สิงคโปร์สั่งเฟซบุ๊กบล็อคเพจต่อต้านรัฐบาล ปิดปากพวกวิพากษ์วิจารณ์

Loading

เอเอฟพี – สิงคโปร์ในวันจันทร์(17ก.พ.) ออกคำสั่งถึงเฟซบุ๊กให้บล็อคเพจต่อต้านรัฐบาล ความเคลื่อนไหวล่าสุดในการใช้กฎหมายจัดการกับการให้ข้อมูลผิดๆ แต่ถูกฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์กล่าวหาว่าเป็นความพยายามจำกัดสิทธิเสรีภาพการแสดงความคิดเห็น กฎหมายให้อำนาจคณะรัฐมตรีสั่งแฟลตฟอร์มอินเตอร์เน็ตและเว็บไซต์ต่างๆวางคำเตือนไว้ใกล้กับโพสต์ข้อความทั้งหลายที่พวกเขามองว่าเป็นข้อมูลผิดๆ เช่นเดียวกับสามารถสั่งบล็อคเพจต่างๆเหล่านั้นจากการเข้าถึงของพวกผู้ใช้ภายในเมืองที่คุมเข้มกฎระเบียบแห่งนี้ ในขณะที่ส่วนใหญ่ยอมทำตามกฎหมายดังกล่าว แต่เว็บไซต์การเมืองอย่าง States Times Review (STR) ซึ่งมักโพสต์หัวข้อวิพากษ์วิจารณ์ ปฏิเสธที่จะปฏิบัติตาม ถ้อยแถลงจากกระทรวงสื่อสารระบุว่าเฟซบุ๊กได้รับแจ้งให้บล็อคพวกผู้ใช้สิงคโปร์จากการเข้าถึงเพจ STR เนื่องจากเพจแห่งนี้ข้อมูลอันเป็นเท็จซ้ำๆและไม่ปฏิบัติตามคำสั่งที่ขอให้โพสต์ข้อมูลที่ถูกต้อง ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่เพียงแค่ขอให้แก้ไขข้อมูลในโพสต์เฟซบุ๊กให้ถูกต้อง รวมถึงวางข้อมูลที่ถูกต้องไว้ใกล้ๆกับข้อมูลอันเป็นเท็จ แต่หนนี้ถือเป็นครั้งแรกที่พวกเขาหาทางบล็อคเพจเฟซบุ๊กเพจใดเพจหนึ่ง เมื่อวันศุกร์(14ก.พ.) รัฐบาลออกคำสั่งถึง States Times Review ให้เตือนผู้อ่านบนเพจเฟซบุ๊กของตนเองว่าพวกเขามักโพสต์ข้อมูลเท็จอยู่เป็นประจำ แต่เว็บไซต์แห่งนี้ไม่ยอมทำตาม เว็บไซต์ States Times Review ถูกกล่าวหาแพร่ข้อมูลข่าวสารอันเป็นเท็จมาแล้วหลายต่อหลายครั้ง ในนั้นรวมถึงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเจ้าหน้าที่อ้างว่าเว็บไซต์แห่งนี้โพสต์ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ รายงานข่าวระบุว่าเว็บไซต์แห่งนี้ดูแลโดย อเล็กซ์ ตัน ซึ่งอ้างว่าตนเองเป็นพลเมืองออสเตรเลียที่พักอาศัยอยู่ในต่างแดน เฟซบุ๊กยังไม่ออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรายงานข่าวนี้ แต่เมื่อเดือนพฤศจิกายน สื่อสังคมออนไลน์แห่งนี้ได้วางข้อมูลที่ถูกต้องไว้ใกล้ๆข้อมูลที่โพสต์โดยตัน ตามคำร้องขอของรัฐบาล ความเคลื่อนไหวของรัฐบาลสิงคโปร์ มีขึ้นท่ามกลางข่าวลือที่ว่าศึกเลือกตั้งทั่วไปจะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า แม้หลายฝ่ายมองว่าฝ่ายค้านอยู่ในภาวะที่อ่อนแออย่างมากและคงไม่สามารถสู้รบกับพรรครัฐบาลได้ รัฐบาลสิงคโปร์ ซึ่งมักถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นประจำต่อการจำกัดสิทธิเสรีภาพของพลเรือน ยืนยันว่ากฏหมายนี้มีความจำป็น เพื่อสกัดการเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จบนสื่อสังคมออนไลน์ ที่อาจก่อความเสียหายในวงกว้าง ——————————————————– ที่มา…

Big Data Is A Big Problem : เปลี่ยนดีเอ็นเอให้เป็นฮาร์ดไดร์ฟเก็บข้อมูล

Loading

By : sopon supamangmee | Feb 18, 2020 เคยมีคำถามกันบ้างไหมครับเวลาอัพโหลดรูปภาพบนเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม หรือลงวิดีโอไว้บนยูทูบแล้วรูปไปอยู่ที่ไหน? เราใช้บริการเหล่านี้ในชีวิตประจำวันจนแทบไม่เคยตั้งคำถามหรือคิดถึงมันเลยด้วยซ้ำ หลายคนก็อาจจะตอบว่าก็คงไปอยู่บนคลาวน์ “ที่ไหนสักแห่งหนึ่ง” ที่มีพื้นที่มากมาย ซึ่งก็ไม่ผิด แต่ก็ไม่ถูกซะทีเดียว เพราะในความเป็นจริงแล้ว ไฟล์หรือข้อมูลเหล่านี้แม้ว่าจะอยู่ในรูปแบบดิจิทัล ไม่ใช่ปึกกองกระดาษเหมือนหนังสือเล่ม หรือม้วนวิดีโอ แต่ว่าไฟล์ดิจิทัลเหล่านี้ก็ยังต้องการพื้นที่สำหรับจัดเก็บที่เรียกว่า ‘data center’ หรือ ศูนย์ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นพื้นที่ตึกที่เต็มไปด้วยเซิร์ฟเวอร์หลายพันหลายหมื่นตัว (มีการประมาณการจาก Gartner ว่าในปี 2016 กูเกิลมีเซิร์ฟเวอร์กว่า 2.5 ล้านตัวใน data center ของตัวเองทั่วโลก) ไฟล์ดิจิทัล แต่พื้นที่จัดเก็บนั้นไม่สามารถเป็นดิจิทัลได้ ไม่ใช่แค่ยักษ์ใหญ่อย่างกูเกิลเท่านั้นที่มี data center ขนาดเท่าสนามฟุตบอลกระจายอยู่ทั่วโลก บริษัทอื่นๆ อย่างเน็ตฟลิกซ์, ไลน์, วอทส์แอป, ทวิตเตอร์, แอมะซอน ฯลฯ หรือเรียกได้ว่าผู้ให้บริการออนไลน์ทุกเจ้าจะต้องมีพื้นที่จัดเก็บข้อมูลเหล่านี้ด้วยกันทั้งนั้น ทุกครั้งที่มีการส่งอีเมล แชร์รูปบนเฟซบุ๊ก สตรีมเน็ตฟลิกซ์ ค้นหาบนกูเกิล ​เซิร์ฟเวอร์เหล่านี้แหละที่ทำงานอยู่เบื้องหลังตลอดเวลา มีการคาดการณ์ว่าข้อมูลออนไลน์จะเติบโตจาก 33 ZB…