APWG เผยสถิติฟิชชิ่งไตรมาสสุดท้ายปี 2019 พบ 74% ใช้ HTTPS ส่วนใหญ่หลอกขโมยรหัสผ่านอีเมล

Loading

Anti-Phishing Working Group หรือ APWG เป็นองค์กรความร่วมมือระดับนานาชาติด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลภัยคุกคามประเภทฟิชชิ่งและอาชญากรรมทางไซเบอร์ โดยในแต่ละไตรมาสจะมีการเผยแพร่รายงานสรุปสถานการณ์ภัยคุกคามในภาพรวม ในรายงานสถิติฟิชชิ่งไตรมาสที่ 4 ของปี 2019 มีหลายข้อมูลที่น่าสนใจ ประกอบด้วย เว็บฟิชชิ่ง 74% เป็นการเชื่อมต่อผ่าน HTTPS แล้ว โดยส่วนใหญ่ใช้ใบรับรองที่แจกฟรี (ข้อแนะนำให้ตรวจสอบว่าเว็บไซต์ใช้ HTTPS หรือไม่นั้นเป็นสิ่งที่ล้าสมัยแล้ว) ประเภทกลุ่มธุรกิจที่พบว่าถูกสร้างหน้าเว็บไซต์ปลอมมากที่สุดคือ SaaS/Webmail ซึ่งจุดประสงค์เพื่อขโมยบัญชีอีเมลของผู้ใช้บริการเหล่านี้ รองลงมาคือประเภท Payment ซึ่งเป็นบริการชำระเงินแบบออนไลน์ การโจมตีแบบ Business Email Compromise หรือ BEC ซึ่งเป็นการหลอกให้เจ้าหน้าที่ของบริษัทโอนเงินออกไปให้ผู้ประสงค์ร้ายนั้น 62% เป็นการหลอกให้ซื้อ gift card แล้วส่งรหัสในบัตรเติมเงินไปให้ รองลงมา (22%) คือการหลอกให้โอนเงินไปยังเลขบัญชีของผู้ประสงค์ร้ายโดยตรง การจดโดเมนเพื่อใช้เป็นเว็บฟิชชิ่ง ส่วนใหญ่ยังเป็นการจด .com และ .org แต่ก็เริ่มพบการใช้ .info, .xyz หรือโดเมนที่เป็นโค้ดประเทศ เช่น .br, .uk,…

เยอรมนีบุกทลายแก๊งค้ามนุษย์เวียดนาม

Loading

สำนักงานตำรวจแห่งชาติเยอรมนี ระดมกำลังเจ้าหน้าที่กว่า 700 นาย บุกตรวจค้นบ้านพักและอาคารธุรกิจ กว่า 30 แห่ง ทั่วประเทศ เมื่อวันอังคาร เพื่อกวาดล้างขบวนการค้ามนุษย์จากเวียดนาม สำนักข่าวเอพีรายงานจากกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 3 มี.ค. ว่า ปฏิบัติการจู่โจมมีเป้าหมายจับกุมผู้ต้องสงสัย 13 คน ซึ่งเป็นชาวเวียดนามทั้งหมด และถูกระบุว่าเป็นตัวการใหญ่แก๊งนำพาชาวเวียดนาม เข้าสู่เยอรมนีโดยผิดกฎหมาย อย่างน้อย 155 คน นายแอ็กเซล แบร์นาร์ด โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติเยอรมนี เผยว่า เจ้าหน้าที่จับกุมผู้ต้องสงสัยได้ 6 คนในกรุงเบอร์ลิน และรัฐซัคเซิน และอีก 4 คนจากรัฐอื่นๆ เจ้าหน้าที่หน่วยสอบสวน สำนักงานตำรวจแห่งชาติเยอรมนี เผยว่า กลุ่มผู้ต้องสงสัยร่วมขบวนการนี้ เก็บเงินจากชาวเวียดนามคนละ 5,000 – 20,000 ดอลลาร์สหรัฐ (156,820 – 627,290 บาท)เพื่อเป็นค่าบริการลักลอบนำพาเข้าสู่เยอรมนี โดยผู้อพยพผิดกฎหมายเหล่านี้จำนวนมาก ลงเอยด้วยการทำงานในร้านเสริมสวย ภัตตาคาร และกรรมกรในโรงงาน เพื่อหาเงินจ่ายหนี้ค่าหัวเดินทาง…

