เหตุใดชาวประมงจีนจึงพบ “ยานสอดแนมใต้น้ำ” จำนวนมาก

Loading

  “จีนให้รางวัลชาวประมงที่ดักพบอุปกรณ์สอดแนมต่างชาติ” นี่คือหัวข้อข่าวที่อาจดูเป็นเรื่องแปลกในตอนแรก และชวนให้เกิดความสงสัยใคร่รู้ว่ามีโอกาสเป็นไปได้มากน้อยเพียงใดที่จะเกิดเรื่องทำนองนี้ขึ้น” ทว่าเบื้องหลังหัวข้อข่าวที่ปรากฏอยู่ในสื่อของทางการจีนนั้น กลับมีเรื่องราวที่แตกต่างและน่าจับตาเป็นอย่างยิ่ง ประการแรก ในข่าวนี้ไม่ได้มีชาวประมงแค่ 2-3 คนที่ได้รับรางวัลจากทางการจีน ทว่ามีมากถึง 11 คน ในจำนวนนี้หนึ่งคนเป็นผู้หญิง พวกเขาดักพบ “อุปกรณ์สอดแนมต่างชาติ”รวมกันทั้งสิ้น 7 ชิ้น ประการที่สอง นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ชาวประมงจากมณฑลเจียงซูพบ “ยานสอดแนมใต้น้ำ” ในปี 2018 มีชาวประมง 18 คนได้รับรางวัลจากการพบอุปกรณ์สอดแนม 9 ชิ้น และมีพิธีมอบรางวัลไปเมื่อปีก่อน ประการที่สาม รางวัลที่ทางการจีนมอบให้มีมูลค่าสูงถึง 500,000 หยวน (ราว 2.2 ล้านบาท) แล้ว “ยานสอดแนมใต้น้ำ” ที่ว่านี้มาจากไหน มาทำอะไร และเหตุใดจึงมีมูลค่าสูงนัก และคำถามสำคัญก็คือ เหตุใดชาวประมงจีนจึงพบอุปกรณ์ชนิดนี้เป็นจำนวนมาก   เจียงซู เป็นมณฑลทางภาคตะวันออกของจีนซึ่งมีชายฝั่งทะเลทอดยาวเป็นระยะทางกว่า 1,000 กม.แวดล้อมไปด้วยประเทศเพื่อนบ้าน มีญี่ปุ่นและเกาหลีใต้อยู่ตรงข้าม และไต้หวันอยู่ห่างลงไปทางใต้ราว 500 ไมล์ ลักษณะทางภูมิศาสตร์นี้ และการมีกองทัพสหรัฐฯ ประจำการอยู่เป็นจำนวนมากในภูมิภาค…

ตุ๊กตุ๊กเขมรเตรียมเป็นสายลับพิเศษช่วยรัฐสอดส่องรายงานเหตุค้ามนุษย์

Loading

รอยเตอร์ – คนขับรถตุ๊กตุ๊กในกัมพูชาหลายพันคนจะเข้าร่วมในการต่อสู้กับการค้ามนุษย์ ตามโครงการของแอปพลิเคชันแกร็บ (Grab) ที่จะฝึกอบรมคนขับรถรับจ้างเหล่านี้ให้สังเกตและรายงานสัญญาณของการเอารัดเอาเปรียบในพื้นที่ แกร็บ ระบุว่า บริษัทจะให้การฝึกอบรมแก่คนขับรถ 10,000 คน ในกรุงพนมเปญในเดือนนี้ หลังจากบริษัทเปิดตัวโครงการ และมีแผนที่จะค่อยๆ ขยายไปยังคนขับของบริษัทอีกหลายล้านคนในภูมิภาคเอเชีย “เราทราบดีว่าคนขับรถแท็กซี่และตุ๊กตุ๊กอาจเป็นจุดแรกที่ได้ติดต่อกับผู้ค้ามนุษย์และเหยื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่สนามบิน สถานีขนส่ง หรือสถานีรถไฟ และด้วยเครือข่ายที่ครอบคลุมอย่างกว้างขวางของคนขับที่เป็นพาร์ตเนอร์กับแกร็บภายในกรุงพนมเปญ เราต้องการที่จะเพิ่มขีดความสามารถให้แก่คนขับรถของเราในการทำหน้าที่ช่วยเป็นหูเป็นตาเพิ่มขึ้นในพื้นที่” กรรมการผู้จัดการใหญ่แกร็บกัมพูชา กล่าวกับรอยเตอร์ ชาวเขมรมากกว่า 260,000 คน จากประชากรทั้งหมด 16 ล้านคน ตกเป็นทาสยุคใหม่ ตามรายงานดัชนีแรงงานทาสโลกของมูลนิธิวอล์คฟรี องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน ที่ส่วนใหญ่มักอยู่ตามไร่สวน ทำประมง และก่อสร้าง และหลายคนในนั้นเป็นเด็ก นอกจากนั้น ยังคาดว่ามีอีกหลายพันคนที่ถูกค้ามนุษย์ระหว่างประเทศ ซึ่งรวมถึงหญิงกัมพูชาที่ถูกบังคับให้แต่งงานกับชายชาวจีน เมื่อปีที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้ปรับลดระดับกัมพูชาในรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ ที่หมายความว่า กัมพูชาต้องปรับปรุงสถานการณ์ให้ดีขึ้น หรือมิฉะนั้นอาจเผชิญต่อมาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจ จัว บุน เอง หัวหน้าหน่วยงานปราบปรามการค้ามนุษย์ของกัมพูชาที่ทำงานร่วมกันกับแกร็บในโครงการริเริ่มนี้ กล่าวว่า การค้ามนุษย์เพิ่มสูงขึ้นแม้ตำรวจเพิ่มความพยายาม และคนขับรถตุ๊กตุ๊กถือเป็นแหล่งข้อมูลที่ยังไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ “เรื่องนี้ต้องใช้ทุกภาคส่วนของสังคมทำงานร่วมกันเพื่อเอาชนะการค้ามนุษย์ คนขับรถของแกร็บสามารถเป็นเหมือนสายลับบนท้องถนน” จัว…

