ศาลเข้ม!รักษาความปลอดภัย เพิ่ม’คอร์ทมาแชล’จาก 35 เป็น 300 กำชับทุกศาลตรวจวงจรปิด-สแกนอาวุธ

Loading

“สราวุธ” เลขาฯ ศาลยุติธรรม ระบุเตรียมเพิ่มกำลัง คอร์ทมาแชล จาก 35 เป็น 300 คน แก้ปัญหากำลังรักษาความปลอดภัยในศาล พร้อมประเมินความเสี่ยงแต่ละพื้นที่จัดกำลังหมุนเวียน กำชับทุกศาลตรวจวงจรปิด-เครื่องตรวจอาวุธพร้อมใช้ จากกรณีที่เกิดเหตุผู้ต้องขังคดียาเสพติด 3 คน ได้หนีจากห้องควบคุมในศาลจังหวัดพัทยา โดยใช้อาวุธปืน-มีดที่ลักลอบเข้าไป ทำร้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยในศาลได้รับบาดเจ็บ เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน ที่ผ่านมา จนล่าสุดช่วงเช้าวันนี้ (12 พ.ย.) ที่ผ่านมามีผู้ก่อเหตุยิงคู่ความในคดีเจ้าหน้าที่ศาล และทนายความ ภายในห้องพิจารณาของศาลจังหวัดจันทบุรี เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา ระหว่างรอกระบวนพิจารณาคดีพิพาทมรดกที่ดิน โดยมีรายงานว่า มีผู้เสียชีวิตด้วย 2 คนเป็นทนายความ และผู้ถูกยิงบาดเจ็บ 3 คนรวมผู้ก่อเหตุด้วยซึ่งถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยบริเวณ ใช้อาวุธปืนประจำกายยิงสกัดได้รับบาดเจ็บหลังก่อเหตุดังกล่าว เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน นายสราวุธ เบญจกุล เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ได้กล่าวถึงการวางมาตรการรักษาความปลอดภัยรัดกุมบริเวณศาลว่า จากเหตุที่เกิดที่ผ่านมา เรากำลังตรวจสอบให้ทราบสาเหตุที่แท้จริง เพื่อมาตรการความเข้มงวดรักษาความปลอดภัยและความเรียบร้อยบริเวณศาลที่รัดกุม โดยการดูแลความเรียบร้อยในศาลมีด้วยกัน 3 ส่วน ส่วนผู้ต้องขังจะมีเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์จากกรมราชทัณฑ์ เจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องที่จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) ซึ่งมาปฏิบัติหน้าที่ร่วมดูแลความปลอดภัยบริเวณศาล และในส่วนของศาลเองมีเจ้าหน้าที่…

10 ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของข้อมูลที่มีผลต่อบริษัท