บริษัทความปลอดภัยทางไซเบอร์จีนแฉถูกCIAแฮกข้อมูลมานานนับทศวรรษ

Loading

รอยเตอร์ – ฉี่หู่ 360 บริษัทแอนตี้ไวรัสสัญชาติจีน ระบุว่าพวกมือแฮคเกอร์ของซีไอเอเจาะระบบอุตสาหกรรมการบินจีนและเป้าหมายอื่นๆมานานกว่าทศวรรษ ในข้อกล่าวหาล่าสุดเกี่ยวกับกรณีสหรัฐฯทำการจากรรมข้อมูลบริษัทใดบริษัทหนึ่งที่มีสำนักงานในกรุงปักกิ่ง ในข้อความสั้นๆที่โพสต์ลงบนบล็อกๆหนึ่ง ซึ่งเผยแพร่ทั้งเป็นภาษาอังกฤษและจีนเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ทางฉี่หู่อ้างว่าพวกเขาตรวจพบการสอดแนมโดยการเปรียบเทียบตัวอย่างกับซอฟต์แวร์มุ่งร้ายที่พวกเขาเคยเจออยู่ในขุมเครื่องมือสอดแนมทางดิจิตัลของซีไอเอ ตามที่วิกิลีกส์ออกมาแฉเมื่อปี 2017 ฉี่หู่ 360 ซึ่งเป็นบริษัทด้านความมั่นคงทางไซเบอร์รายใหญ่ บอกด้วยว่าสำนักงานข่าวกรองกลางสหรัฐฯ(ซีไอเอ) มีเป้าหมายที่ภาคการบินและพลังงานของจีน, องค์การต่างๆที่วิจัยด้านวิทยาศาสตร์, เหล่าบริษัทอินเตอร์เน็ต และหน่วยงานต่างๆของรัฐบาล พร้อมระบุว่าการแฮกเป้าหมายด้านการบินอาจมีเป้าหมายคือการแกะรอยแผนการเดินทางของบรรดาบุคคลสำคัญ ทั้งนี้ ฉี่หู่ 360 ได้เผยแพร่รายการตัวอย่างซอฟต์แวร์มุ่งร้ายที่สกัดกั้นได้ เช่นเดียวกับผลการวิเคราะห์ช่วยเวลาของการสร้างซอฟต์แวร์เหล่านั้น ซึ่งบ่งชี้ว่าใครก็ตามที่ประดิษฐ์เครื่องมือประสงค์ร้ายดังกล่าวได้เจาะระบบในชั่วโมงการทำงานตามเวลาชายฝั่งตะวันออกสหรัฐฯ ซีไอเอและสถานทูตจีนในกรุงวอชิงตันยังไม่มีคำตอบกลับมา หลังจากรอยเตอร์ส่งข้อความไปสอบถามความคิดเห็นต่อคำกล่าวอ้างดังกล่าว สหรัฐฯ ก็เหมือนกับจีนและชาติมหาอำนาจของโลกอื่นๆ ที่ไม่ค่อยแสดงความคิดเห็นต่อคำกล่าวหาจารกรรมทางไซเบอร์ อย่างไรก็ตามมีหลักฐานปรากฏต่อสาธารณะมาอย่างยาวนาน ว่าทั้งสองประเทศต่างฝ่ายต่างแฮกข้อมูลกันทั้งคู่ อดัม ซีดัล ผู้ศึกษาด้านจีนและประเด็นความมั่นคงทางไซอร์เบอร์ แห่งสภาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในนิวยอร์ก มองว่ากรอบเวลาของการเปิดเผยเรื่องราวต่อสาธารณชนของ ฉี่หู่ 360 มีความเป็นไปได้ที่อาจสัมพันธ์กับกรณีที่เหล่าแฮกเกอร์ทหารจีน 4 นาย ถูกดำเนินคดีเมื่อเดือนที่แล้ว ต่อกรณีลอบเจาะล้วงข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของบริษัทผู้ตรวจสอบเครดิตในสหรัฐฯ อิควิแฟ็กซ์ (Equifax) และขโมยข้อมูลลับและข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าราว 150 ล้านคน เขาบอกว่าการออกมาแฉปฏิบัติการเก่าๆของซีไอเอ อาจเป็นหนทางหนึ่งในการส่งข้อความถึงวอชิงตัน ใขณะเดียวกันก็เป็นการล้างมลทินให้ฉี่หู่ 360…

