โป๊ปจับมือ Microsoft, IBM ปั้นจริยธรรม AI และเทคโนโลยีจดจำใบหน้า

Loading

วาติกันประกาศความร่วมมือกับ 2 ยักษ์ใหญ่ไมโครซอฟท์ (Microsoft) และไอบีเอ็ม (IBM) เพื่อหนุนการสร้างจริยธรรมระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) และระบบจดจำใบหน้าให้ไม่ถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด โดยวาติกันเปิดเอกสารเรียกร้องให้มีการควบคุมการใช้ปัญญาประดิษฐ์อย่างเข้มข้น ย้ำว่าเครื่องมือเอไอควรทำงานอย่างยุติธรรม โปร่งใส เชื่อถือได้ และเคารพชีวิตมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ผลจากความร่วมมือนี้ทำให้ไมโครซอฟท์และไอบีเอ็มมีภาพชัดเจนว่าได้เข้าร่วมขานรับแนวคิดของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส โดยทั้งคู่สนับสนุนเอกสารดังกล่าว ซึ่งการเปิดเผยเอกสารนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่สมเด็จพระสันตะปาปาทรงคำนึงถึงประเด็นทางศีลธรรมและจริยธรรมที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีใหม่เอกสารนี้มีชื่อว่าเดอะโรมคอลล์ฟอร์เอไออีธิกส์ (The Rome Call for AI Ethics) จากเนื้อความในเอกสาร ชัดเจนว่าสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสทรงหวังที่จะกำจัดปัญญาประดิษฐ์ที่มีจุดประสงค์ชั่วร้าย และเทคโนโลยีที่อาจเป็นอันตรายเช่นการจดจำใบหน้า ทำให้วาติกันร่วมมือกับไมโครซอฟท์และไอบีเอ็มเพื่อรวบรวมหลักการที่เรียกได้ว่าเป็นหลักการใช้เอไออย่างมีจริยธรรมและศีลธรรมจุดเด่นของเอกสารนี้คือรายละเอียดว่าเอไอควรโฟกัสในประเด็นที่ไม่ใช่เทคโนโลยี แต่ควรเน้นที่ความดีของมนุษยชาติและสิ่งแวดล้อม เอกสารนี้ยังกระตุ้นให้ผู้เชี่ยวชาญเอไอพยายามตอบโจทย์ความจำเป็นของผู้ด้อยโอกาสบนโลกด้วยแทนที่จะเป็นอัลกอลิธึม แต่เอกสารนี้ใช้คำว่า “อัลกออีธิกส์” (algor-ethics) โดยอธิบายว่า algor-ethics คือการรวมองค์ประกอบพื้นฐานของนวัตกรรมที่ดี จุดประสงค์คือการเรียกร้องให้เทคโนโลยีต่างๆถูกพัฒนาบนความโปร่งใสตรวจสอบได้ ขณะเดียวกันก็ควรเปิดกว้างและทั่วถึงเพื่อให้บุคคลทุกคนสามารถรับประโยชน์จากการพัฒนาได้ ที่ขาดไม่ได้คือความรับผิดชอบ เพราะผู้ที่ออกแบบและปรับใช้ AI ควรต้องดำเนินการด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและโปร่งใสนอกจากนี้คือความเป็นกลาง เนื่องจากผู้พัฒนาไม่ควรสร้างหรือพัฒนาเทคโนโลยีด้วยความลำเอียง เช่นเดียวกับความน่าเชื่อถือ ความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัวซึ่งขาดไม่ได้ เพื่อให้ระบบทำงานอย่างปลอดภัยและเคารพความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้เอกสารของวาติกันยังให้คำแนะนำสำหรับเทคโนโลยีที่อาจเป็นอันตรายเช่นระบบวิเคราะห์และจดจำใบหน้า ซึ่งเน้นให้ผู้พัฒนาพยายามปฏิบัติตามหลักจริยธรรมเช่นกันแม้ระบบล้ำสมัยอย่างเอไอมักชูจุดขายเรื่องการนำไปใช้งานเพื่อยกระดับความปลอดภัย แต่การวิจัยพบว่าเอไอบางประเภทได้รับการฝึกให้มีอคติทางเชื้อชาติและเพศ ซึ่งอาจเป็นอันตรายมากกว่าการช่วยเหลือมนุษยชาติ โดยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา กลุ่มทุนมากมายพยายามควบคุมเทคโนโลยีเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ ทั้งทางการค้าและทางการเมือง ยังมีปัญหาเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมซึ่งสร้างความเสียหายให้สังคมแบบประเมินค่าไม่ได้หลักปฏิบัติแบบเต็มซึ่งได้รับการรับรองจากไอบีเอ็มและไมโครซอฟท์แล้ว สามารถอ่านได้จากลิงก์นี้ —————————————— ที่มา…

