5 เคล็ดลับในการซ่อนตัวตน ในการใช้งานอินเทอร์เน็ตให้ได้มากที่สุด

Loading

แน่นอนว่าพวกเราต่างพยายามที่จะทำให้ตัวเองไม่เป็นจุดสนใจหรือโดนสืบความเคลื่อนไหว แต่มีน้อยรายมากที่เชี่ยวชาญจนกระทั่งแทบหลบเรดาร์การตรวจจับจากทุกฝ่ายได้โดยสิ้นเชิง ซึ่งทาง TechNotification.com ได้รวบรวมวิธีการที่จะทำให้คุณสร้างความไร้ตัวตนระหว่างการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตให้ได้มากที่สุด ซึ่งไม่ใช่วิธีที่ต้องลงทุนอะไรใหม่ แต่เป็นการปรับปรุงจากสิ่งที่พวกเรามีอยู่แล้ว โดยจะเน้นวิธีที่ได้ประสิทธิภาพดีที่สุดอย่างการใช้วีพีเอ็น 01 การติดตั้งวีพีเอ็น ขั้นตอนแรกสุดของการรักษาความเป็นนิรนามบนโลกออนไลน์ของคุณก็คือ การติดตั้งระบบวีพีเอ็น (VPN) เนื่องจากมีบทบาทสำคัญในการซ่อนที่อยู่ไอพีที่แท้จริง และเข้ารหัสข้อมูลของคุณไปพร้อมกัน เพียงแค่ติดตั้งเครือข่ายภายในบนเซิร์ฟเวอร์ ตัววีพีเอ็นก็จะซ่อนที่อยู่ของคุณ ทำให้แฮ็กเกอร์สืบตามตัวหรือจับตากิจกรรมบนโลกออนไลน์ได้ยากกว่าเดิม ที่สำคัญที่สุดคือ วีพีเอ็นจะเข้ารหัสข้อมูลทุกอย่างที่มีการสื่อสารของคุณ จึงปลอดภัยแม้แฮ็กเกอร์เข้าถึงการเชื่อมต่อก็ตาม 02 การติดตั้งวีพีเอ็นบนระบบปฏิบัติการ หลายครั้งมากที่เราพบความผิดพลาดของผู้ใช้ที่เลือกติดตั้งวีพีเอ็นบนบราวเซอร์ตัวเองเพียงอย่างเดียว แทนที่จะติดตั้งกับระบบปฏิบัติการทั้งระบบ แม้จะยอมรับว่าความปลอดภัยของข้อมูลส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของการรับส่งข้อมูลออนไลน์ แต่การติดตั้งวีพีเอ็นบนบราวเซอร์ก็หมายความว่าคุณจะได้รับประโยชน์จากการปกป้องความเป็นส่วนตัวเฉพาะสิ่งที่ทำผ่านเว็บบราวเซอร์เท่านั้น ทั้งๆ ที่วีพีเอ็นควรจะสามารถปกป้องครอบคลุมทั้งระบบที่ใช้งาน โดยเฉพาะบนแพลตฟอร์มโอเอสด้วย 03 ใช้ที่อยู่ไอพีส่วนตัว ที่ล็อกไว้ตายตัว เวลาเลือกใช้บริการวีพีเอ็นนั้น แนะนำให้เลือกแบบที่ใช้ที่อยู่ไอพีแบบตายตัวที่อุทิศสำหรับเราคนเดียวมากกว่าที่อยู่ไอพีที่ใช้ร่วมกับคนอื่น เพื่อให้ได้ประโยชน์ในการเป็นนิรนามมากที่สุด เพราะเป็นที่อยู่ไอพีที่คุณคนเดียวใช้งาน สิ่งที่แตกต่างจากที่อยู่ไอพีแบบ Shared คือ แบบ Dedicated จะไม่ถูกใช้งานร่วมกับผู้ใช้วีพีเอ็นรายอื่น ทำให้คุณได้ประโยชน์ทั้งความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวมากกว่า แต่นั่นหมายความว่าราคาค่าบริการก็จะแพงกว่าปกติด้วย 04 ตรวจสอบว่าไฟร์วอลล์และสวิตช์ปิดระบบ (Kill Switch) พร้อมใช้งานเสมอ กิจกรรมบนโลกออนไลน์ของคุณ หรือมาตรการด้านความปลอดภัยจะไร้ค่าทันทีถ้าการเชื่อมต่อแบบไพรเวทของคุณถูกปิดการทำงานไม่ว่าด้วยสาเหตุใดก็ตาม อันที่จริง ปัญหาการเชื่อมต่อนั้นมักเกิดขึ้นเสมอกับการเชื่อมต่อผ่านวีพีเอ็น ดังนั้นการเชื่อมต่อของคุณจำเป็นต้องมีสวิตช์ปิดระบบทันทีที่สามารถสั่งปิดเพื่อป้องกันข้อมูลจริงรั่วไหลออกไปโดยไม่ได้เข้ารหัสตามปกติ Kill Switch…