โป๊ปจับมือ Microsoft, IBM ปั้นจริยธรรม AI และเทคโนโลยีจดจำใบหน้า

Loading

วาติกันประกาศความร่วมมือกับ 2 ยักษ์ใหญ่ไมโครซอฟท์ (Microsoft) และไอบีเอ็ม (IBM) เพื่อหนุนการสร้างจริยธรรมระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) และระบบจดจำใบหน้าให้ไม่ถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด โดยวาติกันเปิดเอกสารเรียกร้องให้มีการควบคุมการใช้ปัญญาประดิษฐ์อย่างเข้มข้น ย้ำว่าเครื่องมือเอไอควรทำงานอย่างยุติธรรม โปร่งใส เชื่อถือได้ และเคารพชีวิตมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ผลจากความร่วมมือนี้ทำให้ไมโครซอฟท์และไอบีเอ็มมีภาพชัดเจนว่าได้เข้าร่วมขานรับแนวคิดของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส โดยทั้งคู่สนับสนุนเอกสารดังกล่าว ซึ่งการเปิดเผยเอกสารนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่สมเด็จพระสันตะปาปาทรงคำนึงถึงประเด็นทางศีลธรรมและจริยธรรมที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีใหม่เอกสารนี้มีชื่อว่าเดอะโรมคอลล์ฟอร์เอไออีธิกส์ (The Rome Call for AI Ethics) จากเนื้อความในเอกสาร ชัดเจนว่าสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสทรงหวังที่จะกำจัดปัญญาประดิษฐ์ที่มีจุดประสงค์ชั่วร้าย และเทคโนโลยีที่อาจเป็นอันตรายเช่นการจดจำใบหน้า ทำให้วาติกันร่วมมือกับไมโครซอฟท์และไอบีเอ็มเพื่อรวบรวมหลักการที่เรียกได้ว่าเป็นหลักการใช้เอไออย่างมีจริยธรรมและศีลธรรมจุดเด่นของเอกสารนี้คือรายละเอียดว่าเอไอควรโฟกัสในประเด็นที่ไม่ใช่เทคโนโลยี แต่ควรเน้นที่ความดีของมนุษยชาติและสิ่งแวดล้อม เอกสารนี้ยังกระตุ้นให้ผู้เชี่ยวชาญเอไอพยายามตอบโจทย์ความจำเป็นของผู้ด้อยโอกาสบนโลกด้วยแทนที่จะเป็นอัลกอลิธึม แต่เอกสารนี้ใช้คำว่า “อัลกออีธิกส์” (algor-ethics) โดยอธิบายว่า algor-ethics คือการรวมองค์ประกอบพื้นฐานของนวัตกรรมที่ดี จุดประสงค์คือการเรียกร้องให้เทคโนโลยีต่างๆถูกพัฒนาบนความโปร่งใสตรวจสอบได้ ขณะเดียวกันก็ควรเปิดกว้างและทั่วถึงเพื่อให้บุคคลทุกคนสามารถรับประโยชน์จากการพัฒนาได้ ที่ขาดไม่ได้คือความรับผิดชอบ เพราะผู้ที่ออกแบบและปรับใช้ AI ควรต้องดำเนินการด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและโปร่งใสนอกจากนี้คือความเป็นกลาง เนื่องจากผู้พัฒนาไม่ควรสร้างหรือพัฒนาเทคโนโลยีด้วยความลำเอียง เช่นเดียวกับความน่าเชื่อถือ ความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัวซึ่งขาดไม่ได้ เพื่อให้ระบบทำงานอย่างปลอดภัยและเคารพความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้เอกสารของวาติกันยังให้คำแนะนำสำหรับเทคโนโลยีที่อาจเป็นอันตรายเช่นระบบวิเคราะห์และจดจำใบหน้า ซึ่งเน้นให้ผู้พัฒนาพยายามปฏิบัติตามหลักจริยธรรมเช่นกันแม้ระบบล้ำสมัยอย่างเอไอมักชูจุดขายเรื่องการนำไปใช้งานเพื่อยกระดับความปลอดภัย แต่การวิจัยพบว่าเอไอบางประเภทได้รับการฝึกให้มีอคติทางเชื้อชาติและเพศ ซึ่งอาจเป็นอันตรายมากกว่าการช่วยเหลือมนุษยชาติ โดยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา กลุ่มทุนมากมายพยายามควบคุมเทคโนโลยีเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ ทั้งทางการค้าและทางการเมือง ยังมีปัญหาเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมซึ่งสร้างความเสียหายให้สังคมแบบประเมินค่าไม่ได้หลักปฏิบัติแบบเต็มซึ่งได้รับการรับรองจากไอบีเอ็มและไมโครซอฟท์แล้ว สามารถอ่านได้จากลิงก์นี้ —————————————— ที่มา…

