสารลวง และข้อมูลข่าวสารที่ถูกบิดเบือนเหล่านั้น อย่างเช่น องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) จัดทำ “Journalism, ‘Fake News’ and Disinformation” และเผยแพร่รายละเอียดผ่านทาง https://en.unesco.org คู่มือของ UNESCO ดังกล่าวนำเสนอข้อมูลและแนวการอบรมสำหรับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับสื่อมวลชน ไม่ว่าจะเข้ามาศึกษา ฝึกอบรม ประกอบการเรียนการสอน…

Elizabeth Warren ซื้อโฆษณาแพร่ข้อมูลปลอมในเฟซบุ๊ก เพื่อทดสอบว่าเฟซบุ๊กจะลบมันออกไหม

Loading

Elizabeth Warren ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีจากพรรคเดโมแครต ผู้มีโยบายลดอิทธิพลบริษัทไอทีขนาดใหญ่ ทดสอบเฟซบุ๊กด้วยการซื้อโฆษณาที่มีเนื้อหาว่า เฟซบุ๊ก สนับสนุนการกลับมาลงเลือกตั้งอีกครั้งของโดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐในตอนนี้ และยังแนบภาพที่ทรัมป์ และ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก จับมือพบปะกันที่ทำเนียบขาวด้วย เนื้อหาดังกล่าวไม่เป็นความจริง ซึ่ง Warren ก็รู้ในจุดนี้ แต่เธอกำลังทดสอบว่า เฟซบุ๊กจะมีท่าทีอย่างไรกับโฆษณาการเมืองที่มีข้อมูลปลอม ผลปรากฏว่าตอนแรก เฟซบุ๊กก็ดึงโฆษณาออก แต่ก็ดึงกลับมาใหม่อีกครั้ง โดยเฟซบุ๊กให้เหตุผลว่า หน้าที่ของเฟซบุ๊กคือ พยายามป้องกันการแทรกแซงการเลือกตั้งจากภายนอก แต่ไม่มีสิทธิ์ไปแทรกแซงสิ่งที่นักการเมืองพูดหรือแถลงไว้ และคำพูดของนักการเมืองจะไม่ไปถึงมือผู้ตรวจสอบข้อมูลภายนอก แต่ถ้าคำพูดนั้นเป็นการทำอันตรายให้คนอื่นก็ยังคงถือว่าผิดกฎแพลตฟอร์ม แต่ก็ไม่มีสิทธิ์ไปเซนเซอร์คำพูดของนักการเมือง ผู้อ่านสามารถดูโฆษณาดังกล่าวได้ ที่นี่ ———————————————— ที่มา : Blognone / 15 ตุลาคม 2562 Link : https://www.blognone.com/node/112527

เผยผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตกว่า 40% ใน เอเชีย-แปซิฟิก มี Cyber risk สูง

Loading

ความจริงที่น่าตกตะลึง!! ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตใน เอเชีย-แปซิฟิก มีพฤติกรรมทางไซเบอร์เสี่ยงสูง (Cyber risk) ผลสำรวจพบว่า 40% เต็มใจเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว… ผลสำรวจชี้ชัด Cyber risk ใน APAC สูง  เมื่อไม่นานมานี้ได้มีเปิดเผยผลสำรวจ Global Privacy Report 2018 ที่ทาง แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) ได้สำรวจผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific หรือ APAC) พบว่า 39.2% เต็มใจที่จะเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวเพื่อให้ได้ความปลอดภัยเพิ่มเติม เช่น การตรวจสอบ หรือสอดส่องความปลอดภัยออนไลน์ แต่ยังมีกว่า 40% ที่ยอมเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว โดยกว่า 22% สารภาพว่าแชร์ข้อมูลโซเชียลมีเดียเพื่อเล่นควิซต่างๆ ขณะที่ 18.9% ยอมรับว่ายอมสละความเป็นส่วนตัวเพื่อรับสินค้า และบริการฟรี เช่น ซอฟต์แวร์หรือของขวัญอื่น ๆ นอกจากนี้ในรายงานฉบับดังกล่าวยังเปิดเผยอีกว่า 55.5% ของผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอยู่ในช่วงอายุ 16-24 ปี และ 25-34 ปี และมีความคิดว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะมีความเป็นส่วนตัวครบถ้วนสมบูรณ์ในโลกดิจิทัลสมัยใหม่ และเชื่อว่าข้อมูลส่วนตัว เช่น ที่อยู่ วันเกิด…

