สิงคโปร์สั่งเฟซบุ๊กบล็อคเพจต่อต้านรัฐบาล ปิดปากพวกวิพากษ์วิจารณ์

Loading

เอเอฟพี – สิงคโปร์ในวันจันทร์(17ก.พ.) ออกคำสั่งถึงเฟซบุ๊กให้บล็อคเพจต่อต้านรัฐบาล ความเคลื่อนไหวล่าสุดในการใช้กฎหมายจัดการกับการให้ข้อมูลผิดๆ แต่ถูกฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์กล่าวหาว่าเป็นความพยายามจำกัดสิทธิเสรีภาพการแสดงความคิดเห็น กฎหมายให้อำนาจคณะรัฐมตรีสั่งแฟลตฟอร์มอินเตอร์เน็ตและเว็บไซต์ต่างๆวางคำเตือนไว้ใกล้กับโพสต์ข้อความทั้งหลายที่พวกเขามองว่าเป็นข้อมูลผิดๆ เช่นเดียวกับสามารถสั่งบล็อคเพจต่างๆเหล่านั้นจากการเข้าถึงของพวกผู้ใช้ภายในเมืองที่คุมเข้มกฎระเบียบแห่งนี้ ในขณะที่ส่วนใหญ่ยอมทำตามกฎหมายดังกล่าว แต่เว็บไซต์การเมืองอย่าง States Times Review (STR) ซึ่งมักโพสต์หัวข้อวิพากษ์วิจารณ์ ปฏิเสธที่จะปฏิบัติตาม ถ้อยแถลงจากกระทรวงสื่อสารระบุว่าเฟซบุ๊กได้รับแจ้งให้บล็อคพวกผู้ใช้สิงคโปร์จากการเข้าถึงเพจ STR เนื่องจากเพจแห่งนี้ข้อมูลอันเป็นเท็จซ้ำๆและไม่ปฏิบัติตามคำสั่งที่ขอให้โพสต์ข้อมูลที่ถูกต้อง ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่เพียงแค่ขอให้แก้ไขข้อมูลในโพสต์เฟซบุ๊กให้ถูกต้อง รวมถึงวางข้อมูลที่ถูกต้องไว้ใกล้ๆกับข้อมูลอันเป็นเท็จ แต่หนนี้ถือเป็นครั้งแรกที่พวกเขาหาทางบล็อคเพจเฟซบุ๊กเพจใดเพจหนึ่ง เมื่อวันศุกร์(14ก.พ.) รัฐบาลออกคำสั่งถึง States Times Review ให้เตือนผู้อ่านบนเพจเฟซบุ๊กของตนเองว่าพวกเขามักโพสต์ข้อมูลเท็จอยู่เป็นประจำ แต่เว็บไซต์แห่งนี้ไม่ยอมทำตาม เว็บไซต์ States Times Review ถูกกล่าวหาแพร่ข้อมูลข่าวสารอันเป็นเท็จมาแล้วหลายต่อหลายครั้ง ในนั้นรวมถึงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเจ้าหน้าที่อ้างว่าเว็บไซต์แห่งนี้โพสต์ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ รายงานข่าวระบุว่าเว็บไซต์แห่งนี้ดูแลโดย อเล็กซ์ ตัน ซึ่งอ้างว่าตนเองเป็นพลเมืองออสเตรเลียที่พักอาศัยอยู่ในต่างแดน เฟซบุ๊กยังไม่ออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรายงานข่าวนี้ แต่เมื่อเดือนพฤศจิกายน สื่อสังคมออนไลน์แห่งนี้ได้วางข้อมูลที่ถูกต้องไว้ใกล้ๆข้อมูลที่โพสต์โดยตัน ตามคำร้องขอของรัฐบาล ความเคลื่อนไหวของรัฐบาลสิงคโปร์ มีขึ้นท่ามกลางข่าวลือที่ว่าศึกเลือกตั้งทั่วไปจะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า แม้หลายฝ่ายมองว่าฝ่ายค้านอยู่ในภาวะที่อ่อนแออย่างมากและคงไม่สามารถสู้รบกับพรรครัฐบาลได้ รัฐบาลสิงคโปร์ ซึ่งมักถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นประจำต่อการจำกัดสิทธิเสรีภาพของพลเรือน ยืนยันว่ากฏหมายนี้มีความจำป็น เพื่อสกัดการเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จบนสื่อสังคมออนไลน์ ที่อาจก่อความเสียหายในวงกว้าง ——————————————————– ที่มา…