เรียก ‘ค่าไถ่ไซเบอร์’ ด้วย ‘อีเมล’

Loading

3 มีนาคม 2563 | โดย นักรบ เนียมนามธรรม | คอลัมน์ THINKSECURE เปิดเบื้องหลัง เมื่อองค์กรใหญ่รายหนึ่งถูกจู่โจมด้วยวิธีการส่ง “อีเมลหลอกลวง” ที่ซับซ้อน (Spear-phishing) จนทำให้เกิดผลกระทบกับการผลิตและกำไรของบริษัทในเวลาต่อมา การจู่โจมด้วยแรนซัมแวร์เริ่มกลับมาแพร่หลายอีกครั้ง เชื่อหรือไม่ว่า แม้องค์กรจะวางระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ดีอย่างไร ระบบนั้นก็จะถูกเจาะเข้ามาได้ หากองค์กรไม่ได้ให้ความสำคัญกับการให้ความรู้บุคลากรที่ทำงานในองค์กร ไม่นานมานี้หน่วยงานด้านความมั่นคงทางด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้ และโครงสร้างทางด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้ ได้แจ้งเตือนไปยังหน่วยงานสำคัญๆ ทางด้านสาธารณูปโภคเกี่ยวกับการเรียกค่าไถ่ทางไซเบอร์ หรือแรนซัมแวร์ตัวใหม่ที่อาจก่ออันตรายให้กับองค์กร การแนะนำนี้เกิดขึ้นหลังจากที่บริษัททางด้านพลังงานธรรมชาติถูกจู่โจมด้วยวิธีการส่งอีเมลหลอกลวงที่ซับซ้อน (Spear-phishing) ซึ่งได้แนบแรนซัมแวร์ หรือก็คือมัลแวร์เรียกค่าไถ่โดยการเข้ารหัสไฟล์ข้อมูล ไปยังระบบเครือข่ายภายในของบริษัท และเข้ารหัสข้อมูลสำคัญๆ รวมถึงทำให้เซิร์ฟเวอร์หลายๆ ตัวไม่สามารถที่จะทำงานได้เป็นเวลาเกือบสองวันเลยทีเดียว  การจู่โจมด้วยแรนซัมแวร์นี้ได้เริ่มกลับมาแพร่หลายอีกครั้งพร้อมด้วยการยกระดับความถี่ในการโจมตี รวมถึงขยายผลการจู่โจมให้ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ หน่วยงานดังกล่าวพบว่า การจู่โจมนั้นไม่ได้กระทบกับระบบควบคุม (PLCs) และเหยื่อที่โดนจู่โจมยังสามารถควบคุมระบบปฏิบัติการได้อยู่ แต่ผลจากเหตุการณ์นี้ก็ทำให้ทางบริษัทพิจารณาว่าสมควรที่จะปิดระบบ จนทำให้เกิดผลกระทบกับการผลิตและกำไรของบริษัทในเวลาต่อมา ซึ่งผลกระทบนั้นกระทบเฉพาะกับระบบที่เป็น Windows-based Systems และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ตั้งอยู่ ณ สถานที่ที่ถูกโจมตีเท่านั้น และทางบริษัทสามารถที่จะฟื้นฟูการโจมตีครั้งนี้ด้วยการเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ถูกโจมตีออก และใส่การตั้งค่าเข้าไปใหม่ อย่างไรก็ดีการแจ้งเตือนยังไม่ได้ระบุรายละเอียดมากนัก และนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการใช้ลิงก์หลอกลวงส่งมาพร้อมกับแรนซัมแวร์ ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้ได้มีการเปิดเผยว่า ในเดือน…

