โดย : KANYAPORN PHUAKVISUTHI
ผู้เชี่ยวชาญเตือนบริษัทข้ามเสี่ยงได้รับความเสียหายจาก “สงครามไซเบอร์” ระหว่างสหรัฐกับอิหร่าน แม้การที่ฝ่ายอเมริกันสังหารนายพลระดับสูงของอิหร่าน จะไม่นำไปสู่ความขัดแย้งทางทหารอย่างเต็มรูปแบบก็ตาม
นายเกร็ก ออสติน หัวหน้าฝ่ายโครงการความไซเบอร์ อวกาศ และความขัดแย้งในอนาคน สถาบันความมั่นคงศึกษาระหว่างประเทศ ในสิงคโปร์ กล่าวว่า แม้ในตอนนี้ ทั้งสหรัฐ และอิหร่านจะถอยคนละก้าวไม่มีการปฏิบัติการทางทหารเพิ่มเติม แต่บรรดาตลาดซื้อขายเงินดิจิทัล โครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน และซัพพลายเชนของบริษัทอเมริกัน และซาอุดีอาระเบีย ต่างมีความเสี่ยงที่จะตกเป็นเป้าการโจมตีของกลุ่มแฮคเกอร์ที่ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่าน และต้องการที่จะจัดการทางอ้อมต่อการคว่ำบาตรของสหรัฐ และสร้างความวุ่นวายให้กับเครือข่ายของรัฐบาล และบริษัท
“ชาวอิหร่านแสดงให้เห็นมาตั้งแต่ปี 2555 แล้วว่า พวกเขาสามารถมุ่งไปยังเป้าหมายที่มีมูลค่าสูงอย่างมากได้ ด้วยการโจมตีทางไซเบอร์เพื่อก่อกวน ซึ่งการเผชิญหน้าในโลกไซเบอร์ระหว่างอิหร่านกับสหรัฐ ที่มากอยู่แล้ว จะยิ่งเพิ่มความรุนแรงขึ้นไปอีก”
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา บรรดาแฮคเกอร์อิหร่านต่างดำเนินการโจมตีเป้าหมายเอกชนในโอกาสต่างๆ จำนวนหนึ่ง โดยในปี 2555 กลุ่มที่เรียกตัวเองว่า “Cutting Sword of Justice” ได้ออกมาอ้างความรับผิดชอบในการโจมตีทางไซเบอร์ “ซาอุดี อาแรมโก” บริษัทน้ำมันแห่งชาติของซาอุดีอาระเบีย ที่ทำให้คอมพิวเตอร์ราว 30,000 เครื่องใช้งานไม่ได้ และพนักงานของซาอุดี อาแรมโก ต้องหันกลับไปใช้เครื่องพิมพ์ดีด และเครื่องโทรสาร นานเกือบสัปดาห์ ทั้งยังทำให้บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่รายนี้ต้องเปลี่ยนคอมพิวเตอร์ใหม่ืทั้งหมด สถานการณ์ที่รายงานข่าวระบุว่า ดันให้ราคาคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะพุ่งสูงขึ้น
ต่อมาในปี 2556 เกิดเหตุปล่อยมัลแวร์โจมตึระบบคอมพิวเตอร์ในลาสเวกัส แซนด์ ของนายเชลดอน อเดลสัน มหาเศรษฐี ที่ได้รับการหนุนหลังจากอิสราเอล จนทำให้เซิร์ฟเวอร์ของกาสิโนเสียไปราว 2 ใน 3 และธุรกิจเสียหายหลายสิบล้านดอลลาร์ หลังจากที่หลายเดือนก่อนหน้านั้น นายอเดลสันได้กล่าวในที่สาธารณะว่าสหรัฐควรจะขู่อิหร่าน ด้วยการจุดชนวนอาวุธนิวเคลียร์ในทะเลทราย ซึ่งสหรัฐกล่าวหาการโจมตีครั้งนั้นว่า เป็นฝีมือของแฮกเกอร์อิหร่าน<
ขณะที่นายจิม เราส์ รองประธานบริหารฝ่ายปฏิบัติการไซเบอร์ จากโฮรางอี บริษัทด้านการรักษาความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ ในสิงคโปร์ กล่าวว่า การโจมตีโดยตรงต่อหน่วยงานราชการสหรัฐ เป็นเรื่องที่ทำได้ยากขึ้นทุกๆ วัน ทำให้แฮกเกอร์เหล่านี้ตามไล่ล่าบริษัทที่ได้รับมอบฉันทะ ซัพพลายเชน และผู้ค้าฝ่ายที่ 3
“และสิ่งที่เหมือนกันกับพันธมิตรสหรัฐ ไม่ว่าจะเป็นอิรัก หรือรัฐบาลสหราชกาณาจักร หรือแม้กระทั่งรัฐบาลญี่ปุ่นก็ตาม พวกเขาจะพยายามเพิ่มโอกาสในการโจมตี เพื่อหาจุดอ่อนในการเชื่อมโยงห่วงโซ่เหล่านี้”
บรรดาเจ้าหน้าที่สืบสวน และผู้เชี่ยวชาญ ยังบ่งชี้ถึงจุดอ่อนที่อาจตกเป็นเป้าหมายการโจมตีจากกลุ่มแฮคเกอร์อิหร่าน รวมถึง แหล่งเอาท์ซอร์สของบริษัทต่างๆ และบริษัทสนับสนุนเทคโนโลยีจากระยะทางไกล ที่สามารถเข้าถึงผู้ดำเนินธุรกิจต่างๆ โลจิสติกส์ขนาดใหญ่ และผู้จัดหาบริการต่างๆ ให้กับฐานทัพสหรัฐในเอเชีย หรือแม้กระทั่งซัพพลายเชนของบริษัทเทคโนโลยีอเมริกัน
—————————————————-
ที่มา : The Bangkok Insight / 9 มกราคม 2563
Link : https://www.thebangkokinsight.com/269971/