ญี่ปุ่นจัดตั้ง “หน่วยอวกาศ” รับมือภัยคุกคามจากเทคโนโลยีอวกาศ

Loading

An H-2A rocket carrying an intelligence-gathering satellite successfully takes off from the Tanegashima Space Center in Kagoshima Prefecture, Japan in this photo taken by Kyodo February 27, 2018. นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ชินโซ อาเบะ ประกาศในวันจันทร์ว่า ญี่ปุ่นจะจัดตั้งหน่วยป้องกันทางอวกาศเพื่อปกป้องประเทศจากภัยคุกคามต่าง ๆ ในช่วงเวลาที่ประเทศที่เป็นศัตรูกับญี่ปุ่นกำลังพัฒนาขีปนาวุธและเทคโนโลยีด้านอวกาศสมัยใหม่กันอย่างคึกคัก “หน่วยปฏิบัติการด้านอวกาศของญี่ปุ่น” หรือ Space Domain Mission Unit จะอยู่ในสังกัดของกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศ และจะเริ่มภารกิจตั้งแต่เดือนเมษายนนี้เป็นต้นไป โดยจะทำงานใกล้ชิดกับกองบัญชาการอวกาศของสหรัฐฯ ที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เพิ่งเปิดตัวเมื่อเร็ว ๆ นี้ และสำนักงานสำรวจอวกาศของญี่ปุ่น หรือ JAXA ด้วย รัฐบาลกรุงโตเกียวจะจัดสรรงบประมาณราว 51,000…

‘กม.ปกป้องความเป็นส่วนตัวดิจิทัล’ เข้มที่สุดของอเมริกามีผลบังคับใช้ในแคลิฟอร์เนียแล้ว

Loading

California Consumer Privacy Privacy Act (CCPA) หรือกฎหมายที่ส่งเสริมสิทธิความเป็นส่วนตัวและคุ้มครองผู้บริโภค สำหรับผู้อยู่อาศัยในรัฐแคลิฟอร์เนีย กำหนดให้บริษัทธุรกิจต่าง ๆ แจ้งให้ผู้บริโภคทราบถึงวิธีการเก็บและเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคล กฎหมายดังกล่าวให้สิทธิแก่ผู้บริโภคในการแจ้งความประสงค์ห้ามบริษัทต่าง ๆ ขายหรือเผยแพร่ข้อมูลของตน นอกจากนี้ยังกำหนดให้ภาคธุรกิจทำลายข้อมูลที่มีอยู่หากลูกค้าขอให้ลบข้อมูลดังกล่าว กฎหมายนี้ยังครอบคลุมการขายข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ข้อมูลเกือบทุกประเภทที่จะเป็นประโยชน์แก่ธุรกิจได้ ซึ่งรวมไปถึงการแบ่งปันข้อมูลระหว่างบริษัท และการขายข้อมูลของบุคคลที่สาม ธุรกิจออนไลน์ขนาดใหญ่ เช่น Facebook และ Google ได้รับผลกระทบจากกฎหมายนี้ เช่นเดียวกับบริษัทค้าปลีกรายใหญ่ต่าง ๆ ด้วย ภายใต้กฎหมายนี้ ห้างค้าปลีกอย่าง Walmart, Home Depot และบริษัทอื่น ๆ ได้เพิ่มลิงก์ “Do Not Sell My Info” หรือ “ห้ามขายข้อมูลส่วนตัว” ในเว็บไซต์ของตนเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถใช้สิทธิของตนได้ง่ายขึ้น ผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลกล่าวว่า ยังไม่มีความชัดเจนว่ากฎหมาย CCPA จะส่งผลกระทบต่อโฆษณาประเภทระบุเป้าหมายที่ใช้โดยบริษัทต่าง ๆ เช่น Facebook และ Google อย่างไรบ้าง Facebook เก็บข้อมูลส่วนบุคคลจำนวนมากและใช้ข้อมูลดังกล่าวในการนำทางบรรดาโฆษณาไปไปยังบุคคลกลุ่มต่าง…

เหตุใดชาวประมงจีนจึงพบ “ยานสอดแนมใต้น้ำ” จำนวนมาก

Loading

  “จีนให้รางวัลชาวประมงที่ดักพบอุปกรณ์สอดแนมต่างชาติ” นี่คือหัวข้อข่าวที่อาจดูเป็นเรื่องแปลกในตอนแรก และชวนให้เกิดความสงสัยใคร่รู้ว่ามีโอกาสเป็นไปได้มากน้อยเพียงใดที่จะเกิดเรื่องทำนองนี้ขึ้น” ทว่าเบื้องหลังหัวข้อข่าวที่ปรากฏอยู่ในสื่อของทางการจีนนั้น กลับมีเรื่องราวที่แตกต่างและน่าจับตาเป็นอย่างยิ่ง ประการแรก ในข่าวนี้ไม่ได้มีชาวประมงแค่ 2-3 คนที่ได้รับรางวัลจากทางการจีน ทว่ามีมากถึง 11 คน ในจำนวนนี้หนึ่งคนเป็นผู้หญิง พวกเขาดักพบ “อุปกรณ์สอดแนมต่างชาติ”รวมกันทั้งสิ้น 7 ชิ้น ประการที่สอง นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ชาวประมงจากมณฑลเจียงซูพบ “ยานสอดแนมใต้น้ำ” ในปี 2018 มีชาวประมง 18 คนได้รับรางวัลจากการพบอุปกรณ์สอดแนม 9 ชิ้น และมีพิธีมอบรางวัลไปเมื่อปีก่อน ประการที่สาม รางวัลที่ทางการจีนมอบให้มีมูลค่าสูงถึง 500,000 หยวน (ราว 2.2 ล้านบาท) แล้ว “ยานสอดแนมใต้น้ำ” ที่ว่านี้มาจากไหน มาทำอะไร และเหตุใดจึงมีมูลค่าสูงนัก และคำถามสำคัญก็คือ เหตุใดชาวประมงจีนจึงพบอุปกรณ์ชนิดนี้เป็นจำนวนมาก   เจียงซู เป็นมณฑลทางภาคตะวันออกของจีนซึ่งมีชายฝั่งทะเลทอดยาวเป็นระยะทางกว่า 1,000 กม.แวดล้อมไปด้วยประเทศเพื่อนบ้าน มีญี่ปุ่นและเกาหลีใต้อยู่ตรงข้าม และไต้หวันอยู่ห่างลงไปทางใต้ราว 500 ไมล์ ลักษณะทางภูมิศาสตร์นี้ และการมีกองทัพสหรัฐฯ ประจำการอยู่เป็นจำนวนมากในภูมิภาค…