องค์การพัฒนาเอกชน APOPO ฝึกหนูยักษ์แอฟริกันดมหากับระเบิดทั่วโลก

Loading

Ellie Cutright รักหนูเป็นชีวิตจิตใจมาตั้งเเต่เด็ก และตอนนี้เธอทำงานในทีมนักวิจัยขององค์กรไม่หวังผลกำไรนานาชาติ APOPO ที่แทนซาเนีย เธอบอกว่าคนมองว่าหนูสกปรก แต่ตอนเป็นเด็ก เธอมีหนูหลายตัวเป็นสัตว์เลี้ยงจึงไม่รู้สึกรังเกียจหนู Cutright บอกว่าได้ติดตามข่าวสารขององค์กร APOPO ทาง Facebook มานานหลายปีในช่วงเรียนมหาวิทยาลัย จนกระทั่งวันหนึ่งเธอเห็นประกาศรับสมัครงานขององค์กรตอนที่เธอกำลังเรียนอยู่ปีสุดท้าย เเละเธอตัดสินใจสมัครงานเเม้ว่าจะไม่คิดว่าจะได้งานนี้ เเต่ความฝันก็เป็นจริง เธอบอกว่า หนูเป็นสัตว์ที่ฉลาดเเละน่าทึ่ง และหนูพันธุ์ที่ทีมวิจัยของเธอทำงานด้วยน่ารักมาก ชอบอยู่กับคน ชอบให้อุ้มเเละดูแล นอกจากนี้ยังขยันทำงานอีกด้วย หนูยักษ์แอฟริกันเมื่อโตเต็มที่อาจมีขนาดใหญ่เท่ากับเเมวเลี้ยงทีเดียว หนูพันธุ์นี้เกิดเเละเลี้ยงให้โตที่สำนักงานใหญ่ขององค์กร APOPO ในเมือง Morogoro ประเทศแทนซาเนีย การฝึกหนูเริ่มต้นขึ้นเมื่อหนูหย่านมเเม่ตอนราวอายุ 10 สัปดาห์ การฝึกฝนใช้การกดตัวคลิกเกอร์เเละให้รางวัลเป็นอาหาร ซึ่งได้ผลดีเพราะหนูชอบกิน หนูดมกลิ่นกับระเบิดจะเริ่มการฝึกบนโต๊ะที่คลุมด้วยดิน เเละถูกสอนให้ดมกลิ่นหาตลับใบชาทรงไข่ที่บรรจุดินระเบิดทีเอ็นที Cutright กล่าวว่า เมื่อหนูเข้าไปใกล้จุดที่ฝังตลับใบชาบรรจุดินระเบิดทดลอง ผู้ควบคุมจะกดปุ่มคลิกและหนูจะได้รับรางวัลเป็นอาหาร นี่ทำให้หนูเรียนรู้ว่ากลิ่นของดินระเบิดหมายถึงอาหาร หลังจากนั้น ทีมนักวิจัยจะค่อย ๆ ขยายบริเวณพื้นที่เสาะหากับระเบิดออกไป โดยใช้เชือกผูกที่คอหนูขณะวิ่งไปตามพื้นดินเพื่อดมหากับระเบิดทดลอง Cutright กล่าวว่าเมื่อหนูเริ่มเข้าไปดมกลิ่นหากับระเบิดสังหารบุคคลในพื้นทื่จริง ๆ หนูจะคุ้ยดินตรงจุดที่มีกับระเบิดอยู่ เป็นสัญญาณบอกให้คนดูเเลหนูว่าพบวัตถุสงสัย และจะทำการติดเครื่องหมายลงในจุดนั้นก่อนที่จะเริ่มขั้นตอนกอบกู้กับระเบิดอย่างปลอดภัย หนูดมกับระเบิดขององค์กรไม่หวังผลกำไรแห่งนี้ถูกส่งไปทำงานค้นหากับระเบิดในพื้นที่ที่เต็มไปด้วยกับระเบิดหลายเเห่งในเเทนซาเนีย เเละยังถูกส่งไปทำงานนี้ในประเทศอื่น…