เรียก ‘ค่าไถ่ไซเบอร์’ ด้วย ‘อีเมล’

Loading

3 มีนาคม 2563 | โดย นักรบ เนียมนามธรรม | คอลัมน์ THINKSECURE เปิดเบื้องหลัง เมื่อองค์กรใหญ่รายหนึ่งถูกจู่โจมด้วยวิธีการส่ง “อีเมลหลอกลวง” ที่ซับซ้อน (Spear-phishing) จนทำให้เกิดผลกระทบกับการผลิตและกำไรของบริษัทในเวลาต่อมา การจู่โจมด้วยแรนซัมแวร์เริ่มกลับมาแพร่หลายอีกครั้ง เชื่อหรือไม่ว่า แม้องค์กรจะวางระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ดีอย่างไร ระบบนั้นก็จะถูกเจาะเข้ามาได้ หากองค์กรไม่ได้ให้ความสำคัญกับการให้ความรู้บุคลากรที่ทำงานในองค์กร ไม่นานมานี้หน่วยงานด้านความมั่นคงทางด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้ และโครงสร้างทางด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้ ได้แจ้งเตือนไปยังหน่วยงานสำคัญๆ ทางด้านสาธารณูปโภคเกี่ยวกับการเรียกค่าไถ่ทางไซเบอร์ หรือแรนซัมแวร์ตัวใหม่ที่อาจก่ออันตรายให้กับองค์กร การแนะนำนี้เกิดขึ้นหลังจากที่บริษัททางด้านพลังงานธรรมชาติถูกจู่โจมด้วยวิธีการส่งอีเมลหลอกลวงที่ซับซ้อน (Spear-phishing) ซึ่งได้แนบแรนซัมแวร์ หรือก็คือมัลแวร์เรียกค่าไถ่โดยการเข้ารหัสไฟล์ข้อมูล ไปยังระบบเครือข่ายภายในของบริษัท และเข้ารหัสข้อมูลสำคัญๆ รวมถึงทำให้เซิร์ฟเวอร์หลายๆ ตัวไม่สามารถที่จะทำงานได้เป็นเวลาเกือบสองวันเลยทีเดียว  การจู่โจมด้วยแรนซัมแวร์นี้ได้เริ่มกลับมาแพร่หลายอีกครั้งพร้อมด้วยการยกระดับความถี่ในการโจมตี รวมถึงขยายผลการจู่โจมให้ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ หน่วยงานดังกล่าวพบว่า การจู่โจมนั้นไม่ได้กระทบกับระบบควบคุม (PLCs) และเหยื่อที่โดนจู่โจมยังสามารถควบคุมระบบปฏิบัติการได้อยู่ แต่ผลจากเหตุการณ์นี้ก็ทำให้ทางบริษัทพิจารณาว่าสมควรที่จะปิดระบบ จนทำให้เกิดผลกระทบกับการผลิตและกำไรของบริษัทในเวลาต่อมา ซึ่งผลกระทบนั้นกระทบเฉพาะกับระบบที่เป็น Windows-based Systems และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ตั้งอยู่ ณ สถานที่ที่ถูกโจมตีเท่านั้น และทางบริษัทสามารถที่จะฟื้นฟูการโจมตีครั้งนี้ด้วยการเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ถูกโจมตีออก และใส่การตั้งค่าเข้าไปใหม่ อย่างไรก็ดีการแจ้งเตือนยังไม่ได้ระบุรายละเอียดมากนัก และนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการใช้ลิงก์หลอกลวงส่งมาพร้อมกับแรนซัมแวร์ ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้ได้มีการเปิดเผยว่า ในเดือน…