Big Data Is A Big Problem : เปลี่ยนดีเอ็นเอให้เป็นฮาร์ดไดร์ฟเก็บข้อมูล

Loading

By : sopon supamangmee | Feb 18, 2020 เคยมีคำถามกันบ้างไหมครับเวลาอัพโหลดรูปภาพบนเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม หรือลงวิดีโอไว้บนยูทูบแล้วรูปไปอยู่ที่ไหน? เราใช้บริการเหล่านี้ในชีวิตประจำวันจนแทบไม่เคยตั้งคำถามหรือคิดถึงมันเลยด้วยซ้ำ หลายคนก็อาจจะตอบว่าก็คงไปอยู่บนคลาวน์ “ที่ไหนสักแห่งหนึ่ง” ที่มีพื้นที่มากมาย ซึ่งก็ไม่ผิด แต่ก็ไม่ถูกซะทีเดียว เพราะในความเป็นจริงแล้ว ไฟล์หรือข้อมูลเหล่านี้แม้ว่าจะอยู่ในรูปแบบดิจิทัล ไม่ใช่ปึกกองกระดาษเหมือนหนังสือเล่ม หรือม้วนวิดีโอ แต่ว่าไฟล์ดิจิทัลเหล่านี้ก็ยังต้องการพื้นที่สำหรับจัดเก็บที่เรียกว่า ‘data center’ หรือ ศูนย์ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นพื้นที่ตึกที่เต็มไปด้วยเซิร์ฟเวอร์หลายพันหลายหมื่นตัว (มีการประมาณการจาก Gartner ว่าในปี 2016 กูเกิลมีเซิร์ฟเวอร์กว่า 2.5 ล้านตัวใน data center ของตัวเองทั่วโลก) ไฟล์ดิจิทัล แต่พื้นที่จัดเก็บนั้นไม่สามารถเป็นดิจิทัลได้ ไม่ใช่แค่ยักษ์ใหญ่อย่างกูเกิลเท่านั้นที่มี data center ขนาดเท่าสนามฟุตบอลกระจายอยู่ทั่วโลก บริษัทอื่นๆ อย่างเน็ตฟลิกซ์, ไลน์, วอทส์แอป, ทวิตเตอร์, แอมะซอน ฯลฯ หรือเรียกได้ว่าผู้ให้บริการออนไลน์ทุกเจ้าจะต้องมีพื้นที่จัดเก็บข้อมูลเหล่านี้ด้วยกันทั้งนั้น ทุกครั้งที่มีการส่งอีเมล แชร์รูปบนเฟซบุ๊ก สตรีมเน็ตฟลิกซ์ ค้นหาบนกูเกิล ​เซิร์ฟเวอร์เหล่านี้แหละที่ทำงานอยู่เบื้องหลังตลอดเวลา มีการคาดการณ์ว่าข้อมูลออนไลน์จะเติบโตจาก 33 ZB…