Apple removes app that Hong Kong protesters used to track police movements following vandalism, attacks on officers

Loading

The iPhone maker has removed an app that allowed rioters in Hong Kong to track where police are located after reports that it was used to ambush officers and vandalize communities where law enforcement was not present. Following other companies that have taken sides in the ongoing unrest in China’s autonomous city, Apple allowed HKmap.live…

Apple ลบแอปแผนที่ฮ่องกง หลังม็อบใช้สอดส่องความเคลื่อนไหวตำรวจ

Loading

บริษัทผู้สร้างโทรศัพท์ชื่อดัง Apple ตัดสินใจลบแอปพลิเคชั่นแผนที่ในฮ่องกง หลังพบว่ากลุ่มผู้ประท้วงนำมาไปใช้ระบุพิกัดแสดงตำแหน่งของเจ้าหน้าที่ตำรวจปราบจลาจล สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า Apple บริษัทผู้สร้างโทรศัพท์มือถือชื่อดัง ได้ดำเนินการลบแอปพลิเคชั่นแผนที่ที่นิยมใช้ในพื้นที่ฮ่องกง หลังพบว่ากลายเป็นแอปฯ ที่กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงนำมาใช้ในทางการที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากนำมาติดตามความเคลื่อนไหวเจ้าหน้าที่ตำรวจและหมายเข้าโจมตีเจ้าหน้าที่ แอปพลิเคชั่นดังกล่าวคือ “HKmap.live” ที่ล่าสุดแอปฯ ดังกล่าวถูกลบออกจากระบบและไม่สามารถดาวน์โหลดใช้งานได้อีกต่อไป โดยทาง Apple ได้ออกแถลงการณ์ชี้แจงว่า จากเดิมแอปฯ ดังกล่าวได้ถูกนำมาใช้ในทางที่ผิดและไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ดั้งเดิม กระทั่งกลายเป็นภัยที่เกิดขึ้นในโลกเทคโนโลยีและเข้าข่ายผิดกฎหมาย ตามรายงานระบุว่า HKmap.live เป็นแอปฯ แผนที่ที่แนะนำเส้นทางต่างๆ ทั่วพื้นที่ฮ่องกง แต่กลับพบว่าปัจจุบันกลุ่มผู้ประท้วงได้ใช้แอปฯ ดังกล่าวในการติดตามเฝ้าดูความเคลื่อนไหวของเจ้าหน้าที่ตำรวจปราบจลาจล ก่อนจะระบุพิกัดและเข้าโจมตีเผชิญหน้ากับเจ้าหน้าที่กลายเป็นเหตุความรุนแรง ทั้งนี้ การดำเนินการลบแอปพลิเคชั่นดังกล่าวเป็นผลพวงมาจากแรงกดดันจากสื่อของจีน หลังมีการเปิดประเด็นอ้างว่า “Apple ให้การสนับสนุนม็อบฮ่องกงหรือ?” และเปิดโปงว่ามีแอปฯ ในระบบ iOS ที่กลุ่มผู้ประท้วงใช้ในการนำทางและแจ้งพิกัดของเจ้าหนาที่ตำรวจ ด้วยเหตุนี้ ทำให้ทางบริษัทผู้สร้างโทรศัพท์ชื่อดังได้ดำเนินการตรวจสอบและหาข้อเท็จจริง ก่อนจะพบว่าแอปพลิเคชั่นดังกล่าวถูกนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์จริง และเข้าข่ายเป็นการใช้เทคโนโลยีแบบละเมิดต่อข้อกฎหมาย จึงได้ตัดสินใจระงับและลบแอปพลิเคชั่นดังกล่าว ไม่สามารถใช้งานได้ในพื้นที่ฮ่องกงอีกต่อไป —————————————————— ที่มา : sanook / 10 ตุลาคม 2562 Link : https://www.sanook.com/news/7919466/