จำคุก 1 ปีหญิงออสเตรเลีย โกหก’resume’เพื่อให้ได้งานดีๆ

Loading

ซีเอ็นเอ็น – ผู้หญิงคนหนึ่ง ซึ่งให้ข้อมูลเท็จใน Resume (เอกสารสรุปข้อมูลส่วนตัว และประวัติการทำงานของผู้สมัครงานเพื่อใช้ประกอบการสมัครงาน) เพื่อให้ได้งานที่มีค่าตอบแทนระดับสูงในรัฐบาลท้องถิ่นแห่งหนึ่งของออสเตรเลีย ถูกพิพากษาจำคุกเป็นเวลา 1 ปี เวโรนิกา ฮิลดา เทริโอ ถูกพิพากษาเมื่อวันอังคาร (3 ธ.ค.) ว่ามีความผิดฐานหลอกลวง, ไม่ซื่อสัตย์และปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ในคดีที่เธอยื่นใบสมัครในตำแหน่งหัวหน้ากองสารสนเทศของรัฐบาลท้องถิ่นแห่งหนึ่ง ซึ่งมีเงินเดือนปีละ 270,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (ราว 5.5 ล้านบาท) ทรูโด ทำงานในตำแหน่งดังกล่าว สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีของรัฐเซาท์ออสเตรเลีย เป็นเวลากว่า 1 เดือนและรับเงินราวๆ 33,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (ราว 6.8แสนบาท) ก่อนถูกไล่ออก ทั้งนี้เธอยอมรับผิดทุกข้อกล่าวหาและต้องชดใช้โทษด้วยการถูกจำคุกเป็นเวลา 25 เดือน โดยจะไม่มีสิทธิ์ได้รับทัณฑ์บนเป็นเวลา 1 ปี ระหว่างการพิจารณาคดี ศาลได้รับฟังว่าเธอยื่นเรซูเมฉบับปั่นแต่งไปยังกระทรวง โดยให้ข้อมูลปลอมๆเกี่ยวกับการศึกษาและประวัติการทำงานที่ผ่านมา และหลังจากถูกเรียกไปสัมภาษณ์แล้ว เธอยังแอบอ้างเป็นอดีตนายจ้างของตนเองระหว่างถูกตรวจสอบประวัติการทำงานจากบุคคลอ้างอิงอีกด้วย (reference check) ซึงเธอให้การรับรองผลงานของตนเองว่า “ยอดเยี่ยม” อย่างไรก็ตามการโกหกไม่จบแค่นั้น ศาลยังได้รับฟังอีกว่า เทริโอ…

สถานทูตไทยในฝรั่งเศสเตือนคนไทยติดตามข่าว-เลี่ยงที่ชุมนุม หลังประท้วง-นัดหยุดงานทั่วประเทศ

Loading

เฟซบุ๊กของสถานเอกอัครราชทุตไทยในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่่อวันที่ 5 ธันวาคม 2562 นอกจากการหยุดและลดให้บริการของระบบขนส่งมวลชนแล้ว คาดว่าจะมีการเดินประท้วงของสหภาพแรงงานรวมกว่า 200 กลุ่มตามเมืองต่าง ๆ ในฝรั่งเศส (ในกรุงปารีส คือ เส้นทางระหว่างสถานี Gare du Nord – Place de la République – Place de la Nation) โดยจะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจจำนวนมากกระจายกำลังเพื่อควบคุมสถานการณ์ฃ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีสจึงขอแนะนำให้คนไทยในฝรั่งเศสติดตามข่าวสารและหลีกเลี่ยงบริเวณที่จะมีการชุมนุม รวมทั้งปฏิบัติตามมาตรการรักษาความปลอดภัยของทางการฝรั่งเศสอย่างเคร่งครัด หากต้องการความช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉิน สามารถติดต่อหมายเลข +33 6 46 71 96 94 และ +33 6 03 59 97 05 ก่อนหน้านี้สถานทูตได้แจ้งความคืบหน้าการหยุดให้บริการของระบบขนส่งมวลชนในฝรั่งเศส ตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม รายละเอียดดังนี้ 1. กรุงปารีส…

การรวบรวมพยานหลักฐานในคดีอาชญากรรมคอมพิวเตอร์

Loading

สรชา สุเมธวานิชย์, ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ ศูนย์ศึกษากฎหมายกับเทคโนโลยี ในคดีอาญา กฎหมายกำหนดให้โจทก์ต้องนำสืบพยานหลักฐานถึงขนาดที่ศาลเชื่อว่าจำเลยเป็นผู้กระทำผิดโดย “ปราศจากข้อสงสัย” หากโจทก์นำสืบไม่ได้ตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด ศาลจะยกฟ้อง และพิพากษาว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดตามที่โจทก์กล่าวหา[1] ดังนั้น การรวบรวมพยานหลักฐานของพนักงานสอบสวนจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะพยานหลักฐานใดที่ได้มาโดยไม่ถูกต้องตามกระบวนการของกฎหมายย่อมไม่สามารถนำมาพิจารณาในชั้นศาลได้ สำหรับคดีที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ พยานหลักฐานที่ผู้เสียหายมีเมื่อนำคดีมาแจ้งความ สามารถแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ[2] คือ 1. คดีที่รู้ตัวผู้กระทำความผิดชัดเจน 2. คดีที่พอจะมีหลักฐานให้ตามสืบได้บ้างว่าผู้กระทำความผิดเป็นใคร 3. คดีที่ไม่รู้ตัวผู้กระทำความผิดเลย ผู้เสียหายทราบแต่เพียงว่าตนถูกละเมิดสิทธิ ซึ่งจำนวนและคุณภาพของพยานหลักฐานที่ผู้เสียหายมีนั้นจะส่งผลต่อการรวบรวมพยานหลักฐานของพนักงานสอบสวนด้วย การสืบหาพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์นั้นผู้กระทำผิดมักจะปฏิบัติการผ่านทางแพลตฟอร์ม (platform) บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น Social Network หรือ E-mail ซึ่งกระบวนการสืบหาผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์สามารถกระทำได้หลายวิธี ทั้งการสืบจาก IP Address หรือตรวจสอบจากข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ (Traffics data) เพื่อให้ทราบว่าต้นทางที่ส่งมาจากสถานที่ใด รวมถึงกระบวนการที่มีความซับซ้อนอย่างเช่น กระบวนการสร้างค่า Hash  ด้วย เมื่อเกิดการกระทำความผิดขึ้นผู้เสียหายส่วนใหญ่มักจะนำหลักฐานที่เป็นเพียงรูปภาพที่เกิดจากการ Capture ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์ของตนเองมาเป็นหลักฐานในการแจ้งความ ดำเนินคดี[3] ซึ่งภาพเหล่านั้นเป็นสิ่งที่นำมาใช้ในการสืบหาผู้กระทำผิดได้ยาก หรือแทบจะระบุตัวผู้กระทำความผิดไม่ได้เลย จึงต้องมีการนำเอารายละเอียดที่เก็บอยู่ใน log file…