สุดโหด!! ระเบิด ‘รถน้ำมัน’ ถล่มตลาดซีเรีย ชาวบ้านซื้อของ ‘ละศีลอด’ ตายเกลื่อน 46 ศพ

Loading

เอเอฟพี – คนร้ายใช้รถบรรทุกน้ำมันติดระเบิดโจมตีตลาดแห่งหนึ่งในภาคเหนือของซีเรียเมื่อวานนี้ (28 เม.ย.) ทำให้มีผู้เสียชีวิตไม่ต่ำกว่า 46 ราย รวมถึงนักรบกบฏที่ได้รับการสนับสนุนจากตุรกี เหตุระเบิดที่เมืองอาฟริน (Afrin) ซึ่งอยู่ในการควบคุมของกองกำลังตัวแทนตุรกี เกิดขึ้นในขณะที่ประชาชนจำนวนมากออกมาจับจ่ายซื้ออาหารเพื่อเตรียมละศีลอดในเดือนรอมฎอน ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ออกคำแถลงประณามเหตุการณ์นี้ว่าเป็น “การกระทำที่ชั่วร้ายและขี้ขลาดตาขาว” ภาพจากหน่วยป้องกันพลเรือนซีเรียเผยให้เห็นเจ้าหน้าที่ดับเพลิงกำลังเร่งสกัดไฟที่ลุกลามเผาไหม้อาคารและรถยนต์หลายคัน ขณะที่หน่วยกู้ชีพก็ช่วยกันขนย้ายร่างผู้เสียชีวิตที่ถูกไฟไหม้ดำเป็นตอตะโก รามี อับดุลเราะห์มาน ผู้อำนวยการศูนย์สังเกตการณ์สิทธิมนุษยชนซีเรียซึ่งติดตามความเคลื่อนไหวผ่านแหล่งข่าวในพื้นที่ ระบุว่ามีคนตายอย่างน้อย 46 คน และบาดเจ็บอีก 50 คน บางรายอาการสาหัส และเชื่อว่ายอดผู้เสียชีวิตน่าจะเพิ่มขึ้นอีก ในกลุ่มผู้เสียชีวิตยังมีนักรบกบฏซีเรียที่สนับสนุนตุรกีรวมอยู่ด้วยอย่างน้อย 6 คน และมีผู้เสียชีวิตที่เป็นเด็กอีก 11 คน ล่าสุดยังไม่มีกลุ่มใดออกมาอ้างความรับผิดชอบต่อเหตุวินาศกรรมซึ่งถือว่าเลวร้ายที่สุดสำหรับเมืองอาฟริน นับตั้งแต่กองทัพตุรกีและกองกำลังพันธมิตรสามารถยึดพื้นที่นี้ไปจากกองกำลังเคิร์ดได้ในเดือน มี.ค. ปี 2018 กระทรวงกลาโหมตุรกีกล่าวโทษหน่วยป้องกันประชาชนเคิร์ด (YPG) ว่าอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์นี้ โดยอังการานั้นถือว่าพวก YPG เป็นกลุ่มก่อการร้ายในเครือเดียวกับพรรคแรงงานเคอร์ดิสถาน (PKK) ที่ก่อความไม่สงบในตุรกีมานานกว่า 30 ปี “ศัตรูของมนุษยชาติ พวก PKK/YPG ได้โจมตีพลเรือนผู้บริสุทธิ์ที่เมืองอาฟรินอีกครั้ง” กระทรวงกลาโหมตุรกีแถลงผ่านทวิตเตอร์ มอร์แกน…

พบโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่อีก 6 ชนิดในค้างคาวเมียนมา