โปแลนด์สั่งปรับโรงเรียนตามกฎหมาย GDPR จากการใช้ไบโอเมตริกตรวจสอบสิทธิ์ในการรับอาหารของนักเรียน

Loading

ภาพโดย MichaelGaida/Pixabay โรงเรียนในประเทศโปแลนด์ถูกทางการสั่งปรับเป็นเงิน 20,000 zloty (หน่วยเงินของโปแลนด์ คิดเป็นเงินไทยราว 166,000 บาท) ตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลยุโรปหรือ GDPR หลังจากทางโรงเรียนประมวลผลข้อมูลลายนิ้วมือของนักเรียนเพื่อตรวจสอบการจ่ายเงินค่าอาหารกลางวัน Jan Nowak ประธานของ UODO หน่วยงานด้านการปกป้องข้อมูลส่วนตัวในโปแลนด์ระบุว่าทางโรงเรียนได้ประมวลผลลายนิ้วมือของเด็กนับร้อยคนโดยไม่มีมาตรฐานตามกฎหมาย ซึ่งโรงเรียนมีทางเลือกมากมายในการจัดการอาหารของโรงเรียนที่ไม่จำเป็นต้องใช้ลายนิ้วมือ UODO ระบุว่า โรงเรียนแห่งนี้ใช้เครื่องอ่านไบโอเมตริกตรวจสอบนักเรียนที่ทางเข้าโรงอาหารมาตั้งแต่ปี 2015 เพื่อตรวจสอบสิทธิ์การรับอาหารของนักเรียน โดยถ้านักเรียนปฏิเสธที่จะใช้ไบโอเมตริกจะต้องไปต่อท้ายแถว และต้องรอจนกว่าเด็กที่ใช้ไบโอเมตริกจะเข้าโรงอาหารจนหมดก่อนเด็กที่ไม่ใช้จึงจะเข้าได้ ซึ่งประธาน UODO ให้ความเห็นว่ากฎเหล่านี้สร้างการปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียมต่อเด็กและสร้างความแตกต่างอย่างไม่มีเหตุผล แม้ว่าโครงการไบโอเมตริกของโรงเรียนแห่งนี้จะมีคำยินยอมจากผู้ปกครองก็ตาม แต่ UODO พบว่าตามวัตถุประสงค์คือการระบุสิทธิ์ในการรับอาหารกลางวันของนักเรียน ก็ไม่ได้มีความจำเป็นต้องใช้ไบโอเมตริก รวมถึง GDPR ระบุไว้ชัดเจนตาม Retical 38 ว่าข้อมูลส่วนบุคคลของเด็กต้องได้รับการปกป้องเป็นพิเศษเนื่องจากเด็กไม่สามารถตระหนักถึงความเสี่ยงและสิทธิในข้อมูลของตนเอง และไบโอเมตริกก็คือข้อมูลเฉพาะตัวตนที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ หากหลุดออกไปจะถือเป็นความเสี่ยงขั้นรุนแรงต่อเสรีภาพของบุคคลนั้น ๆ ————————————————— ที่มา : Blognone / 7 มีนาคม 2563 Link : https://www.blognone.com/node/115049

Cathay Pacific โดนปรับกว่า 20 ล้านบาทจากเหตุทำข้อมูลลูกค้ารั่ว

Loading

Credit: CathayPacific.com สายการบิน Cathay Pacific ถูกสั่งปรับเป็นเงิน £500,000 (ราว 20 ล้านบาท) จากเหตุความล้มเหลวในการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าให้มั่นคงปลอดภัยในช่วงปี 2014 – 2018 ส่งผลให้ข้อมูลเกือบ 10 ล้านรายการรั่วไหลสู่ภายนอก Information Commissioner’s Office (ICO) ระบุว่า ช่วงระหว่างเดือนตุลาคม 2014 ถึงเดือนพฤษภาคม 2018 ที่ผ่านมา ระบบคอมพิวเตอร์ของสายการบิน Cathay Pacific ขาดมาตรการควบคุมด้านความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสม ส่งผลให้ข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าซึ่งประกอบด้วย ชื่อ พาสปอร์ต วันเกิด อีเมล เบอร์โทรศัพท์ ข้อมูลการเดินทาง และอื่นๆ จากลูกค้าในสหราชอาณาจักร 111,578 ราย และประเทศอื่นๆ ทั่วโลกราว 9,400,000 รายถูกเข้าถึงโดยมิชอบจากบุคคลภายนอก ICO ยังระบุอีกว่า การโจมตีเกิดขึ้นเนื่องจากข้อมููลสำรอง (Backups) ไม่มีการใส่รหัสผ่านหรือเข้ารหัสไว้ เซิร์ฟเวอร์ที่เชื่อมต่อจากอินเทอร์เน็ตก็ไม่มีการแพตช์ช่องโหว่ มีการใช้ระบบปฏิบัติการที่ไม่มีการซัพพอร์ต การใช้แอนตี้ไวรัสไม่เหมาะสม รวมไปถึงการอนุญาตให้เข้าถึงระบบจากภายนอกได้โดยไม่มีการพิสูจน์ตัวตนแบบ…