ระวังภัย พบมัลแวร์เรียกค่าไถ่แพร่กระจายผ่านอีเมลโดยอ้างชื่อไวรัสโคโรน่า

Loading

เป็นเรื่องปกติที่ผู้ประสงค์ร้ายมักจะฉวยโอกาสนำเรื่องที่อยู่ในความสนใจของประชาชน เช่น ข่าวอุบัติเหตุ หรือข่าวโรคระบาด มาใช้ในการหลอกลวงขโมยข้อมูลหรือแพร่กระจายมัลแวร์ เมื่อปลายเดือนมกราคม 2563 มีรายงานการแพร่กระจายมัลแวร์เรียกค่าไถ่ Emotet โดยใช้วิธีส่งอีเมลเรื่องไวรัสโคโรน่า พร้อมกับแนบไฟล์ที่มีมัลแวร์มาด้วย ผู้ใช้ในประเทศญี่ปุ่นแจ้งว่าได้รับอีเมลที่อ้างว่าส่งมาจากกระทรวงสาธารณสุข มีเนื้อหาเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า โดยอีเมลฉบับดังกล่าวแนบไฟล์ Microsoft Word มาด้วย หากเปิดไฟล์แนบจะพบว่ามีสคริปต์ macro ซึ่งหากอนุญาตให้รันสคริปต์ดังกล่าว มัลแวร์เรียกค่าไถ่ Emotet จะถูกดาวน์โหลดมาติดตั้งลงในเครื่องทันที และยังถูกใช้ส่งอีเมลแพร่กระจายมัลแวร์ต่อไปยังเครื่องอื่นๆ ด้วย เทคนิคการโจมตีในลักษณะนี้จะมีมาอยู่เรื่อยๆ ผู้ใช้ควรระมัดระวังการเปิดไฟล์แนบหรือคลิกลิงก์จากอีเมลที่น่าสงสัย ไม่ควรเปิดใช้งาน macro ใน Microsoft Office หากไม่สามารถยืนยันความน่าเชื่อถือของไฟล์ดังกล่าว ไม่ควรล็อกอินด้วยสิทธิ์ของผู้ดูแลระบบ สำรองข้อมูลสำคัญ อัปเดตแอนติไวรัสและแพตช์ของระบบปฏิบัติการ รวมถึงหมั่นติดตามข่าวสารด้านความมั่นคงปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ ————————————————- ที่มา : ThaiCERT / 30 มกราคม 2563 Link : https://www.thaicert.or.th/newsbite/2020-01-30-02.html?fbclid=IwAR2MElzcGqOwQqmHPUa_xXmo82gCztbVq2rKS0sQxgIS5PdCHuLO_tQ7cu4#2020-01-30-02

เอกสารหลุดเผย Avast Free Antivirus เก็บข้อมูลผู้ใช้ขายให้บริษัทโฆษณา เสี่ยงละเมิดความเป็นส่วนตัว

