สนามบินเนเธอร์แลนด์ปิดฉุกเฉิน หลังนักบินพลาดส่งสัญญาณเตือนจี้เครื่องบิน

Loading

วานนี้ (6 พฤศจิกายน) เกิดความชุลมุนที่ท่าอากาศยานสคิปโฮลในกรุงอัมสเตอร์ดัมของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสนามบินที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุดในทวีปยุโรป หลังมีการส่งสัญญาณเตือนจี้เครื่องบินจากเที่ยวบินของสายการบิน Air Europa ที่กำลังเตรียมขึ้นบินสู่จุดหมายในกรุงมาดริดของสเปน ส่งผลให้ตำรวจต้องรีบปฏิบัติการช่วยอพยพผู้โดยสารและลูกเรือออกจากเครื่องบิน พร้อมทั้งปิดสนามบินบางส่วน เพื่อทำการตรวจสอบและดำเนินมาตรการป้องกันความปลอดภัยตามขั้นตอน อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นไม่ถึง 1 ชั่วโมง ทางสายการบิน Air Europa ได้ประกาศว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นความผิดพลาดของหนึ่งในนักบินที่เผลอเปิดสัญญาณเตือนจี้เครื่องบินโดยไม่ได้ตั้งใจ “สัญญาณเตือนในเที่ยวบินอัมสเตอร์ดัม-มาดริด ช่วงบ่ายวันนี้ ถูกเปิดใช้งานด้วยความผิดพลาด และส่งผลให้มีการดำเนินการเพื่อรับมือเหตุจี้เครื่องบินที่สนามบิน แต่ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ผู้โดยสารทุกคนปลอดภัย และกำลังรอที่จะออกเดินทางในเร็วๆ นี้” สายการบินทวีตข้อความ การปิดสนามบินที่เกิดขึ้นสร้างความสับสนและหวั่นวิตกแก่ผู้โดยสารที่ไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น ขณะที่ยังมีหลายเที่ยวบินร่อนลงจอด และบางเที่ยวบินถูกกักไว้ที่ลานจอดเครื่องบินนานเกือบ 1 ชั่วโมง ทางการเนเธอร์แลนด์ระบุว่า เหตุการณ์นี้ถือเป็นสถานการณ์ร้ายแรงที่เรียกว่าสถานการณ์ GRIP-3 ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลกระทบใหญ่หลวงต่อประชาชน ขณะที่ยังไม่แน่ชัดว่ามีการส่งสัญญาณเตือนจี้เครื่องบินผิดพลาดได้อย่างไร ซึ่งทางการกำลังอยู่ระหว่างสอบสวน แต่จากเอกสารกฎระเบียบของสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติสหรัฐฯ (FAA) ระบุขั้นตอนส่งสัญญาณเตือนกรณีเกิดการจี้เครื่องบินว่า นักบินต้องพิมพ์รหัส 7500 ซึ่งเป็นรหัสสัญญาณดาวเทียมพิเศษก่อน จึงจะเปิดสัญญาณเตือนได้ หมายเหตุภาพ: เป็นแฟ้มภาพสนามบินสคิปโฮลจาก Getty Images ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นี้ ————————————– ที่มา…

