เนื่องจากการระบาดของโรค Coronavirus หรือ COVID-19 แอปพลิเคชั่นการประชุมทางวิดีโอ Zoom ได้กลายเป็นแอปพลิเคชั่น ที่ได้รับความนิยมในการติดต่อสื่อสารกับเพื่อนและครอบครัว หรือแม้แต่การทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงานในองค์กรต่างๆ ทั่วโลก
ด้วยความนิยมซึ่งเพิ่มมากขึ้น การถูกนำมาใช้เพื่อแสวงหาผลประโยชน์และก่อกวนในรูปแบบต่างจึงเกิดขึ้นและมีจำนวนที่เพิ่มขึ้นตาม ตัวอย่างหนึ่งซึ่งเราได้เคยพูดถึงไปแล้วในข่าวคือการ Zoom-bombing ซึ่งมีจุดประสงค์ในการก่อกวนผู้เข้าร่วมการประชุมในรูปแบบต่างๆ เช่นภาพอนาจาร, ภาพที่น่าเกลียดหรือภาษาและคำพูดที่ไม่สุภาพเพื่อทำลายการประชุม
ในวันนี้ทีมตอบสนองการโจมตีและภัยคุกคาม (Intelligent Response) จาก บริษัท ไอ-ซีเคียว จำกัด จะมาพูดถึงเช็คลิสต์ง่ายๆ ในการช่วยให้การประชุมออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน Zoom หรือแอปพลิเคชันอื่นๆ มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
1. อย่าเปิดเผย Personal Meeting ID หรือ Meeting ID ให้ใครรู้
ผู้ใช้ Zoom ทุกคนจะได้รับ “Personal Meeting ID” (PMI) ที่เชื่อมโยงกับบัญชี ถ้าหากให้ PMI กับบุคคลอื่นๆ หรือ PMI หลุดไปสู่สาธารณะ ผู้ไม่หวังดีจะสามารถทำการตรวจสอบว่ามีการประชุมอยู่หรือไม่ และอาจเข้ามาร่วมประชุมหรือก่อกวนได้หากไม่ได้กำหนดรหัสผ่าน
2. ใส่รหัสผ่านในการประชุมทุกครั้ง
เมื่อทำสร้างการห้องประชุมใหม่ Zoom จะเปิดใช้งานการตั้งค่า “Require meeting password” โดยอัตโนมัติและกำหนดรหัสผ่านแบบสุ่ม 6 หลัก และไม่ควรยกเลิกการตั้งค่านี้เนื่องจากจะทำให้ทุกคนหรือผุ้ก่อกวนสามารถเข้าถึงการประชุมได้โดยไม่ได้รับอนุญาต
3. สร้างห้อง Waiting Room
Zoom สามารถเปิดใช้งานฟีเจอร์ Waiting Room เพื่อป้องกันผู้ใช้เข้าสู่การประชุมโดยไม่ได้รับการยอมรับจากโฮสต์ (ผู้ที่สร้างการประชุม) ก่อนได้รับอนุญาต
4. ไม่ควรอนุญาตให้มีการ Join Before Host
ผู้ที่สร้างการประชุมควรควบคุมและหมั่นตรวจสอบผู้ที่เข้าร่วมการประชุมอยู่เสมอว่าเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตจริงหรือไม่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการประชุมในเรื่องประเด็นที่ออนไหว การตั้งค่า Enable waiting room เป็นค่าเปิดจะส่งผลให้ผู้ที่เข้าถึงคนแรกกลายเป็นโฮสต์และมีสิทธิ์ในการควบคุมเรียกดูข้อมูลของผู้เข้าร่วมการประชุมโดยอัตโนมัติโดยอัตโนมัติ ดังนั้นตัวเลือกของ Enable waiting room จึงไม่เคยถูกเปิดใช้งานโดยไม่จำเป็น
5. ปิดการแชร์หน้าจอของผู้เข้าร่วม
เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ไม่หวังดีก่อกวนและแย่งชิงการประชุม ควรป้องกันไม่ให้ผู้เข้าร่วมประชุมคนอื่นๆ นอกเหนือจากโฮสต์สามารถแชร์หน้าจอได้
6. ล็อคการประชุมเมื่อทุกคนเข้าร่วมเรียบร้อยแล้ว
หากทุกคนเข้าร่วมการประชุมครบแล้วและไม่ได้เชิญใครเข้าร่วมการประชุมเพิ่ม ควรล็อคการประชุมเพื่อไม่ให้มีใครสามารถเข้าร่วมการประชุม หรือเข้ามาก่อกวนได้
7. อย่าโพสต์รูปภาพการประชุม Zoom สู่สาธารณะ
ถ้าหากภาพถ่ายการประชุมผ่าน Zoom ถูกเปิดเผยต่อสาธารณะผู้ไม่หวังดีจะสามารถเห็น Meeting ID การประชุม จากนั้นผู้ไม่หวังดีสามารถทดลองเข้าร่วมการประชุมโดยใช้ Meeting ID การประชุมที่เปิดเผยต่อสาธารณะได้โดยไม่ต้องรับเชิญ
ตัวอย่างเช่น นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร บอริส จอห์นสัน ทวีตรูปภาพการประชุมของ “คณะรัฐมนตรี” และในภาพที่พบมีเลข Meeting ID ของการประชุมปรากฏอยู่ สิ่งนี้อาจจะถูกใช้โดยผู้โจมตีเพื่อพยายามเข้าถึงการประชุมโดยไม่ได้รับอนุญาต และสามารถเข้าร่วมได้ผ่าน Meeting ID ที่แสดงได้
8. อย่าโพสต์ลิงค์การประชุมในที่สาธารณะ
เมื่อสร้างห้องประชุมผ่าน Zoom ไม่ควรโพสต์ลิงก์ที่จะไปยังการประชุมสู่สาธารณะ การกระทำเช่นนั้นจะทำให้เครื่องมือค้นหาเช่น Google จัดทำบันทึกและเปิดให้ค้นหาลิงค์ดังกล่าว และทำให้ทุกคนที่สามารถค้นหาลิงก์การประชุมสามารถเข้าถึงการประชุมได้ เนื่องจากการตั้งค่าเริ่มต้นใน Zoom คือการฝังรหัสผ่านในลิงค์คำเชิญ
9. ระวังมัลแวร์ที่แฝงมาในไฟล์ติดตั้ง Zoom
เนื่องจากการระบาดของโรค Coronavirus ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วได้มีการเเอบแฝงมัลแวร์ โดยกระจายผ่านเว็บไซต์ฟิชชิ่ง, อีเมล์ฟิชชิ่งและการโจมตีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับข่าวการระบาด โดยมัลแวร์ที่ถูกสร้างขึ้นและแฝงไปกับไฟล์การติดตั้งแอพพลิเคชั่น Zoom เพื่อความปลอดภัยโปรดตรวจสอบการดาวน์โหลดไคลเอนต์ แอพพลิเคชั่น Zoom ทุกครั้งที่ทำการดาวน์โหลด และดาวน์โหลดโดยตรงจากเว็บไซต์ https://zoom.us/ ที่ถูกต้องเท่านั้น
ที่มา
——————————————————————-
Link : https://www.i-secure.co.th/2020/04/zoom-security-checklist/