Loading

นักวิจัยค้นพบเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่อีกหกชนิดในค้างคาวที่ประเทศเมียนมา ในขณะที่กำลังศึกษาว่าโรคร้ายนี้สามารถถ่ายทอดจากสัตว์สู่มนุษย์ได้อย่างไร นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า โคโรนาไวรัสทั้งหกชนิดที่พบในค้างคาวเมียนมานั้น ยังไม่เคยถูกค้นพบที่ไหนในโลก แต่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ที่กำลังส่งผลกระทบต่อหลายส่วนของโลกอยู่ในขณะนี้ การวิจัยดังกล่าวนำโดยนักวิทยาศาสตร์จากโครงการ Global Health ของ Smithsonian ในกรุงวอชิงตัน ผลการวิจัยนี้ตีพิมพ์อยู่ในวารสาร PLOS ONE ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ (CDC) กล่าวว่า โคโรนาไวรัสเป็นไวรัสสายพันธุ์ขนาดใหญ่ที่พบได้ทั่วไปในคนและสัตว์หลายชนิด และว่า เป็นเรื่องยากที่โคโรนาไวรัสในสัตว์จะถ่ายทอดไปสู่คนแล้วแพร่กระจายในหมู่มนุษย์ อย่างไรก็ตาม มีการระบาดครั้งใหญ่ของโรคที่เกิดจากโคโรนาไวรัสในมนุษย์แล้วหลายครั้ง และค้างคาวก็เป็นส่วนหนึ่งของการระบาดเหล่านั้น ตัวอย่างเช่น การระบาดของโรค SARS และ MERS และยังเชื่อกันว่า โคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ซึ่งเป็นสาเหตุของ COVID-19 ก็มาจากค้างคาวเช่นเดียวกัน โดยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพประเมินว่า มีโคโรนาไวรัสซึ่งยังไม่ถูกค้นพบอีกหลายพันชนิดในค้างคาว คณะนักวิจัยของ Smithsonian ทำงานร่วมกับนักวิจัยในประเทศเมียนมา ในโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อระบุเชื้อโรคใหม่ที่สามารถถ่ายทอดจากสัตว์ไปสู่คน โครงการที่มีชื่อว่า PREDICT นี้ ได้รับการสนับสนุนจากองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (USAID) เป้าหมายของการวิจัย คือ การศึกษาว่าการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสัตว์ป่าสามารถนำไปสู่การติดเชื้อโคโรนาไวรัสในมนุษย์ได้อย่างไร โดยศูนย์กลางของการวิจัยครั้งนี้อยู่ในพื้นที่ที่มีแนวโน้มว่ามนุษย์จะเข้าไปสัมผัสใกล้ชิดกับสัตว์ป่าในท้องถิ่นนั้น ๆ นักวิจัยได้เก็บตัวอย่างน้ำลายและของเสียจากค้างคาวจำนวน 759 ตัวอย่าง ในพื้นที่ต่าง ๆ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ.…

เยเมนยิ่งป่วนพันธมิตรทิ้ง รัฐบาลคุมภาคใต้เอง

Loading

“สภาเปลี่ยนผ่านภาคใต้” (เอสทีซี) กองกำลังแบ่งแยกดินแดนภาคใต้ของเยเมน ซึ่งเป็นพันธมิตรของรัฐบาลประธานาธิบดีอาเบด รับโบ มานซูร์ ฮาดี ของเยเมนที่นานาชาติให้การยอมรับ ประกาศเมื่อ 25 เม.ย.ว่า เอสทีซีได้ประกาศภาวะฉุกเฉิน และจะเข้าควบคุมและปกครองดินแดนภาคใต้ทั้งหมดแต่ผู้เดียว รวมทั้งเมืองท่าเอเดนและจังหวัดอื่นๆ เริ่มตั้งแต่เที่ยงคืน 25 เม.ย. โดยกล่าวหารัฐบาลนายฮาดีว่าคอร์รัปชันและบริหารประเทศผิดพลาด เอสทีซีซึ่งมีสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) หนุนหลัง บรรลุข้อตกลงสันติภาพกับรัฐบาลนายฮาดี ซึ่งมีซาอุดีอาระเบียและพันธมิตรหนุนหลัง ที่กรุงริยาดในซาอุฯ เมื่อ พ.ย.2562 หลังเอสทีซียกทัพบุกยึดเมืองเอเดน ที่ตั้งรัฐบาลใหม่ของนายฮาดีเมื่อเดือน ส.ค.ปีเดียวกัน จากนั้นทั้ง 2 ฝ่ายก็ร่วมต่อสู้กับกบฏนิกายชีอะห์กลุ่ม “ฮูธี” ที่มีอิหร่านหนุนหลัง ซึ่งบุกยึดภาคเหนือรวมทั้งกรุงซานาเมืองหลวงได้ในปี 2557 ทำให้รัฐบาลนายฮาดีต้องหนีไปอยู่ที่เมืองเอเดน ด้าน รมว.ต่างประเทศของรัฐบาลนายฮาดีแถลงเตือนว่า การคว่ำข้อตกลงสันติภาพและตั้งรัฐบาลที่ภาคใต้เองของเอสทีซีจะนำไปสู่หายนะ ซึ่งเอสทีซีต้องรับผิดชอบ ความแตกแยกครั้งนี้ยิ่งทำให้สงครามกลางเมืองเยเมนสลับซับซ้อน ขณะที่เยเมนอาจเผชิญการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 แม้ยังพบผู้ติดเชื้อเพียง 1 ราย. ———————————————————————— ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์ / 27 เมษายน 2563 Link…