กรณีเอกสารลับขององค์กรอิสระถูกนำไปเปิดเผยสาธารณะ

Loading

ด้วยเหตุที่ต้องดูแล คุ้มครอง และป้องกันข้อมูลข่าวสารในครอบครองของทางราชการโดยเฉพาะที่กำหนดชั้นความลับหรือสำคัญ ให้มีความปลอดภัย ไม่รั่วไหลไปสู่ผู้ไม่มีอำนาจหน้าที่หรือถูกนำออกไปเปิดเผยสาธารณะก่อนเวลาอันสมควร ทางราชการจึงกำหนดระเบียบสำหรับส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐอื่นให้สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางปฏิบัติหรือนำไปปรับใช้ตามความเหมาะสมกับอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ จึงมีการกำหนดระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ.2544 ซึ่งประกาศใช้ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารราชการ พ.ศ.2540 ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2561 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติขึ้น แต่ด้วยความหลากหลายของหน่วยงานรัฐและองค์กรอิสระที่จัดตั้งขึ้นตามสภาพการปรับเปลี่ยนในฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ ส่งผลให้ระเบียบราชการตามกล่าวข้างต้น ซึ่งได้ประกาศใช้มาก่อนนั้น ไม่ครอบคลุมหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นใหม่และเกิดความไม่ชัดเจนในการถือปฏิบัติตามระเบียบนั้นๆ อย่างเช่น หน่วยงานของรัฐตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ.2544 ไม่ได้ระบุถึงองค์กรอิสระที่มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่เป็นนิติบุคคล เป็นต้น เมื่อนำกรณีสำนวนสืบสวนการกู้ยืมเงินของพรรคอนาคตใหม่ถูกนำไปเปิดเผยต่อสาธารณะ และเป็นเอกสารกำหนดชั้นความลับของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จึงเป็นที่สังเกตเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติต่อเอกสารในครอบครองของสำนักงาน กกต. เนื่องจาก สำนักงาน กกต. มีหน้าที่รับผิดชอบ ครอบครองและดูแลรักษาเอกสารที่มีความสำคัญหลายประเภทและมีจำนวนมาก แต่ข้อมูลเกี่ยวกับระเบียบ ข้อกำหนด หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวกับความลับของทางราชการที่แสดงไว้ใน www.ect.go.th/ect_th/ ซึ่งเป็นเพจเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของ สำนักงาน กกต. พบระเบียบภายในเกี่ยวกับการจัดการเอกสารเพียงระเบียบเดียว คือ ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการเก็บรักษาและการทําลายเอกสาร พ.ศ.2552 โดยตามเนื้อหาของระเบียบ กกต. นั้น พิจารณาได้ว่า เป็นการจัดการด้านธุรการพื้นฐานและไม่ได้ระบุถึงการดำเนินการเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นความลับของทางราชการ ระเบียบ กกต.…

เทคโนโลยีจดจำใบหน้า ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลหรือไม่

Loading

จากความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีในโลกปัจจุบัน ทำให้เกิดเทคโนโลยีหนึ่ง ก็คือ การจดจำใบหน้า แม้ภาครัฐอ้างว่าจะใช้เพื่อป้องกันภัยจากการก่อการร้ายหรืออาชญากรรม แต่ประชาชนกลับมองว่านี้อาจลิดรอนสิทธิขั้นพื้นฐานของตัวเอง เพระาไม่สามารถตรวจสอบการเข้าถึงได้ รัฐนำความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในโลกปัจจุบันมาใช้ โดยอ้างว่าเพื่อปกป้องและป้องกันภัยจากการก่อการร้ายและอาชญากรที่พัฒนาขึ้นทุกวัน แต่ประชาชนทั่วไปรู้สึกว่า สิทธิขั้นพื้นฐานของพวกเขากำลังถูกลิดรอน เพราะไม่สามารถตรวจสอบหน่วยงานรัฐได้ว่าเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวมากน้อยเพียงใด โปรแกรมหนึ่งที่กำลังถูกพูดถึงคือ โปรแกรมจดจำใบหน้า หรือ face-recognition technology ซึ่งหน่วยงานความมั่นคงนำมาใช้เพื่อช่วยให้สืบหาตัวคนร้ายได้รวดเร็วฉับไวมากยิ่งขึ้น ทางการของเกาะฮ่องกง นำเทคโนโลยีนี้มาใช้กับกลุ่มผู้ประท้วง เพื่อหาทางจัดการทางกฎหมายกับผู้ประท้วงที่ฮ่องกง เริ่มมาตั้งแต่ประมาณเดือนมีนาคม 2562 ในช่วงแรกการชุมนุมเป็นไปอย่างสงบ ก่อนที่เหตุการณ์จะเริ่มรุนแรงในเวลาต่อมา หลายต่อหลายครั้งทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมและตำรวจ ต้นตอเริ่มแรกของการประท้วงมาจากความไม่พอใจร่างกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดน ซึ่งผู้ชุมนุมมองว่า รัฐบาลจีน กำลังแทรกแซงสิทธิเสรีภาพของชาวฮ่องกง การประท้วงยืดเยื้อข้ามปี เพราะผู้ประท้วงต้องการเรียกร้องสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้งทั่วไป โดยระบุว่ารัฐบาลฮ่องกงไม่ได้ทำตามคำมั่นสัญญาเกี่ยวกับสิทธิดังกล่าว นับตั้งแต่จีนได้เข้าปกครองฮ่องกงในปี 2540 ว่ากันว่า ตอนนี้ทั้งสองฝ่ายพยายามยั่วยุกัน โดยทางการฮ่องกงเชื่อว่า หากปล่อยให้มีการประท้วงต่อไปเรื่อยๆ ผู้ประท้วงเองจะเลิกราไปเอง ส่วนผู้ประท้วงก็พยายามยั่วยุ เพื่อให้ทางการหมดความอดทน ครั้งหนึ่งมีการเผยแพร่ภาพหนึ่งในโลกออนไลน์ที่เข้าใจว่า เป็นภาพของผู้ประท้วงชาวฮ่องกงคาดศีรษะด้วยอุปกรณ์ดิจิทัล ประกอบด้วยจอโปรเจ็คเตอร์ ซึ่งจะฉายเป็นภาพบุคคลอื่นบนใบหน้าของคนๆ นั้น เพื่อพรางตัวไม่ให้โปรแกรมจดจำใบหน้าจำได้ แต่ต่อมามีการเปิดเผยว่า ภาพดังกล่าวนั้นเป็นส่วนหนึ่งของโครงการที่คิดค้นโดย จิง ไซ หลิว นักศึกษาของ Utrecht School of the Arts…