อิสราเอลเผยอิหร่านใกล้มีอาวุธนิวเคลียร์ ท่ามกลางแรงกดดันจากชาติตะวันตก

Loading

FILE – In this Jan. 13, 2015, file photo released by the Iranian President’s Office, President Hassan Rouhani visits the Bushehr nuclear power plant just outside of Bushehr, Iran. นักวิเคราะห์ของกองทัพอิสราเอลระบุว่า ภายในสิ้นปีนี้ อิหร่านจะมีแร่ยูเรเนียมคุณภาพสูงในปริมาณที่เพียงพอสำหรับการผลิตระเบิดนิวเคลียร์ได้ โดยคำนวณจากตัวเลขการผลิตนิวเคลียร์หนึ่งลูกที่ต้องใช้ยูเรเนียมที่เสริมคุณภาพแล้วในระดับ 90% จำนวน 40 กิโลกรัม ด้านนายกรัฐมนตรีอิสราเอล เบนจามิน เนทันยาฮู มีคำเตือนไปถึงอิหร่านในวันพุธ โดยระบุว่าอิสราเอลทราบดีว่ากำลังเกิดอะไรขึ้นกับโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน พร้อมยืนยันว่าอิสราเอลจะไม่ยอมให้อิหร่านมีอาวุธนิวเคลียร์ในครอบครอง ผู้นำอิสราเอลยังเรียกร้องให้ประเทศในยุโรปเพิ่มมาตรการลงโทษชุดใหม่ต่ออิหร่านที่ละเมิดข้อตกลงที่ทำไว้ด้วย เดิมทีนั้น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี รวมทั้ง จีน รัสเซีย และสหรัฐฯ ร่วมลงนามในข้อตกลงระหว่างประเทศเพื่อควบคุมโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน ซึ่งมีชื่อย่อว่า JCPOA…

ไทยจับมืออินโดฯแบ่งปันข่าวกรอง จำกัดความเคลื่อนไหวกลุ่มก่อความไม่สงบ

Loading

รอยเตอร์ – ไทยและอินโดนีเซียในวันอังคาร (14 ม.ค.) ลงนามในข้อตกลงแบ่งปันข่าวกรอง ที่ทางผู้บัญชาการทหารของไทยบอกว่าจะช่วยจำกัดความเคลื่อนไหวของพวกก่อความไม่สงบที่ปฏิบัติการทางภาคใต้ของไทย รอยเตอร์อ้างเอกสารอย่างเป็นทางการที่พบเห็น ระบุว่าไทย ซึ่งมีชาวพุทธเป็นคนกลุ่มใหญ่แลอินโดนีเซีย อันมีชนกลุ่มใหญ่เป็นมุสลิม จะแบ่งปันข้อมูลความเคลื่อนไหวต่างๆของพวกหัวรุนแรง กบฏและกลุ่มผู้กระทำผิดทั้งหลาย ซึ่งบ่อนทำลายความมั่นคงของชาติ การลงนามมีขึ้นระหว่างที่พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบกเดินทางเยือนจังหวัดอาเจะห์ของอินโดนีเซียในวันอังคาร (14 ม.ค.) “มันเป็นการจำกัดความเคลื่อนไหวโดยเสรีของกลุ่มต่างๆ เพราะว่าเราจะแบ่งปันข้อมูลและเฝ้าระวังบุคคลทั้งหลาย” พล.อ.อภิรัชต์ ระบุต่อว่าอินโดนีเซีย โดยเฉพาะจังหวัดอาเจะห์ เคยถูกพวกกลุ่มก่อความไม่สงบกลุ่มต่างๆในไทยใช้เป็นแหล่งฝึกฝน ซ่อนตัวและวางแผนปฏิบัติการต่างๆโจมตีไทย จากข้อมูลของศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (Deep South Watch) ไทยสู้รบกับกลุ่มก่อความไม่สงบแบ่งแยกดินแดนมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ยะลา, ปัตตานีและนราธิวาส มานับตั้งแต่ปี 2004 คร่าชีวิตผู้คนไปแล้วเกือบ 7,000 ศพ ด้านพลเอกเปอร์กาซา แห่งกองทัพอินโดนีเซีย ไม่ได้พาดพิงอย่างเจาะจงว่ากลุ่มนักรบใดที่อินโดนีเซียได้รับการร้องขอจากไทยให้เฝ้าสังเกตการณ์เป็นพิเศษ แต่เน้นย้ำถึงความร่วมมือระดับภูมิภาค “ในการจัดการกับประเด็นความมั่นคงใดๆ เราควรร่วมมือกัน” อินโดนีเซียเองก็เผชิญกับภัยคุกคามของกลุ่มนักรบอิสลามิสต์ต่างๆเช่นกัน อาทิเจมาห์ อิสลามิยาห์ (Jemaah Islamiah) และกลุ่มอื่นๆที่ได้แรงบันดาลใจจากพวกรัฐอิสลาม (ไอเอส) อาเจะห์ เคยถูกห้อมล้อมไปด้วยเหตุการณ์ความไม่สงบมานานกว่า…