เผยกลุ่มอิทธิพลจีนเข้าไปตั้งบ่อนในรัฐกะเหรี่ยง ท่ามกลางสถานการณ์สันติภาพที่เปราะบาง

Loading

ที่มาภาพ: Sim Chi Yin/The New York Times (อ้างใน United States Institute of Peace) สถาบันสันติสุขแห่งสหรัฐอเมริกา (USIP) เผยแพร่รายงานเรื่องการเคลื่อนไหวของรัฐบาลจีนที่ฉวยโอกาสในตอนที่โลกกำลังเผชิญและให้ความสนใจกับการระบาดหนักของ COVID-19 ทุกวัน จีนก็กำลังแผ่อิทธิพลด้วยการเข้าไปทำธุรกิจจำพวกบ่อนคาสิโนใน “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ของพื้นที่ประเทศพม่า ส่งผลให้กลุ่มเครือข่ายแก๊งอาชญากรรมในจีนผูกสัมพันธ์กับกลุ่มติดอาวุธในพื้นที่เหล่านั้น ตามตลิ่งแม่น้ำเมยที่เป็นเส้นพรมแดนระหว่างไทยกับพม่า มีเมืองใหม่เกิดขึ้น 3 แห่งบนผืนดินที่เป็นพื้นที่ของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้พื้นที่เหล่านี้เพิ่งจะมีการสู้รบระหว่างกองทัพพม่ากับกองทัพแห่งชาติกะเกรี่ยง แต่ในตอนนี้พื้นที่อดีตสมรภูมิก็กลับกลับกลายเป็นเมืองที่มีโรงแรม, บ่อนคาสิโน และคอนโดมิเนียม ผุดขึ้นในฐานะ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่ไม่ได้รับอนุญาต มีเจ้าของเป็นเครือข่ายธุรกิจจีนที่ทำสัญญาหุ้นส่วนกับคนในพื้นที่รวมถึงกลุ่มติดอาวุธที่ขัดแย้งกัน มีการเซ็นสัญญาเกี่ยวกับพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษใน 3 เมืองนี้ในช่วงเดือน ม.ค.-มี.ค. ที่ผ่านมาในขณะที่โลกกำลังมัวแต่สนใจเรื่อง COVID-19 แต่อย่างเดียว ทำให้ในตอนนี้พื้นที่เขตแดนพม่า 157 ตร.กม. ตกเป็นของธุรกิจจีนที่โยงใยกับการพนัน, การฟอกเงิน, การเงินแบบเข้ารหัส และกระทั่งเครือข่ายอาชญากรรม ถึงแม้ว่าโครงการสำหรับพื้นที่เหล่านี้จะมีแผนการมาตั้งแต่ 3 ปีที่แล้ว แต่เพิ่งจะมีการเร่งโครงการในเดือน ส.ค. 2562 ในช่วงเดียวกับที่ตำรวจจีนและกัมพูชาเริ่มกวาดล้างบริษัทที่ทำบ่อนออนไลน์,…