ทหาร-ตำรวจเอลซัลวาดอร์ตบเท้าบุกสภา บีบอนุมัติกู้ซื้ออาวุธ

Loading

ทหารเอลซัลวาดอร์พร้อมอาวุธยืนเรียงแถวในสภานิติบัญญัติเมื่อวันอาทิตย์ สมาชิกสภาเอลซัลวาดอร์แตกตื่น ทหารและตำรวจพร้อมอาวุธตบเท้าเข้าสภาเมื่อวันอาทิตย์ หนุนหลังประธานาธิบดีนายิบ บูเกเล กดดัน ส.ส.อนุมัติการกู้ยืมงบประมาณ 109 ล้านดอลลาร์เพื่อใช้ซื้อยุทธภัณฑ์สนับสนุนการต่อสู้ปราบปรามแก๊งอาชญากร ประธานาธิบดีนายิบ บูเกเล ผู้นำหนุ่มวัย 38 ปีของเอลซัลวาดอร์เพิ่งชนะการเลือกตั้งเมื่อเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว ด้วยคำมั่นสัญญาว่าจะปราบปรามความรุนแรงโดยพวกแก๊งอาชญากร เขาตั้งใจจะใช้เงินกู้ยืมประมาณ 3,409 ล้านบาทนี้ มาปรับปรุงอาวุธยุทธภัณฑ์ของตำรวจและกองทัพ ในการต่อสู้กับอาชญากรรมรุนแรงในเอลซัลวาดอร์ ซึ่งมีอัตราฆาตกรรมสูงที่สุดชาติหนึ่งในโลก โดยจะใช้สำหรับซื้อยานพาหนะของตำรวจ, เครื่องแบบ, อุปกรณ์ตรวจการณ์และเฮลิคอปเตอร์ 1 ลำ เอเอฟพีรายงานเมื่อวันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ว่า บูเกเลเรียกร้องให้สภาเปิดการประชุมวาระพิเศษช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาเพื่ออภิปรายเรื่องนี้ แต่ถูก ส.ส.ส่วนใหญ่ปฏิเสธ และก่อนที่เขาจะเข้าห้องประชุมสภาเมื่อวันอาทิตย์ ตำรวจและทหารพร้อมอาวุธปืนไรเฟิลกลุ่มใหญ่เดินตบเท้าเข้ามาภายในห้องประชุม ซึ่งเป็นภาพที่ไม่เคยเกิดขึ้นนับแต่สิ้นสุดสงครามกลางเมืองในประเทศนี้เมื่อปี 2535 บูเกเลกล่าวปราศรัยต่อผู้สนับสนุนเขาด้านนอกสภาก่อนหน้านั้นว่า หากพวกเปล่าประโยชน์ (ส.ส.) เหล่านี้ไม่อนุมัติแผนควบคุมอาณาเขตฉบับนี้ภายในสัปดาห์นี้ เราจะเรียกร้องให้พวกเขาจัดการประชุมอีกครั้งในวันอาทิตย์หน้า “เมื่อพวกเจ้าหน้าที่ขัดต่อระบอบรัฐธรรมนูญ ประชาชนชาวซัลวาดอร์ก็มีสิทธิที่จะก่อการกบฏเพื่อกำจัดเจ้าหน้าที่พวกนี้” บูเกเลประกาศต่อผู้สนับสนุนด้านนอกสภา นักการเมืองฝ่ายค้านแสดงความไม่พอใจที่ทหารตำรวจพร้อมอาวุธครบมือบุกเข้าสภา โดยพวกเขากล่าวว่าเป็นพฤติการณ์ข่มขู่คุกคามที่ไม่เคยมีมาก่อน ส่วนภายนอกประเทศก็แสดงความกังวลเช่นกัน องค์กรแอมเนสตีอินเตอร์เนชันแนลออกแถลงการณ์ทางทวิตเตอร์ว่า การออกมาของทหารอาจเป็นจุดเริ่มต้นของหนทางอันตรายต่อสถาบันและต่อสิทธิมนุษยชนในประเทศนี้ ส่วนสหภาพยุโรปแสดงความ “ห่วงกังวลอย่างยิ่ง” ต่อการเผชิญหน้าระหว่างสถาบัน ————————————– ที่มา :…

