กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล : คุ้มครองหรือไม่คุ้มครอง

Loading

วันที่ 28 พฤษภาคม 2562 เป็นวันที่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Act B.E. 2562 (2019) หรือ PDPA) มีผลบังคับใช้หลังการประกาศในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าเนื้อหาสาระของกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้คุ้มครองการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลอย่างแท้จริง ซึ่งแตกต่างจากชื่อของกฎหมายอย่างสิ้นเชิง อะไรคือ กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และทำไมต้องมีกฎหมายฉบับนี้! ย้อนกลับไปเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา ที่เริ่มนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ทำงานในรูปแบบของ Information Technology คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในการทำงานของผู้คนในสังคม และมีบทบาทในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลมากขึ้น ทำให้มีการพูดถึงการคุ้มครองการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อคุ้มครองการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในธุรกรรมต่าง ๆ ที่เจ้าของข้อมูลไม่ต้องการให้ผู้อื่นนำไปใช้ จากวันนั้นถึงวันนี้ผ่านมา 23 ปี กฎหมายฉบับนี้คลอดออกมา และจะมีผลบังคับใช้อย่างเต็มรูปแบบในปี 2563 สาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้คือ การให้ความคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล เช่น การศึกษา ฐานะการเงิน ประวัติสุขภาพ ประวัติอาชญากรรม ประวัติการทำงาน และข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ลายพิมพ์นิ้วมือ แผ่นบันทึกลักษณะเสียง เลขบัตรประชาชน หรือเลขหมายเอกสารส่วนตัวอื่น ๆ โดยห้ามไม่ให้ผู้อื่นนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้เพื่อประโยชน์ในด้านใดด้านหนึ่งที่เจ้าของข้อมูลไม่ยินยอมให้นำไปใช้ประโยชน์ เนื่องจากปัจจุบันเราต้องติดต่อกับหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ…

กลุ่มต้านโลกร้อนป่วนสนามบินลอนดอน ปีนเครื่องบิน-ไม่ยอมนั่งเก้าอี้

Loading

นักเคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวดล้อมก่อเหตุประท้วงที่สนามบินในกรุงลอนดอน มีทั้งปีนขึ้นไปบนเครื่องบิน หรือไม่ยอมนั่งจนเครื่องบินขึ้นบินไม่ได้จนเครื่องดีเลย์ สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า นักเคลื่อนไหวของกลุ่มรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อม ‘Extinction Rebellion’ พยายามชัตดาวน์ท่าอากาศยานลอนดอนซิตี สนามบินใหญ่อันดับ 5 ของกรุงลอนดอนในอังกฤษ เพื่อประท้วงต่อต้านแผนขยายสนามบินแห่งนี้ ซึ่งพวกเขามองว่าจะทำให้เป็นไปไม่ได้ที่รัฐบาลอังกฤษจะบรรลุเป้าหมาย การลดก๊าซคาร์บอนในถึงระดับที่กำหนดภายในปี 2593 นักเคลื่อนไหวหลายร้อยคนรวมตัวปิดทางเข้าสนามบินแห่งนี้เอาไว้ ขณะที่คนอื่นๆ ไปก่อเหตุรบกวนเที่ยวบิน จนเดินทางล่าช้า โดยภาพจากคลิปวิดีโอที่เผยแพร่บนโลกออนไลน์แสดงให้เห็นชายคนหนึ่ง ที่ทางกลุ่มระบุว่าชื่อ เจม์ บราวน์ นอนอยู่บนเครื่องบินของสายการบิน บริติช แอร์เวย์ส นานกว่า 20 นาที ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะสามารถนำตัวเขาลงมาได้ ขณะที่บนเครื่องบินโดยสายของสายการบิน เออร์ ลิงกัส ซึ่งกำลังจะบินไปกรุงดับลิน ชายคนหนึ่งก่อเหตุยืนอ่านคำปราศรัยรณรงค์เรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเสียงดังในห้องโดยสาร โดยไม่ยอมนั่งเก้าอี้ ทำให้เครื่องบินไม่สามารถออกเดินทางได้จนกระทั่งเจ้าหน้าที่มาควบคุมตัวเขาลงจากเครื่อง จากนั้นเที่ยวบินนี้จะได้เดินทางไปดูไบหลังจากดีเลย์นาน 2 ชั่วโมง นายนิโคลัส วัตต์ นักข่าวบีบีซีซึ่งอยู่บนเครื่องบินลำนี้ด้วยกล่าวว่า “สิ่งที่ย้อนแย้งในการประท้วงเพื่อสิ่งแวดล้อมบนเที่ยวบินของเราก็คือ เราไม่สามารถออกเดินทางได้จนกระทั่งเราต้องเติมน้ำมันเพิ่มเติม แทนที่น้ำมันที่เราใช้ระหว่างการประท้วง” ——————————————————- ที่มา : ไทยรัฐ ออนไลน์ / 11 ตุลาคม 2562…