Windows 7 จะไม่ได้รับอัปเดตความมั่นคงปลอดภัยหลัง 14 มกราคม 2563 พบเครื่องในไทยเกือบ 1 ใน 4 ยังใช้งานอยู่

Loading

บริษัท Microsoft จะปล่อยแพตช์ด้านความมั่นคงปลอดภัยให้กับ Windows 7 และ Windows Server 2008 (รวมทั้ง 2008 R2) เป็นครั้งสุดท้ายในช่วงดึกของวันอังคารที่ 14 มกราคม 2563 (ตามเวลาในประเทศไทย) จากนั้นทั้งสองระบบปฏิบัติการนี้จะไม่ได้รับอัปเดตหรือการสนับสนุนทางเทคนิคใดๆ อีก (ข่าวเก่า https://www.thaicert.or.th/newsbite/2019-12-11-01.html) เหตุการณ์นี้จะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้และองค์กรจำนวนมากที่ยังคงใช้งานระบบปฏิบัติการเหล่านี้อยู่ จากสถิติของเว็บไซต์ StatCounter พบว่าในเดือนธันวาคม 2562 เกือบ 1 ใน 4 ของเครื่องคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยยังคงใช้งาน Windows 7 ในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต นั่นทำให้หลังจากวันที่ 14 มกราคม 2563 เป็นต้นไป เครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านี้มีความเสี่ยงที่จะถูกโจมตีจากช่องโหว่และจะไม่มีแพตช์ใดๆ มาแก้ไข จากข้อมูลของเว็บไซต์ Shodan เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2563 มีเครื่องเซิร์ฟเวอร์ในประเทศไทยจำนวน 211 เครื่องที่ยังใช้งาน Windows Server 2008 โดยมี 164 เครื่องเปิดพอร์ต…

ผู้บัญชาการกองทัพอวกาศคนแรกของสหรัฐฯ สาบานตนรับตำแหน่ง

Loading

Pence Space Force พลอากาศเอกจอห์น เจย์ เรย์มอนด์ สาบานตนเข้ารับตำแหน่งผู้บัญชาการกองทัพอวกาศคนแรกของสหรัฐฯ ที่ทำเนียบขาวเมื่อวันอังคาร ก่อนหน้านี้ พลอากาศเอกเรย์มอนด์ เป็นผู้บัญชาการกองบัญชาการอวกาศ ที่จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคมปีก่อน และได้รับการเสนอชื่อและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองทัพอวกาศ หลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ลงนามในร่างกฎหมาย 2020 National Defense Authorization Act เมื่อเดือนที่แล้ว ซึ่งนำไปสู่การจัดตั้งกองทัพอวกาศ เหล่าทัพที่ 6 ของกองทัพสหรัฐฯ ทั้งนี้ กองทัพอวกาศสหรัฐฯ มีหน้าที่บริหารจัดการ ฝึกฝน และจัดสรรบุคลากรของกองทัพที่เน้นเรื่องปฏิบัติการด้านอวกาศโดยเฉพาะ และเป็นกองทัพอิสระ มีสถานะเทียบเท่า 5 เหล่าทัพแรก คือ กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ กองกำลังนาวิกโยธิน และกองกำลังรักษาการณ์ชายฝั่ง ——————————————————— ที่มา : VOA Thai / 15 มกราคม 2563 Link : https://www.voathai.com/a/us-space-force-chief-sworn-in-01142020/5245700.html