Loading

เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2563 สำนักข่าว Motherboard ร่วมกับ PCMag ได้เผยแพร่รายงานผลการสืบสวนกรณีโปรแกรมแอนติไวรัสของบริษัท Avast เก็บข้อมูลของผู้ใช้แล้วนำไปขายต่อให้กับบริษัทอื่น ข้อมูลหลายอย่างที่ถูกเก็บไปขาย (เช่น ประวัติการเข้าชมเว็บไซต์หรือประวัติการซื้อสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ต) อาจละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน ทาง Motherboard และ PCMag พบเอกสารหลุดที่ระบุว่า Avast มีบริษัทลูกชื่อ Jumpshot เพื่อขายข้อมูลผู้ใช้ให้กับบริษัทขนาดใหญ่หลายราย ถึงแม้ในเอกสารจะระบุว่าทาง Avast นั้นเก็บเฉพาะข้อมูลจากผู้ใช้ที่เลือก opt-in (ยินยอมให้เก็บข้อมูลการใช้งานได้) แต่ผู้ใช้จำนวนหนึ่งก็บอกว่าไม่เคยทราบว่ามีการแจ้งขอความยินยอมในเรื่องนี้ จากรายงาน ตัวอย่างข้อมูลที่ถูกเก็บไปขาย เช่น ประวัติการค้นหาใน Google และ Google Maps, คลิปที่เข้าชมผ่าน YouTube, รวมถึงประวัติการเข้าชมเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาสำหรับผู้ใหญ่ ซึ่งในกรณีหลังนั้นมีการเก็บประวัติข้อความที่ค้นหาและประเภทวิดีโอที่รับชมด้วย ถึงแม้ในบรรดาข้อมูลที่ถูกเก็บไปนั้นจะถูกทำให้เป็นนิรนาม (anonymization) เช่น ไม่มีข้อมูลที่สามารถใช้ระบุตัวบุคคลได้ชัดเจน แต่ผู้เชี่ยวชาญก็วิเคราะห์ว่าทาง Jumpshot ยังจัดการกับข้อมูลได้ไม่ดีพอ จึงไม่ใช่เรื่องยากที่จะตรวจสอบย้อนกลับเพื่อระบุตัวตนเจ้าของข้อมูลดังกล่าวได้ ไทยเซิร์ตได้ทดลองติดตั้งโปรแกรม Avast Free Antivirus เวอร์ชัน…

กรณีศึกษา บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค ถูกแฮก ข้อมูลรั่วหลายพันรายการ คาดถูกเจาะผ่านช่องโหว่ของโปรแกรมแอนติไวรัส

Loading

เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2563 บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค สาขาใหญ่ที่ประเทศญี่ปุ่นได้ออกแถลงการณ์ว่าระบบถูกแฮกตั้งแต่ช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2562 โดยจากการตรวจสอบพบว่าผู้ประสงค์ร้ายสามารถเข้าถึงระบบเครือข่ายภายในและได้ขโมยข้อมูลออกไปด้วย ตัวอย่างข้อมูลที่หลุดออกไป เช่น เอกสารสมัครงาน ข้อมูลพนักงาน รวมถึงข้อมูลความลับทางการค้า โดยทางบริษัทฯ พบไฟล์ต้องสงสัยบนเซิร์ฟเวอร์เมื่อช่วงเดือนกันยายน 2562 จึงได้ดำเนินการตรวจสอบและได้ผลสรุปดังกล่าว มีรายงานเพิ่มเติมจากสำนักข่าวในประเทศญี่ปุ่นว่าบริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค นั้นถูกแฮกจากสาขาในประเทศจีนก่อน จากนั้นค่อยขยายการโจมตีมายังเครือข่ายของสาขาอื่นๆ อีก 14 แห่ง ในรายงานอ้างว่าผู้ประสงค์ร้ายโจมตีผ่านช่องโหว่ของโปรแกรมแอนติไวรัส Trend Micro OfficeScan ซึ่งเป็นช่องโหว่ที่ส่งผลให้ผู้ประสงค์ร้ายสามารถอัปโหลดไฟล์ใดๆ เข้ามาในระบบเพื่อสั่งรันโค้ดอันตรายบนเครื่องที่ตกเป็นเหยื่อได้ (ช่องโหว่รหัส CVE-2019-18187) ทั้งนี้ ทาง Trend Micro ได้ออกแพตช์แก้ไขช่องโหว่นี้เมื่อเดือนตุลาคม 2562 โดยระบุว่าพบการใช้ช่องโหว่นี้โจมตีจริงแล้ว ทั้งนี้ ทางสำนักข่าวฯ ยังได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมด้วยว่า กลุ่มแฮกเกอร์ชื่อ Tick (หรือ Bronze Butler) ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลของบางประเทศอาจอยู่เบื้องหลังการโจมตีในครั้งนี้ด้วย อย่างไรก็ตาม ข้อมูล log หลายส่วนถูกลบไปแล้วจึงอาจไม่สามารถยืนยันความชัดเจนในเรื่องนี้ได้…