ว่าด้วยเอกสารราชการที่กำหนดชั้นความลับ

Loading

  จากวิทยาการสมัยใหม่ที่ผ่านมา โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร ส่งผลต่อรูปแบบของข้อมูลข่าวสารที่สามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ ข้อมูลข่าวสารที่จับต้องได้ เช่น ข้อมูลข่าวสารในหนังสือ กับข้อมูลข่าวสารที่จับต้องไม่ได้ คือ ข้อมูลข่าวสารที่บันทึกด้วยสัญญาณ ต้องมีเครื่องมืออุปกรณ์แปลงสัญญาณนั้นก่อน จึงจะสื่อความเข้าใจได้ เช่น ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น จากการนำมาใช้งานของส่วนราชการ ข้อมูลข่าวสารทั้ง 2 รูปแบบดังกล่าวจึงถูกแบ่งลักษณะออกเป็นข้อมูลข่าวสารทั่วไป และข้อมูลข่าวสารที่กำหนดชั้นความลับหรือมีความสำคัญ จากลักษณะการใช้งานนี้จึงเป็นผลให้ต้องกำหนดระเบียบราชการ เพื่อเป็นแนวทางบริหารและปฏิบัติ กับเป็นแนวทางดูแล คุ้มครองและป้องกันการสูญหาย ถูกปรับเปลี่ยน แก้ไขเนื้อความไปจากเดิม หรือถูกนำไปเปิดเผยก่อนเวลาอันควร หรือรั่วไหลไปสู่ผู้ที่ไม่มีอำนาจหน้าที่ สำหรับรูปแบบข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานของรัฐที่ใช้ปฏิบัติงานอยู่ขณะนี้ ส่วนใหญ่เป็นเอกสารบันทึกบนกระดาษ นับเป็นประเภทหนึ่งของข้อมูลข่าวสารที่จับต้องได้ จำเป็นต้องกำหนดระเบียบปฏิบัติสำหรับเอกสารราชการ เพื่อให้หน่วยงานทุกประเภทของรัฐอยู่บนบรรทัดฐานเดียวกัน ที่สำคัญคือ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ ซึ่งเป็นแนวทางบริหารจัดการงานเอกสารราชการ สำหรับการดูแล คุ้มครอง และป้องกันนั้น แต่เดิมถือปฏิบัติตามบทการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับเอกสารของระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ.2517 แต่ภายหลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 และเพื่อให้รองรับมาตรา 16 และมาตรา 26 ของพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงกำหนดระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ.2544 ซึ่งเนื้อความของระเบียบการรักษาความลับของทางราชการนั้นปรับมาจากบทการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับเอกสารของระเบียบการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ.2517…

เมื่อสงครามเป็นไฮบริด เครื่องมือผสม-วิถีผสาน

Loading

โดย… สุรชาติ บำรุงสุข คอลัมน์ ยุทธบทความ “วิธีการทางทหารจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อถูกใช้ผสมผสานกับวิธีการที่ไม่ใช่ทางทหาร ไม่ว่าจะเป็นการใช้มาตรการทางการเมือง เศรษฐกิจ ข้อมูลข่าวสาร ความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรม และอื่นๆ… [ในกรณีนี้] เทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารจะมีบทบาทที่สำคัญอย่างมาก ผลที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ การปะทะของหน่วยหลักทางทหารในแนวหน้าจะค่อยๆ กลายเป็นอดีต” Lawrence Freedman นักยุทธศาสตร์ชาวอังกฤษ ในแต่ละช่วงเวลาของโลก จะเห็นได้ว่าแบบแผนของสงคราม (pattern of war) มีความแตกต่างกันออกไป แบบแผนเช่นนี้เป็นผลผลิตของปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการพัฒนาทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี ตัวอย่างเช่น เมื่อโลกอยู่ในยุคอาณานิคมของศตวรรษที่ 19 การสงครามของโลกก็มีแบบแผนเป็น “สงครามอาณานิคม” (Colonial Warfare) หรือเมื่อโลกมีความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรม ผนวกเข้ากับพัฒนาการของเทคโนโลยีทหารแล้ว เราจะเห็นการกำเนิดของ “สงครามเบ็ดเสร็จ” (Total Warfare) ในศตวรรษที่ 20 และเมื่อเทคโนโลยีนิวเคลียร์มีพัฒนาการอย่างมากในยุคสงครามเย็น สงครามที่เกิดขึ้นไม่สามารถทำการรบใหญ่ได้ ทำให้สงครามที่เกิดขึ้นมีลักษณะเป็น “สงครามจำกัด” (Limited Warfare) และเมื่อโลกในยุคปัจจุบันได้ก้าวสู่การปฏิวัติสารสนเทศ การสงครามของโลกก็มีทิศทางล้อไปกับการปฏิวัติดังกล่าว และทำให้เห็นถึงการมาของสงครามชุดใหม่ที่มีแบบแผนเป็น “สงครามข่าวสาร”…

