ตัวตนข้าราชการสองหน้า แฉข้อมูลลับให้สื่อจนริชาร์ด นิกสัน ทิ้งเก้าอี้ปธน. คดีวอเตอร์เกต

Loading

(ซ้าย) ริชาร์ด นิกสัน (ขวา) มาร์ก เฟลต์ ฉากหลังเป็นภาพการจัดแสดงหลักฐานจากวาระครบ 30 ปี การงัดสำนักงานพรรคเดโมแครต ที่วอเตอร์เกต (ภาพจาก PAUL J. RICHARDS / AFP) คดีวอเตอร์เกต (Watergate) อันลือลั่นซึ่งว่าด้วยการแฉข้อมูลทางการเมือง แม้จะล่วงเลยมาหลายสิบปีแล้ว จนถึงปัจจุบัน คดีนี้ยังอยู่ในความทรงจำในฐานะเรื่องอื้อฉาวที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา หรืออาจเป็นประวัติศาสตร์โลก คดีวอเตอร์เกต การแฉข้อมูลเบื้องลึกว่าด้วยการดำเนินการของประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน และผู้ใกล้ชิดซึ่งกระทำการโดยผิดกฎหมายเพื่อให้มีชัยเหนือคู่แข่งทางการเมือง และชนะการเลือกตั้ง แต่จุดที่ทำให้ถูกเปิดโปง คือกรณีที่ทีมงานเข้าไปติดตั้งเครื่องดักฟังในศูนย์รณรงค์หาเสียงของพรรคเดโมแครต และถูกตำรวจจับได้ ขณะที่สื่อสารมวลชนที่รายงานเบื้องหลังของการงัดแงะครั้งนั้นอย่างต่อเนื่อง จนข้อมูลเบื้องลึกถูกเปิดโปงใหญ่โต จากคดีงัดแงะเล็กน้อยกลายเป็นคดีอื้อฉาวระดับประเทศอันเป็นผลทำให้ประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน ประกาศลาออกจากตำแหน่ง และน้ำตาตกต่อหน้าการแถลงข่าว สื่อมวลชนกลุ่มที่ปฏิบัติการนี้เองมีแหล่งข่าวปริศนารายสำคัญซึ่งสาธารณชนรู้จักในนามแฝงว่า “ดีพโธรต” (Deep Throat) แล้วเขาคือใคร? หากเอ่ยถึงในข้อเท็จจริงโดยรวมแล้ว คดีวอเตอร์เกทในช่วงต้นยุค 70s มีตัวละครสำคัญที่ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อคดีคือบทบาทสื่อมวลชนทั้งของวอชิงตัน โพสต์ (The Washington Post) และนิวยอร์ก ไทม์ส (The New York Times) โดยเฉพาะบทบาทการทำข่าวสืบสวนสอบสวนโดยบ๊อบ…

