จีนเริ่มใช้ระบบศาลอัจฉริยะสำหรับคดีพิพาทออนไลน์

Loading

A virtual judge hears litigants in a case before a Chinese “internet court” in Hangzhou, China. (Courtesy: AFP/YouTube video) ในความพยายามเพื่อลดปริมาณงานสำหรับมนุษย์และเพิ่มประสิทธิภาพรวมทั้งความเร็วของกระบวนการในศาล จีนเริ่มนำระบบศาลออนไลน์หรือที่เรียกว่าศาลอัจฉริยะมาใช้ที่กรุงปักกิ่งและเมืองกวางโจวหลังจากที่ได้ทดลองใช้เมืองหางโจวเมื่อปี 2560 จากการที่เมืองหางโจวเป็นศูนย์กลางของบริษัทเทคโนโลยีของจีน โดยในสมาร์ทคอร์ทหรือศาลอัจฉริยะที่ใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์เข้าช่วยนี้ ผู้ร้องทุกข์สามารถลงทะเบียนคำร้องของตนทางอินเทอร์เน็ตและเข้าร่วมกระบวนการไต่สวนออนไลน์ ซึ่งศาลจะสื่อสารเรื่องราวและคำวินิจฉัยต่างๆ ให้กับคู่กรณีด้วยการส่งข้อมูลทางอุปกรณ์ดิจิทัล นับตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงตุลาคมปีนี้ มีชาวจีนเข้าใช้บริการศาลออนไลน์รวมแล้วกว่า 3 ล้าน 1 แสนครั้งและมีชาวจีนกว่า 1 ล้านคนพร้อมทั้งนักกฎหมายอีกกว่า 7 หมื่น 3 พันคนที่ลงทะเบียนร่วมใช้บริการเช่นกัน ในการสาธิตระบบดังกล่าวต่อสื่อมวลชน เจ้าหน้าที่ศาลออนไลน์ที่เมืองหางโจวแสดงกระบวนการไต่สวนซึ่งคู่กรณีสื่อสารกับผู้พิพากษาเสมือนจริงที่ทำงานด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ โดยผู้พิพากษาเสมือนจริงได้ถามโจทก์ว่าจำเลยมีข้อคัดค้านใดในหลักฐานที่ฝ่ายโจทก์ยื่นให้ศาลพิจารณาหรือไม่ อย่างไรก็ตามแม้จะมีการใช้ผู้พิพากษาเสมือนจริงที่ขับเคลื่อนด้วยระบบ AI ก็ตามแต่ก็ยังมีผู้พิพากษาที่เป็นคนจริงคอยสังเกตกระบวนการและตรวจสอบคำวินิจฉัยที่สำคัญอยู่ ข้อดีอย่างหนึ่งของระบบศาลออนไลน์หรือสมาร์ทคอร์ทของจีนก็คือระบบศาลดังกล่าวสามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง 7 วันต่อสัปดาห์โดยไม่ถูกจำกัดอยู่เฉพาะเวลาราชการ และการยื่นคำร้องหรือการส่งเอกสารหลักฐานก็สามารถทำได้ออนไลน์โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปถึงศาลด้วย อย่างไรก็ตามตอนนี้ศาลออนไลน์ที่เมืองหางโจวรับพิจารณาเฉพาะคดีความเกี่ยวกับระบบดิจิทัลเท่านั้น เช่น ข้อพิพาทเรื่องการค้าทางระบบอินเทอร์เน็ต การละเมิดลิขสิทธิ์…

ประท้วงกฎหมายสถานะพลเมืองอินเดียลุกลามรุนแรงทั่วประเทศ

Loading

India Citizenship Law Protest การประท้วงต่อต้านกฎหมายสถานะพลเมืองฉบับใหม่ของอินเดียลุกลามไปทั่วประเทศในวันพุธ ท่ามกลางการปราบปรามของรัฐบาล การประท้วงปะทุขึ้นในนครมุมไบ เมืองเชนไน เมืองกาฮูอาตี และในรัฐทมิฬนาฎู นอกจากนี้ยังลุกลามไปถึงเมืองศรีนาการ์ เมืองโกชิ และรัฐราชสถาน ที่กรุงนิวเดลี ผู้ประท้วงหลายร้อยคนเดินขบวนด้านหน้ามหาวิทยาลัย Jamia Millia Islamia ที่ซึ่งเกิดการปะทะกันระหว่างตำรวจกับนักศึกษาเมื่อวันอาทิตย์ โดยทางการได้สั่งจำกัดการชุมนุมของชาวมุสลิมในกรุงนิวเดลีหลังจากมีการเผาป้อมตำรวจและรถดยสารหลายคัน ส่วนที่รัฐอัสสัมทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เจ้าหน้าที่ได้สั่งปิดเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและประกาศเคอร์ฟิว บรรดาผู้นำพรรคฝ่ายค้านอินเดียปลุกระดมให้เกิดการประท้วงในหลายเมืองตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว ท่ามกลางความกังวลของประชาชนในรัฐทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือว่ากฎหมายฉบับใหม่จะทำให้มีผู้อพยพชาวฮินดูได้รับสถานะพลเมืองอินเดียมากขึ้น กฎหมายสถานะพลเมืองฉบับใหม่ของอินเดียกำหนดไว้ว่า ผู้อพยพจากประเทศเพื่อนบ้านสามประเทศ คือ อัฟกานิสถาน ปากีสถาน และบังกลาเทศ ที่นับถือศาสนาที่ไม่ใช่ศาสนาหลักในประเทศเหล่านั้นรวม 6 ศาสนา เช่น ฮินดู ซิกห์ และคริสต์ จะได้รับสถานะพลเมืองอินเดียเร็วขึ้น แต่ไม่รวมอิสลาม รัฐบาลอินเดียปฏิเสธว่าไม่มีการเลือกปฏิบัติต่อชาวมุสลิม แต่เป็นเพราะชาวมุสลิมไม่ใช่ชนกลุ่มน้อยในประเทศเหล่านั้นซึ่งประชากรส่วนใหญ่นับถืออิสลาม บรรดาองค์กรอิสลาม กลุ่มสิทธิมนุษยชน และพรรคการเมืองฝ่ายค้าน ต่างต่อต้านกฎหมายฉบับนี้โดยบอกว่าเป็นการเลือกปฏิบัติต่อชาวมุสลิม และว่าเป็นความพยายามของนายกรัฐมนตรีนเรนธรา โมดี ที่ต้องการลดความสำคัญของศาสนาอิสลามในอินเดีย ซึ่งนายกฯ โมดี ได้ออกมาปฏิเสธ ชาวมุสลิมในอินเดียจำนวนมากต่างบอกว่าพวกตนรู้สึกเหมือนเป็นพลเมืองชั้นสอง หลังจากที่นายกฯ โมดี ซึ่งนับถือศาสนาฮินดู…