เมแกนไม่ทน ฟ้องสื่ออังกฤษ ฐานแพร่จดหมายส่วนตัว-บิดเบือนเนื้อหา

Loading

ดัชเชสเมแกนฟ้องร้องแท็บลอยด์ของอังกฤษ ฐานเผยแพร่จดหมายส่วนพระองค์อย่างผิดกฎหมาย และบิดเบือนเนื้อหาในจดหมายด้วย สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า เมื่อ 1 ต.ค. 2562 เมแกน ดัชเชสแห่งซัสเซกซ์ กำลังดำเนินการฟ้องร้อง หนังสือพิมพ์แท็บลอยด์ ‘เมล ออน ซันเดย์’ (Mail on Sunday) ของสหราชอาณาจักร โดยกล่าวหาว่า สื่อเจ้านี้เผยแพร่จดหมายส่วนพระองค์เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา อย่างผิดกฎหมาย ในแถลงการณ์ประกาศเรื่องการฟ้องร้อง เจ้าชายแฮร์รี ดยุคแห่งซัสเซกซ์ กล่าวหา เมล ออน ซันเดย์ ว่า เจาะจงแก้ไขเนื้อหาในจดหมายเพื่อซ่อนคำโกหกของตัวเอง ในเรื่องที่รายงานเกี่ยวกับดัชเชสเมแกน “น่าเสียดายที่ภรรยาของข้าเจ้าตกเป็นเหยื่อรายล่าสุดของสื่อแท็บลอยด์อังกฤษ ที่รายงานข่าวเล่นงานบุคคลโดยไม่คำนึงถึงผลที่ตามมา เป็นการโฆษณาเผยแพร่ที่รุนแรงขึ้นตลอดช่วงปีที่ผ่านมา ตลอดช่วงการตั้งครรภ์ของภรรยาข้าพเจ้า และขณะที่เรากำลังเลี้ยงดูบุตรชายที่เพิ่งลืมตาดูโลกของเรา” เจ้าชายแฮร์รีระบุในแถลงการณ์ ดยุคแห่งซัสเซกซ์ระบอีกว่า “มาตรการทางกฎหมายครั้งนี้เกิดขึ้นจากเหตุการณ์หนึ่ง จากพฤติกรรมก่อกวนของแท็บลอยด์อังกฤษเจ้านี้ที่ดำเนินมาอย่างยาวนาน เนื้อหาของจดหมายส่วนตัวถูกเผยแพร่อย่างผิดกฎหมาย ในลักษณะตั้งใจสร้างความเสียหาย เพื่อควบคุมผู้อ่าน และขยายความพยายามในการสร้างความแตกแยกของสื่อเจ้านี้” ขณะที่สำนักงานกฎหมาย ‘ชิลลิงส์’ ซึ่งเป็นผู้แทนของดัชเชสเมแกน ระบุว่า พวกเขาเริ่มการประบวนการทางกฎหมายต่อ เมล ออน ซันเดย์ และบริษัทแม่อย่าง แอสโซซิเอตเตด…