รัฐบาลสหรัฐฯ เริ่มสู้คดีในอังกฤษเพื่อขอส่งตัวผู้ก่อตั้งวิกิลีกส์กลับมาดำเนินคดี

Loading

Julian Assange รัฐบาลสหรัฐฯ เริ่มสู้คดีในศาลอังกฤษ เพื่อขอให้ส่งตัวนายจูเลียน อัสซานจ์ ผู้ก่อตั้งวิกิลีกส์ (WikiLeaks) กลับมาดำเนินคดีในข้อหาฝ่าฝืนรัฐบัญญัติการจารกรรม จากการเผยแพร่เอกสารลับของราชการและกองทัพสหรัฐฯ ซึ่งอ้างว่าส่งผลให้ชีวิตของคนหลายคนต้องตกอยู่ในภาวะเสี่ยงภัย เจมส์ ลูอิส ทนายตัวแทนรัฐบาลสหรัฐฯ ขึ้นเบิกความในศาลกรุงลอนดอน ในวันจันทร์ตามเวลาท้องถิ่น เพื่ออธิบายต่อศาลถึงเหตุผลที่ควรส่งตัวนายอัสซานจ์กลับสหรัฐฯ โดยระบุว่า การที่วิกิลีกส์เผยแพร่เอกสารของกองทัพและการทูต เป็นการก่อความเสียหายครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ ให้กับการเก็บข้อมูลลับของทางการ รายงานข่าวแจ้งว่า ผู้สนับสนุนวิกิลีกส์จำนวนหนึ่งรวมตัวกันมาประท้วงหน้าศาลที่มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยคุ้มกันอย่างแน่นหนา ขณะที่การเบิกความดำเนินอยู่ รัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งฟ้องนายอัสซานจ์ใน 18 ข้อหา ต้องการตัวเขากลับมาเพื่อลงโทษด้วยการจำคุกสูงสุดเป็นเวลา 175 ปี สำหรับการเปิดเผยข้อมูลลับหลายแสนชิ้นต่อสาธารณะในปี ค.ศ. 2010 ซึ่งนายอัสซานจ์แก้ต่างว่า เป็นการทำหน้าที่ของผู้สื่อข่าว ด้วยการทำให้ประชาชนได้รับรู้ถึงการทำความผิดโดยกองทัพสหรัฐฯ และการกระทำดังกล่าวก็ได้รับการปกป้องตามบทบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 1 แห่งรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ แต่ นายลูอิสยืนยันว่า สิ่งที่ผู้ก่อตั้งวิกิลีกส์ทำไม่ใช่เรื่องของเสรีภาพในการพูด แต่เป็นอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ และทางการสหรัฐฯ ต้องการลงโทษนายอัสซานจ์สำหรับการทำให้ชีวิตของคนหลายคนในสหรัฐฯ และประเทศพันธมิตรต้องตกอยู่ในอันตราย เพราะการเปิดเผยข้อมูลลับของเขา เขากล่าวด้วยว่า การกระทำของนายอัสซานจ์ ทำให้สหรัฐฯ ต้องดำเนินการย้ายถิ่นฐานชาวอเมริกันที่ทำให้หน้าที่ป้อนข้อมูลต่างๆ ให้รัฐบาลไปอยู่ที่ๆ ปลอดภัย ขณะที่มีคนหลายคนหายสาบสูญไปแล้ว…

รัสเซียตอกสหรัฐ กล่าวหาตั้งบัญชีปลอมปั่นข่าวโควิด-19

Loading

แฟ้มภาพ ตำรวจรัสเซียเดินตรวจตราที่จัตุรัสแดงในกรุงมอสโก กระทรวงการต่างประเทศรัสเซียตอกกลับสหรัฐจงใจให้ข้อมูลเท็จ ด้วยการกล่าวหาว่ารัสเซียอยู่เบื้องหลังขบวนการปล่อยข่าวปลอม รวมถึงกระพือทฤษฎีสมคบคิดว่าไวรัสโควิด-19 เป็นอาวุธชีวภาพของสหรัฐเพื่อโจมตีจีนและทำลายภาพลักษณ์ของสหรัฐในสายตาชาวโลก รายงานเอเอฟพีเมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2563 กล่าวว่า การตอบโต้ของกระทรวงการต่างประเทศรัสเซียมีออกมาภายหลังเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐกล่าวโทษรัสเซียว่าเกี่ยวโยงกับบัญชีโซเชียลมีเดียปลอมหลายพันบัญชี ทั้งทวิตเตอร์, เฟซบุ๊ก และอินสตาแกรม ในภาษาต่างๆ ที่พยายามเผยแพร่คำเตือนเกี่ยวกับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ข้อมูลที่สื่อออกมาต้องการทำลายภาพลักษณ์ของสหรัฐ แต่กำลังส่งผลกระทบต่อความพยายามต่อสู้กับการแพร่ระบาดของไวรัสนี้ทั่วโลก ฟิลิป รีกเกอร์ รักษาการผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐด้านยุโรปและยูเรเซีย กล่าวว่า เจตนาของรัสเซียคือการหว่านความบาดหมางและบ่อนทำลายสถาบันและพันธมิตรของสหรัฐจากภายใน รวมถึงผ่านการรณรงค์โน้มน้าวใส่ร้ายแบบซ่อนเร้นและบีบบังคับ ด้วยการเผยแพร่ข้อมูลผิดๆ เกี่ยวกับไวรัสโคโรนา รายงานของสหรัฐกล่าวว่า คำกล่าวหาที่แพร่สะพัดทางออนไลน์เมื่อไม่สัปดาห์ที่แล้วมา รวมถึงคำกล่าวหาที่ว่า ไวรัสโคโรนาเป็นแผนการของสหรัฐเพื่อทำสงครามเศรษฐกิจกับจีน, ไวรัสนี้เป็นอาวุธชีวภาพที่ผลิตโดยซีไอเอ หรือเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่โลกตะวันตกเป็นผู้นำในการผลักดันสารต่อต้านจีน แม้แต่ปัจเจกชนที่เป็นอเมริกัน อาทิ บิล เกตส์ ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟท์ที่บริจาคเงินหลายพันล้านดอลลาร์เพื่อโครงการสุขภาพทั่วโลก ก็ยังถูกกล่าวหาผิดๆ ว่าเกี่ยวข้องกับไวรัสนี้ด้วย เมื่อวันเสาร์ สำนักข่าวทาสส์ของทางการรัสเซีย อ้างคำกล่าวมาเรีย ซาคาโรวา โฆษกกระทรวงการต่างประเทศรัสเซีย ปฏิเสธคำกล่าวหาของสหรัฐ โดยระบุว่า เป็นการให้ข่าวเท็จโดยเจตนา เจ้าหน้าที่รัฐบาลสหรัฐที่เฝ้าสังเกตความเคลื่อนไหวทางออนไลน์ตรวจพบการรณรงค์ให้ข้อมูลเท็จตั้งแต่กลางเดือนมกราคม ภายหลังทางการจีนประกาศว่ามีผู้เสียชีวิตด้วยไวรัสโคโรนาที่อู่ฮั่นเป็นรายที่ 3 เอเอฟพีอ้างรายงานฉบับหนึ่งที่จัดเตรียมสำหรับศูนย์ความเกี่ยวพันทั่วโลกของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐว่า บัญชีออนไลน์หลายพันบัญชี ที่ก่อนหน้านี้เคยเผยแพร่ข้อความสนับสนุนรัสเซียในเหตุการณ์ใหญ่ๆ เช่นสงครามในซีเรีย,…

