เชื่อมวงจรปิดสแตนอะโลน 3 หมื่นตัว แล้วเสร็จเดือนเมษายน

Loading

เข้า 12 ศูนย์และ กทม.เสร็จ เม.ย.นี้-ขอภาพวงจรปิดวันเดียวได้ นายสกลธี ภัททิยกุล รองผู้ว่าฯ กทม. กล่าวถึงการพัฒนาระบบกล้องวงจรปิด (ซีซีทีวี) ในพื้นที่กรุงเทพฯว่า พื้นที่กรุงเทพฯมีกล้องวงจรปิด หรือกล้องซีซีทีวี จำนวน 53,249 ตัว แบ่งเป็นกล้องแบบ stand alone (สแตนอโลน) คือ กล้องที่บันทึกข้อมูลภาพที่ตัวกล้อง ไม่ได้เชื่อมโยงสัญญาณภาพมาที่ศูนย์กล้องวงจรปิด กทม. จำนวน 38,404 ตัว และเป็นกล้องที่เชื่อมโยงสัญญาณภาพไปยังศูนย์ จำนวน 14,845 ตัว ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการศูนย์ และอำนวยความสะดวกในการดูภาพจากกล้องวงจรปิด ของ กทม. รวมถึงการดูแลและบำรุงรักษากล้องซีซีทีวี สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) ได้ขอจัดสรรงบประมาณ 300 กว่าล้านบาท เพื่อเชื่อมโยงสัญญาณภาพจากกล้องซีซีทีวีแบบ “สแตนอโลน” ทั้ง 38,404 ตัว มายังศูนย์ที่ศาลาว่าการ กทม.และศูนย์ย่อยทั้ง 12 ศูนย์ ซึ่งจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในเดือนเมษายนนี้ จากนั้นประชาชนหรือหน่วยงานที่มีความประสงค์ขอดูภาพจากกล้องวงจรปิดของ กทม.จะได้รับความสะดวกมากยิ่งขึ้น…

ตัวตนข้าราชการสองหน้า แฉข้อมูลลับให้สื่อจนริชาร์ด นิกสัน ทิ้งเก้าอี้ปธน. คดีวอเตอร์เกต

Loading

(ซ้าย) ริชาร์ด นิกสัน (ขวา) มาร์ก เฟลต์ ฉากหลังเป็นภาพการจัดแสดงหลักฐานจากวาระครบ 30 ปี การงัดสำนักงานพรรคเดโมแครต ที่วอเตอร์เกต (ภาพจาก PAUL J. RICHARDS / AFP) คดีวอเตอร์เกต (Watergate) อันลือลั่นซึ่งว่าด้วยการแฉข้อมูลทางการเมือง แม้จะล่วงเลยมาหลายสิบปีแล้ว จนถึงปัจจุบัน คดีนี้ยังอยู่ในความทรงจำในฐานะเรื่องอื้อฉาวที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา หรืออาจเป็นประวัติศาสตร์โลก คดีวอเตอร์เกต การแฉข้อมูลเบื้องลึกว่าด้วยการดำเนินการของประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน และผู้ใกล้ชิดซึ่งกระทำการโดยผิดกฎหมายเพื่อให้มีชัยเหนือคู่แข่งทางการเมือง และชนะการเลือกตั้ง แต่จุดที่ทำให้ถูกเปิดโปง คือกรณีที่ทีมงานเข้าไปติดตั้งเครื่องดักฟังในศูนย์รณรงค์หาเสียงของพรรคเดโมแครต และถูกตำรวจจับได้ ขณะที่สื่อสารมวลชนที่รายงานเบื้องหลังของการงัดแงะครั้งนั้นอย่างต่อเนื่อง จนข้อมูลเบื้องลึกถูกเปิดโปงใหญ่โต จากคดีงัดแงะเล็กน้อยกลายเป็นคดีอื้อฉาวระดับประเทศอันเป็นผลทำให้ประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน ประกาศลาออกจากตำแหน่ง และน้ำตาตกต่อหน้าการแถลงข่าว สื่อมวลชนกลุ่มที่ปฏิบัติการนี้เองมีแหล่งข่าวปริศนารายสำคัญซึ่งสาธารณชนรู้จักในนามแฝงว่า “ดีพโธรต” (Deep Throat) แล้วเขาคือใคร? หากเอ่ยถึงในข้อเท็จจริงโดยรวมแล้ว คดีวอเตอร์เกทในช่วงต้นยุค 70s มีตัวละครสำคัญที่ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อคดีคือบทบาทสื่อมวลชนทั้งของวอชิงตัน โพสต์ (The Washington Post) และนิวยอร์ก ไทม์ส (The New York Times) โดยเฉพาะบทบาทการทำข่าวสืบสวนสอบสวนโดยบ๊อบ…

