ศาลสหรัฐฯ สั่งจำคุก 8 เดือน ‘หญิงจีน’ บุกรุกรีสอร์ตหรูของ ‘ทรัมป์’ ในฟลอริดา

Loading

เอเอฟพี – ศาลสหรัฐฯ พิพากษาจำคุกหญิงชาวจีนเป็นเวลา 8 เดือนวานนี้ (25 พ.ย.) ในความผิดฐานบุกรุกเข้าไปในรีสอร์ต มาร์-อา-ลาโก ของประธานาธิบดี โดนัล ทรัมป์ ในรัฐฟลอริดา พร้อมกับโทรศัพท์มือถือหลายเครื่อง และธัมป์ไดรฟ์ที่ติดมัลแวร์อีก 1 อัน จาง หยูจิง (Zhang Yujing) วัย 33 ปี ถูกจับเมื่อวันที่ 30 มี.ค. ที่รีสอร์ตหรูของ ทรัมป์ ในย่านปาล์มบีช ซึ่งขณะนั้นผู้นำสหรัฐฯ กำลังออกรอบตีกอล์ฟอยู่ด้วย ต่อมาในเดือน ก.ย. จาง ถูกศาลตัดสินว่ามีความผิดฐานบุกรุกและให้การเท็จ หนังสือพิมพ์ไมอามีเฮรัลด์รายงานว่า ผู้พิพากษาศาลเมืองฟอร์ตลอเดอร์เดล รัฐฟลอริดา ได้สั่งจำคุกหญิงชาวจีนรายนี้เป็นเวลา 8 เดือน และเมื่อพ้นโทษก็ให้ส่งตัวแก่เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองเพื่อทำการเนรเทศ เนื่องจาก จาง ติดคุกมาแล้วหลายเดือนตั้งแต่ถูกหน่วยซีเคร็ตเซอร์วิสจับกุมที่มาร์-อา-ลาโก จึงยังเหลือเวลารับโทษอีกเพียงราวๆ 1 สัปดาห์ สาวชาวเซี่ยงไฮ้รายนี้ถูกจับหลังจากที่เดินเข้าไปที่จุดตรวจของซีเคร็ตเซอร์วิสเพื่อจะขออนุญาตเข้าไปในรีสอร์ต โดยอ้างว่าเป็นสมาชิก และจะเข้าไปใช้สระว่ายน้ำ แต่เจ้าหน้าที่กลับไม่พบชื่อของเธออยู่ในบัญชีสมาชิกที่ได้รับอนุญาตให้เข้าใช้บริการ และเธอก็ไม่ได้พกชุดว่ายน้ำมาด้วย…

แนวคิดในการนำเอไอมาใช้กับข้อมูลส่วนบุคคล

Loading

โดย จรัล งามวิโรจน์เจริญ Chief Data Scientist & VP of Data Innovation Lab ในโลกปัจจุบัน เรามีข้อมูลที่ถูกสร้างและถูกเก็บจำนวนมาก โดยมาจากสิ่งต่างๆ รอบตัวเรา เช่น พฤติกรรมการใช้งานฟังก์ชันต่างๆ จากโทรศัพท์มือถือและจากในโลกอินเทอร์เน็ต ที่ถูกแปลงไปอยู่ในโลกดิจิทัล เพื่อช่วยให้เอไอและแมชชีนเลิร์นนิง (AI & machine learning) ทำการประมวลผลบางอย่าง เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อภาคธุรกิจและสังคม ทั้งในด้านของการช่วยตัดสินใจ การคาดการณ์ (prediction) การทำงานอย่างอัตโนมัติ (automation) โดยองค์กรอาจนำเอาข้อมูลส่วนตัวมาร่วมใช้วิเคราะห์ตัดสินใจควบคู่กันไปด้วย เพื่อทำให้ลูกค้ามีประสบการณ์การใช้งานที่ดี (user experience) และอยู่ใช้บริการกับองค์กรได้นานยิ่งขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าจะช่วยสร้างรายได้ให้กับธุรกิจมากยิ่งขึ้นเช่นกัน จากประโยชน์ของการนำข้อมูลส่วนบุคคลมาใช้เพื่อประโยชน์ขององค์กรหรือภาคธุรกิจต่างๆ นี้เอง ทำให้ช่วงที่ผ่านมาหลายๆ ประเทศ รวมทั้งประเทศไทยได้ออกกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ทำให้องค์กรและผู้ประกอบการเกิดความตระหนักและต้องคิดให้รอบคอบมากขึ้นในกรณีที่ต้องการนำข้อมูลต่างๆ มาใช้งาน ซึ่งแน่นอนว่าการที่จะทำ personalization ที่ดีได้นั้น ต้องอาศัยข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคลจำนวนมาก แต่จะทำอย่างไรให้การนำข้อมูลมาใช้ยังคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล ในขณะที่ก็ให้ประโยชน์กับผู้ใช้งานด้วยเช่นกัน เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายมาก โดยองค์กรหรือผู้ประกอบการอาจจะเป็นผู้ที่ควบคุมหรือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าหรือผู้ใช้ได้ ภายใต้ข้อบังคับของกฎหมาย บทความนี้ผมอยากนำเสนอแนวคิด…