องค์การอนามัยโลกเตือนระวังแคมเปญ Phishing เรื่องไวรัสโคโรน่า

Loading

credit : Bleepingcomputer แน่นอนว่าหลังจากเรื่องไวรัสโคโรน่ากลายเป็นเรื่องเหตุการณ์ระดับโลก ก็ย่อมมีคนร้ายฉวยโอกาสความดังเพื่อสร้างประโยชน์ โดย Sophos พบแคมเปญ Phishing ที่พยายามหลอกล่อให้เหยื่อดาวน์โหลดและเปิดเอกสารผ่านปุ่ม ‘Safety Measure’ หลังจากนั้นก็จะ Redirect เหยื่อไปยังหน้า WHO ปลอมและหลอกให้ Verify อีเมลเพื่อขโมย Credentials (ภาพตามด้านบน) ด้วยเหตุนี้เอง WHO จึงออกมาเตือนถึงแคมเปญดังกล่าวและไม่ให้หลงเชื่ออีเมลหรือการติดต่อชวนเชื่อว่าเป็นเจ้าหน้าที่ พร้อมกันนี้ยังได้แนะนำมาตรการป้องกันตัวไม่ให้ตกเป็นเหยื่อไว้ดังนี้ ตรวจสอบอีเมลที่ส่งมาว่าเป็นของ WHO จริงหรือไม่ ซึ่งจะเป็นโดเมน person@who.int ลิงก์ที่ปรากฏอยู่ภายใต้โดเมนของ WHO จริงหรือไม่ โดยโดเมนจริงคือ https://www.who.int หรือลองนำ URL ใส่เข้าไปเองใน Address Bar ก็ได้ อย่าให้ข้อมูลส่วนบุคคล โดยเฉพาะ Credentials แก่ Third-party แม้กระทั่ง WHO อย่าตกเป็นเหยื่อของความรู้สึกกดดันที่คนร้ายพยายามทำให้เรารู้สึกร้อนใจ ถ้าตระหนักได้ว่าพลาดให้ข้อมูลละเอียดอ่อนไปแล้ว ก็รีบเปลี่ยน Credentials ที่เกี่ยวข้องทันที (เปิด 2-Factors Authentication ด้วยนะครับ)…