รัฐบาลสหรัฐฯ เริ่มสู้คดีในอังกฤษเพื่อขอส่งตัวผู้ก่อตั้งวิกิลีกส์กลับมาดำเนินคดี

Loading

Julian Assange รัฐบาลสหรัฐฯ เริ่มสู้คดีในศาลอังกฤษ เพื่อขอให้ส่งตัวนายจูเลียน อัสซานจ์ ผู้ก่อตั้งวิกิลีกส์ (WikiLeaks) กลับมาดำเนินคดีในข้อหาฝ่าฝืนรัฐบัญญัติการจารกรรม จากการเผยแพร่เอกสารลับของราชการและกองทัพสหรัฐฯ ซึ่งอ้างว่าส่งผลให้ชีวิตของคนหลายคนต้องตกอยู่ในภาวะเสี่ยงภัย เจมส์ ลูอิส ทนายตัวแทนรัฐบาลสหรัฐฯ ขึ้นเบิกความในศาลกรุงลอนดอน ในวันจันทร์ตามเวลาท้องถิ่น เพื่ออธิบายต่อศาลถึงเหตุผลที่ควรส่งตัวนายอัสซานจ์กลับสหรัฐฯ โดยระบุว่า การที่วิกิลีกส์เผยแพร่เอกสารของกองทัพและการทูต เป็นการก่อความเสียหายครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ ให้กับการเก็บข้อมูลลับของทางการ รายงานข่าวแจ้งว่า ผู้สนับสนุนวิกิลีกส์จำนวนหนึ่งรวมตัวกันมาประท้วงหน้าศาลที่มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยคุ้มกันอย่างแน่นหนา ขณะที่การเบิกความดำเนินอยู่ รัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งฟ้องนายอัสซานจ์ใน 18 ข้อหา ต้องการตัวเขากลับมาเพื่อลงโทษด้วยการจำคุกสูงสุดเป็นเวลา 175 ปี สำหรับการเปิดเผยข้อมูลลับหลายแสนชิ้นต่อสาธารณะในปี ค.ศ. 2010 ซึ่งนายอัสซานจ์แก้ต่างว่า เป็นการทำหน้าที่ของผู้สื่อข่าว ด้วยการทำให้ประชาชนได้รับรู้ถึงการทำความผิดโดยกองทัพสหรัฐฯ และการกระทำดังกล่าวก็ได้รับการปกป้องตามบทบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 1 แห่งรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ แต่ นายลูอิสยืนยันว่า สิ่งที่ผู้ก่อตั้งวิกิลีกส์ทำไม่ใช่เรื่องของเสรีภาพในการพูด แต่เป็นอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ และทางการสหรัฐฯ ต้องการลงโทษนายอัสซานจ์สำหรับการทำให้ชีวิตของคนหลายคนในสหรัฐฯ และประเทศพันธมิตรต้องตกอยู่ในอันตราย เพราะการเปิดเผยข้อมูลลับของเขา เขากล่าวด้วยว่า การกระทำของนายอัสซานจ์ ทำให้สหรัฐฯ ต้องดำเนินการย้ายถิ่นฐานชาวอเมริกันที่ทำให้หน้าที่ป้อนข้อมูลต่างๆ ให้รัฐบาลไปอยู่ที่ๆ ปลอดภัย ขณะที่มีคนหลายคนหายสาบสูญไปแล้ว…