ทวิตเตอร์ออกกฎจัดการ deepfake แสดงข้อความเตือนและลดการมองเห็นของทวีต เริ่มเดือนหน้า

Loading

ทวิตเตอร์ออกกฎใหม่สำหรับจัดการกับสื่อประเภท deepfake อย่างเป็นทางการ โดยนโยบายใหม่นี้จะจำกัดไม่ให้แชร์ข้อมูลปลอมที่อาจสร้างผลกระทบหรือความเสียหายได้ ทวิตเตอร์มีปัจจัยในการพิจารณาทวีตอยู่ 3 ข้อ ว่าจะทำเครื่องหมาย, แสดงข้อความเตือนหรือลบทวีตเหล่านั้นหรือไม่ ดังนี้ สื่อถูกสังเคราะห์หรือเปลี่ยนแปลงหรือไม่? ไม่ว่าจะเป็นลำดับ, เวลา, เฟรม ไปจนถึงข้อมูลว่าถูกลบหรือสร้างขึ้นมาหรือไม่ และมีคนจริงถูกจำลองหรือปลอมขึ้นมาหรือไม่ สื่อถูกแชร์ในลักษณะตั้งใจให้โกหกหลอกลวงหรือไม่? พิจารณาจากข้อความในทวีต, เมตะดาต้าที่อยู่ในสื่อ, ข้อความบนโปรไฟล์ของผู้ที่แชร์ และเว็บไซต์ที่ลิงก์ในโปรไฟล์หรือในทวีต คอนเทนต์มีผลกระทบต่อความปลอดภัยต่อประชาชน หรืออาจส่งผลให้เกิดความเสียหายอย่างหนักหรือไม่? ไม่ว่าจะเป็นภัยคุกคามต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคล, ความเสี่ยงในความรุนแรงหรือความไม่สงบในวงกว้าง และภัยคุกคามต่อความเป็นส่วนตัวหรือสิทธิต่าง ๆ ของบุคคลหรือกลุ่มบุคคล ปัจจัยเหล่านี้ ทวิตเตอร์จะนำมาพิจารณาในการใส่ข้อความเตือนลงในทวีต, ใส่เครื่องหมาย, ลดการมองเห็นของทวีตโดยไม่ขึ้นเป็นทวีตแนะนำ และเพิ่มรายละเอียดในแลนดิ้งเพจ โดยทวิตเตอร์จะเริ่มใช้มาตรการนี้ในวันที่ 5 มีนาคม เป้าหมายของการออกกฎจัดการ deepfake ก็เพื่อรับมือกับข้อมูลปลอมก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปีนี้ โดยกฎนี้กำหนดขึ้นจากแบบร่างที่ทวิตเตอร์ได้เสนอก่อนหน้าและรับฟังความเห็นกว่า 6,500 ความเห็นจากผู้ใช้ทั่วโลกผ่านแฮชแท็ก #TwitterPolicyFeedback เพื่อนำมาปรับปรุงให้เป็นฉบับสมบูรณ์ ———————————————————————- ที่มา : Blognone / 5 กุมภาพันธ์ 2563 Link : https://www.blognone.com/node/114529