ชาวคาตาลันชุมนุมประท้วงราชวงศ์สเปน

Loading

ชาวคาตาลันนับพันชุมนุมประท้วงราชวงศ์สเปน เผาพระฉายาลักษณ์กษัตริย์เฟลิเปที่ 6 เหตุไม่พอใจประเด็นเอกราชแคว้นคาตาลัน สำนักข่าว El PAIS สื่อท้องถิ่นสเปนรายงานเมื่อวันที่ 5 พ.ย.ที่ผ่านมา ว่าชาวบาร์เซโลน่าจำนวนหลายพันคนได้ชุมนุมประท้วงต่อต้านราชวงศ์สเปน จากการที่สมเด็จพระราชาธิบดีเฟลิเปที่ 6 พร้อมด้วยสมเด็จพระราชินีเลติเซีย เจ้าหญิงเลโอนอร์ เจ้าหญิงแห่งอัสตูเรียส และเจ้าหญิงโซเฟีย เสด็จพระราชดำเนินไปยังนครบาร์เซโลน่า ในการพระราชทานรางวัล Princess of Girona Awards รายงานระบุว่าผู้ชุมนุมซึ่งเป็นชาวคาตาลันได้รวมตัวกันอย่างน้อย 3 กลุ่มเดินขบวนไปตามถนนทั่วนครบาเซโลนา ได้มีการเผาพระบรมฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระราชาธิบดีเฟลิเปที่ 6 รวมถึงพร้อมใจชูป้ายข้อความประท้วงสถาบันกษัตริย์ของสเปน และมีการเผาธงชาติสเปน การเดินขบวนครั้งนี้นับเป็นการสืบเนื่องจากความไม่พอใจต่อราชวงศ์สเปนและรัฐบาลมาดริด จากกรณีความพยาลงประชามติแบ่งแยกแคว้นคาตาลันออกเป็นเอกราชเมื่อปี 2017 จนส่งผลให้เกิดความวุ่นวายทางการเมืองกระทั่งนำไปสู่การที่รัฐบาลมาดริดต้องใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญเข้าควบคุมการเมืองของแคว้นคาตาลัน ความไม่พอใจของชาวคาตาลันยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นจากการที่เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม สมเด็จพระราชาธิบดีเฟลิเปที่ 6 ทรงมีพระราชดำรัสต่อเหตุการณ์ในคาตาลันว่า การลงประชามติเอกราชของคาตาลันไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ อีกทั้งเป็นการละเมิดต่อหลักประชาธิปไตยและความเป็นเอกภาพของประเทศ พระบรมราชดำรัสดังกล่าวนั้นทำให้ชาวคาตาลันยิ่งมองว่าราชวงศ์สเปนไม่แยแสต่อข้อเรียกร้องของพวกเขา และยิ่งทำให้มีการต่อต้านราชวงศ์สเปนในแคว้นคาตาลันมากขึ้น Ernest Maragall แกนนำกลุ่มสนับสนุนสาธารณรัฐคาตาลันกล่าวว่า “ที่เราชุมนุมวันนี้ เพราะเราต้องการคาตาลันที่เป็นสาธารณรัฐ เพราะนั่นคือประชาธิปไตยที่แท้จริงของชาวคาตาลัน กษัตริย์และสถาบันกษัตริย์ไม่มีค่าใดๆในสายตาเราอีกแล้ว” ด้านผู้สนับสนุนการประท้วง โดยเฉพาะผู้นำกลุ่มสาธารณรัฐคาตาลันนิยมฝ่ายซ้าย เอร์เนสต์ มารากัลล์…

สหรัฐฯ ตั้งข้อหาอดีตพนง.ทวิตเตอร์ฐานเป็น ‘สายลับ’ ให้ราชวงศ์ซาอุฯ

Loading

เอเจนซีส์ – กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ประกาศดำเนินคดีอาญากับอดีตพนักงานทวิตเตอร์ 2 คน และผู้ต้องหารายที่ 3 ฐานทำงานเป็น “สายลับ” ให้ซาอุดีอาระเบีย โดยมีการเจาะข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ทวิตเตอร์ส่งให้แก่เจ้าหน้าที่ซาอุฯ เพื่อแลกกับค่าตอบแทน เอกสารคำฟ้องที่ยื่นต่อศาลแขวงซานฟรานซิสโกวานนี้ (6 พ.ย.) ระบุว่า อาลี อัลซาบาเราะห์ (Ali Alzabarah) และ อะหมัด อบูอัมโม (Ahmad Abouammo) ซึ่งเป็นอดีตพนักงานทวิตเตอร์ และ อาเหม็ด อัลมูไตรี (Ahmed Almutairi) ซึ่งทำงานให้ราชวงศ์ซาอุฯ ถูกตั้งข้อหาจารกรรมข้อมูลให้กับรัฐบาลริยาดโดยไม่ได้ขึ้นทะเบียนสายลับต่างชาติ อบูอัมโม ได้เจาะบัญชีทวิตเตอร์ของผู้วิจารณ์ราชวงศ์ซาอุฯ คนหนึ่งหลายครั้งเมื่อช่วงต้นปี 2015 โดยมีอยู่ครั้งหนึ่งที่เขาเข้าไปดูอีเมลแอดเดรสและเบอร์โทรศัพท์ของผู้ใช้คนดังกล่าว นอกจากนี้ยังทำการเจาะบัญชีของผู้โพสต์ข้อความวิจารณ์ราชวงศ์ซาอุฯ รายที่ 2 เพื่อสืบว่าบุคคลดังกล่าวเป็นใคร “ข้อมูลดังกล่าวอาจถูกนำไปใช้เพื่อระบุตัวตนและที่อยู่ของผู้ใช้ทวิตเตอร์ซึ่งโพสต์ข้อความเหล่านี้” กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ระบุ เอกสารคำฟ้องระบุว่า ผู้ต้องหาทั้ง 3 คนได้รับการชี้นำจากเจ้าหน้าที่ซาอุฯ คนหนึ่ง และเจ้าหน้าที่คนนี้ทำงานให้กับ ‘สมาชิกราชวงศ์หมายเลข 1’ ซึ่งหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์รานงานว่าหมายถึง…