ระวังภัย พบการใช้ฟิชชิ่งหลอกขโมยรหัส OTP ยึดบัญชี LINE ตรวจสอบก่อนตกเป็นเหยื่อ

Loading

ปัญหาการขโมยบัญชี LINE นั้นมีการรายงานเข้ามาอยู่เรื่อยๆ ถึงแม้ว่าในช่วงหลังทาง LINE เองได้มีการปรับปรุงระบบความมั่นคงปลอดภัยให้มากขึ้น อย่างเช่นการใช้รหัสยืนยันเพื่อเป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการล็อกอิน (ข่าวเก่า https://www.thaicert.or.th/newsbite/2019-12-20-01.html) แต่หากผู้ใช้ไม่ระวังก็ยังมีความเสี่ยงที่อาจจะถูกหลอกขโมยรหัสผ่านและอาจถูกขโมยบัญชีได้ มีรายงานจากผู้ใช้ทวิตเตอร์ชื่อ Xia Tianguo ว่าพบการโจมตีแบบฟิชชิ่งเพื่อขโมยบัญชี LINE โดยหลังจากที่ผู้ประสงค์ร้ายสามารถได้อีเมลและรหัสผ่านสำหรับล็อกอินบัญชี LINE ได้แล้ว (อาจจะด้วยการเดารหัสผ่านหรือหลอกขโมยรหัสผ่าน) จะล็อกอินเข้าบัญชีดังกล่าวผ่าน LINE บน PC จากนั้นเมื่อมีการถามรหัส OTP จะส่งหน้าเว็บไซต์ปลอมไปหลอกถามข้อมูลจากเหยื่อ ซึ่งหากเหยื่อหลงเชื่อให้ข้อมูลดังกล่าวก็อาจถูกยึดบัญชี LINE ได้ทันที การโจมตีในลักษณะนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับบริการอื่นๆ ด้วย ผู้ใช้งาน LINE ควรตั้งรหัสผ่านที่คาดเดาได้ยากและไม่ซ้ำกับรหัสผ่านที่ใช้ในบริการอื่น ตรวจสอบ URL ของเว็บไซต์ก่อนล็อกอินบัญชี LINE หากพบข้อความแจ้งว่ามีการล็อกอินจากอุปกรณ์อื่นโดยที่ผู้ใช้ไม่ได้เป็นผู้กระทำควรเปลี่ยนรหัสผ่านทันที ——————————————– ที่มา : ThaiCERT / 18 กุมภาพันธ์ 2563 Link : https://www.thaicert.or.th/newsbite/

สหรัฐฯ ประกาศกฎระเบียบใหม่เพื่อควบคุมการทำงานสื่อรัฐบาลจีน

Loading

A military delegate reads a China Daily newspaper ahead of the second plenary session of the National People’s Congress (NPC) in Beijing March 9, 2009. REUTERS/David Gray (CHINA POLITICS SOCIETY IMAGE OF THE DAY TOP PICTURE) รัฐบาลสหรัฐฯ เตรียมบังคับใช้กฎระเบียบใหม่ เพื่อควบคุมการทำงานของสื่อจีนในประเทศ เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการที่รัฐบาลจีนพยายามใช้สื่อของตนเพื่อดำเนินแผนโฆษณาชวนเชื่อ แหล่งข่าวจากกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เปิดเผยว่า กฎระเบียบใหม่นี้เกิดขึ้นหลังจีนยกระดับการควบคุมการทำงานสื่อของรัฐ และประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ใช้งานสื่อรัฐในเชิงรุกมากขึ้น ทั้งในแง่ของเนื้อหาและการทำงานของกองบรรณาธิการ ภายใต้กฎระเบียบใหม่นี้ พนักงานของสื่อรัฐหลัก 5 แห่งของจีนที่อยู่ในสหรัฐฯ ต้องลงทะเบียนตัวตนและทรัพย์สินในอเมริกาไว้กับรัฐบาลสหรัฐ เช่นเดียวกับที่พนักงานและเจ้าหน้าที่สถานทูตต่างประเทศต้องทำ โดยสื่อที่ต้องปฏิบัติตามกฎใหม่นี้…