เทคโนโลยีจดจำใบหน้า ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลหรือไม่

Loading

จากความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีในโลกปัจจุบัน ทำให้เกิดเทคโนโลยีหนึ่ง ก็คือ การจดจำใบหน้า แม้ภาครัฐอ้างว่าจะใช้เพื่อป้องกันภัยจากการก่อการร้ายหรืออาชญากรรม แต่ประชาชนกลับมองว่านี้อาจลิดรอนสิทธิขั้นพื้นฐานของตัวเอง เพระาไม่สามารถตรวจสอบการเข้าถึงได้ รัฐนำความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในโลกปัจจุบันมาใช้ โดยอ้างว่าเพื่อปกป้องและป้องกันภัยจากการก่อการร้ายและอาชญากรที่พัฒนาขึ้นทุกวัน แต่ประชาชนทั่วไปรู้สึกว่า สิทธิขั้นพื้นฐานของพวกเขากำลังถูกลิดรอน เพราะไม่สามารถตรวจสอบหน่วยงานรัฐได้ว่าเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวมากน้อยเพียงใด โปรแกรมหนึ่งที่กำลังถูกพูดถึงคือ โปรแกรมจดจำใบหน้า หรือ face-recognition technology ซึ่งหน่วยงานความมั่นคงนำมาใช้เพื่อช่วยให้สืบหาตัวคนร้ายได้รวดเร็วฉับไวมากยิ่งขึ้น ทางการของเกาะฮ่องกง นำเทคโนโลยีนี้มาใช้กับกลุ่มผู้ประท้วง เพื่อหาทางจัดการทางกฎหมายกับผู้ประท้วงที่ฮ่องกง เริ่มมาตั้งแต่ประมาณเดือนมีนาคม 2562 ในช่วงแรกการชุมนุมเป็นไปอย่างสงบ ก่อนที่เหตุการณ์จะเริ่มรุนแรงในเวลาต่อมา หลายต่อหลายครั้งทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมและตำรวจ ต้นตอเริ่มแรกของการประท้วงมาจากความไม่พอใจร่างกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดน ซึ่งผู้ชุมนุมมองว่า รัฐบาลจีน กำลังแทรกแซงสิทธิเสรีภาพของชาวฮ่องกง การประท้วงยืดเยื้อข้ามปี เพราะผู้ประท้วงต้องการเรียกร้องสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้งทั่วไป โดยระบุว่ารัฐบาลฮ่องกงไม่ได้ทำตามคำมั่นสัญญาเกี่ยวกับสิทธิดังกล่าว นับตั้งแต่จีนได้เข้าปกครองฮ่องกงในปี 2540 ว่ากันว่า ตอนนี้ทั้งสองฝ่ายพยายามยั่วยุกัน โดยทางการฮ่องกงเชื่อว่า หากปล่อยให้มีการประท้วงต่อไปเรื่อยๆ ผู้ประท้วงเองจะเลิกราไปเอง ส่วนผู้ประท้วงก็พยายามยั่วยุ เพื่อให้ทางการหมดความอดทน ครั้งหนึ่งมีการเผยแพร่ภาพหนึ่งในโลกออนไลน์ที่เข้าใจว่า เป็นภาพของผู้ประท้วงชาวฮ่องกงคาดศีรษะด้วยอุปกรณ์ดิจิทัล ประกอบด้วยจอโปรเจ็คเตอร์ ซึ่งจะฉายเป็นภาพบุคคลอื่นบนใบหน้าของคนๆ นั้น เพื่อพรางตัวไม่ให้โปรแกรมจดจำใบหน้าจำได้ แต่ต่อมามีการเปิดเผยว่า ภาพดังกล่าวนั้นเป็นส่วนหนึ่งของโครงการที่คิดค้นโดย จิง ไซ หลิว นักศึกษาของ Utrecht School of the Arts…