COVID-19 กำลังเปลี่ยนโลกและท่าทีของเราต่อเทคโนโลยีและความเป็นส่วนตัว

Loading

The way we do business and interact could be fundamentally changed by Covid-19 (Credit: Getty Images) ที่มาภาพ: https://www.bbc.com/future/article/20200331-covid-19-how-will-the-coronavirus-change-the-world Written by Kim อนาคตหลังการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนามีความเป็นไปได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับการตอบสนองของรัฐบาลและสังคมรวมทั้งสภาพเศรษฐกิจและผลที่ตามมา[1] ขณะนี้ยังเร็วเกินไปที่จะประเมินผลกระทบในระยะยาวของการแพร่ระบาด นักวิชาการ นักวางแผน ผู้นำทางความคิดและนักธุรกิจต่างก็เริ่มจัดทำรายการความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย หากการแพร่ระบาดยิ่งนานเท่าไรการเปลี่ยนแปลงจะยิ่งช้าลงเท่านั้น[2]           ข้อมูลสถิติและผู้เชี่ยวชาญระบุว่า จุดเริ่มต้นการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 อยู่ที่เมืองอู่ฮั่นของจีนและปัจจุบันเริ่มถูกจำกัดวง (contain) โดยมีต้นทุนความเสียหายทั้งด้านเศรษฐกิจและชีวิตมนุษย์ แม้ในช่วงเวลาก่อนการอุบัติขึ้นแบบฉับพลัน (outbreak)[3] ของเชื้อไวรัส พลเมืองชาวจีนอยู่ภายใต้การสอดส่องตรวจตราอย่างเข้มงวดโดยรัฐ (state surveillance) และมาตรการติดตามแกะรอยทางเทคโนโลยี (technology-driven tracking measures) ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ในโลกตะวันตกคุ้นเคย ในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง การบุกรุกชีวิตประจำวันของเราดูเหมือนกำลังขยายตัวมากขึ้น[4] เจ้าหน้าที่ทางการใช้หมวกนิรภัยติดกล้องตรวจจับแยกแยะอุณหภูมิฝูงชนและโทรศัพท์สมาร์ทโฟนติดตั้งแอป ซึ่งใช้หลักการเรียนรู้ของเครื่องจักร (machine learning)[5] ประเมินค่า “ระดับความเสี่ยง” ของประชาชนด้วยรหัสสี (แดง เหลือง เขียว) เครื่องบินไร้คนขับควบคุมด้วยวิทยุทางไกล (drone) ติดตั้งกล้องตรวจจับความร้อน ลำโพงขยายเสียงรวมทั้งเครื่องฉีดสารเคมีบินลาดตระเวณบังคับใช้ตรวจจับประชาชนที่ละเมิดกฎหมายกักตัวอยู่บ้าน มีรายงานว่าผู้อยู่อาศัยในอพาร์ทเมนต์จำนวนหนึ่งไม่สามารถกลับเข้าที่พัก เนื่องจากระบบรักษาความปลอดภัยอัตโนมัติตัดสินว่าบุคคลเหล่านั้นเป็นผู้มี “ความเสี่ยง”           ไม่เพียงแต่จีนเท่านั้น รัฐบาลอิหร่านสนับสนุนให้ประชาชนดาวน์โหลดแอปที่ใช้วินิฉัยการแพร่กระจายของไวรัส โดยไม่บอกว่าแอปดังกล่าวสามารถใช้ติดตามความเคลื่อนไหวของผู้ใช้รวมทั้งผู้ที่ติดต่อด้วย…

เฟซบุ๊กเปิดตัวประชุมแบบกลุ่ม ซูมอัปเดตความปลอดภัยครั้งใหญ่

Loading

แพลตฟอร์มออนไลน์อย่างเฟซบุ๊ก ประกาศเปิดตัวบริการ ‘เมสเซนเจอร์ รูม’ เพื่อสู้กับบริการประชุมแบบกลุ่มหลาย ๆ ตัวที่มีอยู่ในตอนนี้ ส่วน ‘ซูม’ แม้จะได้รับความนิยมอย่างมาก แต่ก็ต้องประกาศอัปเดตความปลอดภัยครั้งใหญ่ หลังพบปัญหาในหลายจุด วันนี้ (25 เม.ย.2563) ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มเครือข่ายสังคมออนไลน์อย่างเฟซบุ๊ก ประกาศเปิดตัวบริการ ‘เมสเซนเจอร์ รูม’ เพื่อให้สำหรับการประชุมทางออนไลน์อย่างเป็นทางการ ภาพจาก Facebook Newsroom เฟซบุ๊กระบุว่าบริการดังกล่าวจะรองรับผู้เข้าประชุมได้มากสุด 50 คน ซึ่งจะสามารถแสดงผลผู้เข้าประชุมบนคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะได้ครั้งละ 16 คน ส่วนบนมือถือจะแสดงได้ครั้งละ 8 คน นอกจากนี้บริการดังกล่าวยังสามารถแชร์ลิงก์เพื่อให้คนอื่น ๆ สามารถเข้ามาประชุมได้อีกด้วย ภาพจาก Facebook Newsroom ทางเฟซบุ๊กยังระบุระหว่างการแถลงข่าวอีกด้วยว่า ขณะนี้มีผู้ใช้บริการ ‘วอทซแอป’ และเมสเซนเจอร์ ราว 700 ล้านบัญชีที่ใช้บริการเพื่อโทรพูดคุยกันอีกด้วย ซึ่งนักวิจารณ์และสื่อต่างประเทศมองว่าการเปิดตัวครั้งนี้ เป็นการเปิดเพื่อสู้กับบริการประชุมแบบกลุ่มบนออนไลน์ที่ถูกพูดถึงและใช้กันมากในเวลานี้ อย่าง ‘ซูม’ ที่มี อย่างชัดเจน แม้ซูมจะกลายเป็นสตาร์ทอัปที่ดังชั่วข้ามคืน แต่ก็ใช้เวลานานเกือบ 10 ปีเพื่อมาถึงจุดนี้…