Apple สั่งบล็อก “Clearview AI” ฐานละเมิดกฎซอฟต์แวร์

Loading

เขียนโดย :   Talil เมื่อไม่กี่วันมานี้ Apple ได้มีการประกาศสั่งบล็อกแอปฯ ‘Clearview AI’ เทคโนโลยีจดจำใบหน้า เพราะละเมิดกฎโปรแกรมซอฟต์แวร์ของบริษัท โดย Clearview AI ที่ให้บริการแอปฯ เฉพาะเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย รวมถึงองค์กรบางรายเท่านั้น เช่น Macy’s, Walmart และ Wells Fargo ได้ใช้ใบรับรองระดับองค์กรทำให้ผู้ใช้สามารถติดตั้งซอฟต์แวร์ได้โดยไม่ผ่าน App Store โดยทำผิดกฎของ Apple ที่จำกัดให้ผู้ใช้เข้าถึงซอฟต์แวร์เฉพาะบุคคลภายในองค์กรที่กำหนดเท่านั้น ขณะที่ปกติแล้วเทคโนโลยีการจดจำใบหน้าขั้นสูงของ Clearview AI ผู้ใช้ iPhone ทั่วไปจะเข้าถึงไม่ได้ แต่ลองนึกภาพว่าเราเดินอยู่ในที่สาธารณะ และมีคนแปลกหน้าเดินสวนกับคุณ จนกระทั่งเขาหยิบโทรศัพท์มือถือขึ้นมาถ่ายรูปคุณ ก่อนจะอัพโหลดรูปนั้นลงในแอปฯ เพื่อให้แมตช์กับฐานข้อมูล จนสามารถพบข้อมูลของคุณบนสื่อโซเชียลมีเดีย พบแอคเคาท์  Facebook , instagram หรืออื่นๆ จากนั้นตามด้วยชื่อจริง ที่อยู่ ซึ่งหลังจากนั้นมันจะเป็นอย่างไรต่อ ? แน่นอนว่ามันคือหายนะ เพราะนั่นอาจหมายถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นตามมาในภายหลัง “เพื่อความปลอดภัย” หรือ “รุกล้ำความเป็นส่วนตัว” สำหรับ ‘Clearview AI’ เป็นเทคโนโลยีจดจำใบหน้าที่ถูกพัฒนาโดยบริษัทสตาร์ทอัพเล็กๆ ในสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งโดย “ฮอน ทอน-แทต” หนุ่มหน้าตาดี อดีตนายแบบเชื้อสายเวียดนาม ซึ่งได้รับเงินทุนจากอภิมหาเศรษฐีคนหนึ่งในสหรัฐอเมริกา…