Loading

ช่วงไม่กี่ปีนี้ บุคคลากรด้านไอทีอย่างพวกเรามักจะได้ยินข่าวคราวเกี่ยวกับข้อมูลรั่วไหลของบริษัทต่างๆ กันอยู่ตลอด แม้แต่ในไทยเองก็ตาม จะเห็นว่าการเก็บรักษาข้อมูลให้ปลอดภัยนั้นนับเป็นเรื่องยากและการป้องกันระวังรักษาข้อมูลจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ในปัจจุบันก็ยากยิ่งกว่า แต่ก็เป็นเรื่องที่องค์กรหลีกเลี่ยงไม่ได้และหลายๆ แห่งก็มีความตื่นตัวในการหาโซลูชันส์ เพื่อมาช่วยป้องกันข้อมูลซึ่งถือว่าเป็นทรัพยากรอันมีค่าในแง่ของธุรกิจของตน และเพื่อตอบสนองกับพรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและพรบ.ไซเบอร์ฉบับปี 2562 ที่เพิ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมานี้ โดยระบุไว้ว่าให้เวลาหน่วยงานต่างๆ เตรียมความพร้อมระบบและบุคลากรเป็นเวลา 1 ปี ดังนั้นการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลจึงถือเป็นประเด็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดสำหรับทุกๆบริษัทสำหรับการมุ่งหน้าสู่ปี 2020 อย่างไรก็ดีภัยคุกคามทางไซเบอร์นั้นก็มีหลากหลายประเภทซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงรุนแรงมากน้อยต่างกัน บริษัทสามารถดำเนินการเสริมความเข้มแข็งด้านความปลอดภัยของระบบได้หลากหลายรูปแบบ แต่นี่คือความเสี่ยงด้านข้อมูลส่วนบุคคลสิบข้อที่อาจเป็นอุปสรรคต่อหน่วยงานของคุณในปี 2020 1. การเผยแพร่ข้อมูลโดยไม่ได้ตั้งใจ จริงอยู่ที่อาชญากรไซเบอร์อาจเป็นจำเลยหลักที่เข้ามาขโมยข้อมูล แต่จากข่าวที่เกี่ยวกับข้อมูลรั่วไหลหลายๆครั้งกลับเกิดจากความประมาทเลินเล่อของพนักงานในองค์กรเองที่ส่งข้อมูลออกไปภายนอก 2. ทีมรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ทำงานหนักเกินไป การมีบุคลากรจำกัด หรือความรู้ความสามารถที่จำกัดทำให้ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเต็มที่หรือหนักเกินไป ไม่สามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่างๆได้ทันท่วงที 3. การโจรกรรมข้อมูลโดยพนักงาน คล้ายกับข้อแรกที่กล่าวมาแล้ว รายงานการคุกคามภายในของ Verizon ปี 2019 พบว่า 57% ของการที่ข้อมูลรั่วไหลมาจากคนใน และ61% ของพนักงานเหล่านั้นเป็นเจ้าหน้าที่ทั่วไป ทว่ายังถือเป็นโชคดีที่มีโซลูชันส์สำหรับป้องกันข้อมูลรั่วไหลซึ่งบริษัทสามารถจัดหามาได้ 4. Ransomware การโจมตีเหล่านี้ยังคงอยู่และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หน่วยงานที่เป็นธุรกิจขนาดเล็กถึงขนาดกลาง (SMB) มักตกเป็นเหยื่อของการเรียกค่าไถ่(คืน)ข้อมูลสำคัญ การโจมตีผ่าน ransomware ส่วนใหญ่เริ่มต้นที่ระดับพนักงาน จากการถูกหลอกลวงแบบฟิชชิ่ง 5. การตั้งรหัสผ่านไม่ปลอดภัยพอ เมื่อเร็วๆนี้ทางกูเกิ้ลได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับข้อมูลการล็อกอิน และสรุปว่ารหัสผ่านสำหรับการล็อกอินในอินเตอร์เน็ตนั้นเป็นจุดอ่อนที่จะนำไปสู่การขโมยข้อมูลในองค์กร…

ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองสหรัฐฯ แพ้คดีการค้นและยึดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์โดยไม่มีข้อสงสัย, หลังจากนี้ต้องแสดงเหตุอันสมควร

Loading

EFF และ ACLU สององค์กรไม่หวังผลกำไรด้านสิทธิการแสดงออกชนะคดีที่ฟ้องร้องกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ (DHS) พร้อมกับหน่วยงานดูแลชายแดน CBP (U.S. Customs and Border Protection) และ ICE (U.S. Immigration and Customs Enforcement) จากการตรวจค้นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้เดินทางเข้าประเทศจำนวน 11 รายโดยไม่สามารถแจ้งเหตุผลอันสมควรได้ การตรวจค้นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือหรือโน้ตบุ๊ก มีมากขึ้นเรื่อยๆ ในสหรัฐฯ โดยปี 2018 ที่ผ่านมามีการตรวจค้นกว่า 33,000 ครั้ง เพิ่มขึ้นสี่เท่าตัวในห่วงสามปี การตรวจค้นครั้งหนึ่งที่เป็นข่าวก่อนหน้านี้คือ Ismail B. Ajjawi นักศึกษาปีหนึ่งของฮาวาร์ดที่ถูก CBP คุมตัวขณะเดินทางเข้าประเทศ เมื่อตรวจค้นโทรศัพท์และโน้ตบุ๊ก เจ้าหน้าที่พบโพสต่อต้านสหรัฐฯ จากเพื่อนของ Ismail แม้ตัว Ismail ยืนยันว่าไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับโพสนั้น เขาก็ถูกยกเลิกวีซ่าและส่งตัวกลับเลบานอน ———————————————- ที่มา : Blognone / 13 November 2019…