ทหาร-ตำรวจเอลซัลวาดอร์ตบเท้าบุกสภา บีบอนุมัติกู้ซื้ออาวุธ

Loading

ทหารเอลซัลวาดอร์พร้อมอาวุธยืนเรียงแถวในสภานิติบัญญัติเมื่อวันอาทิตย์ สมาชิกสภาเอลซัลวาดอร์แตกตื่น ทหารและตำรวจพร้อมอาวุธตบเท้าเข้าสภาเมื่อวันอาทิตย์ หนุนหลังประธานาธิบดีนายิบ บูเกเล กดดัน ส.ส.อนุมัติการกู้ยืมงบประมาณ 109 ล้านดอลลาร์เพื่อใช้ซื้อยุทธภัณฑ์สนับสนุนการต่อสู้ปราบปรามแก๊งอาชญากร ประธานาธิบดีนายิบ บูเกเล ผู้นำหนุ่มวัย 38 ปีของเอลซัลวาดอร์เพิ่งชนะการเลือกตั้งเมื่อเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว ด้วยคำมั่นสัญญาว่าจะปราบปรามความรุนแรงโดยพวกแก๊งอาชญากร เขาตั้งใจจะใช้เงินกู้ยืมประมาณ 3,409 ล้านบาทนี้ มาปรับปรุงอาวุธยุทธภัณฑ์ของตำรวจและกองทัพ ในการต่อสู้กับอาชญากรรมรุนแรงในเอลซัลวาดอร์ ซึ่งมีอัตราฆาตกรรมสูงที่สุดชาติหนึ่งในโลก โดยจะใช้สำหรับซื้อยานพาหนะของตำรวจ, เครื่องแบบ, อุปกรณ์ตรวจการณ์และเฮลิคอปเตอร์ 1 ลำ เอเอฟพีรายงานเมื่อวันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ว่า บูเกเลเรียกร้องให้สภาเปิดการประชุมวาระพิเศษช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาเพื่ออภิปรายเรื่องนี้ แต่ถูก ส.ส.ส่วนใหญ่ปฏิเสธ และก่อนที่เขาจะเข้าห้องประชุมสภาเมื่อวันอาทิตย์ ตำรวจและทหารพร้อมอาวุธปืนไรเฟิลกลุ่มใหญ่เดินตบเท้าเข้ามาภายในห้องประชุม ซึ่งเป็นภาพที่ไม่เคยเกิดขึ้นนับแต่สิ้นสุดสงครามกลางเมืองในประเทศนี้เมื่อปี 2535 บูเกเลกล่าวปราศรัยต่อผู้สนับสนุนเขาด้านนอกสภาก่อนหน้านั้นว่า หากพวกเปล่าประโยชน์ (ส.ส.) เหล่านี้ไม่อนุมัติแผนควบคุมอาณาเขตฉบับนี้ภายในสัปดาห์นี้ เราจะเรียกร้องให้พวกเขาจัดการประชุมอีกครั้งในวันอาทิตย์หน้า “เมื่อพวกเจ้าหน้าที่ขัดต่อระบอบรัฐธรรมนูญ ประชาชนชาวซัลวาดอร์ก็มีสิทธิที่จะก่อการกบฏเพื่อกำจัดเจ้าหน้าที่พวกนี้” บูเกเลประกาศต่อผู้สนับสนุนด้านนอกสภา นักการเมืองฝ่ายค้านแสดงความไม่พอใจที่ทหารตำรวจพร้อมอาวุธครบมือบุกเข้าสภา โดยพวกเขากล่าวว่าเป็นพฤติการณ์ข่มขู่คุกคามที่ไม่เคยมีมาก่อน ส่วนภายนอกประเทศก็แสดงความกังวลเช่นกัน องค์กรแอมเนสตีอินเตอร์เนชันแนลออกแถลงการณ์ทางทวิตเตอร์ว่า การออกมาของทหารอาจเป็นจุดเริ่มต้นของหนทางอันตรายต่อสถาบันและต่อสิทธิมนุษยชนในประเทศนี้ ส่วนสหภาพยุโรปแสดงความ “ห่วงกังวลอย่างยิ่ง” ต่อการเผชิญหน้าระหว่างสถาบัน ————————————– ที่มา :…