e-Meeting กับข้อกำหนดที่กฎหมายรองรับ เพื่อการทำงานที่ต่อเนื่อง

Loading

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หน่วยงานพัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย ได้รวบรวมกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Meeting)  การบังคับใช้และผลทางกฎหมาย เงื่อนไข ข้อกำหนดต่าง ๆ รวมทั้งจัดทำแบบประเมินความสอดคล้องของระบบประชุมจากผู้ให้บริการระบบ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาเลือกใช้ระบบประชุมของผู้สนใจ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ – ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 74/2557 เรื่อง การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ – ประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่อง มาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๕๗ การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การบังคับใช้และผลทางกฎหมาย ใช้สำหรับการประชุมที่ต้องการผลตามกฎหมาย หรือกฎหมายกำหนดให้ต้องมีการประชุม เช่น การประชุมสามัญผู้ถือหุ้น หรือการประชุมของคณะกรรมการต่างๆ ใช้ได้ทั้งการประชุมของภาครัฐ และภาคเอกชน คนที่เข้าร่วมประชุมมีเงื่อนไขอย่างไร ผู้เข้าร่วมประชุมอย่างน้อย 1 ใน 3 ขององค์ประชุมต้องอยู่ในที่ประชุมเดียวกัน ผู้ร่วมประชุมทั้งหมดต้องอยู่ในราชอาณาจักรขณะที่ประชุม ข้อกำหนดของระบบ e-Meeting สำหรับการประชุมที่จะมีผลตามกฎหมาย มีกระบวนการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ และต้องสอดคล้องตามแนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศของหน่วยงานของรัฐ ผู้ร่วมประชุมสามารถสื่อสารกันได้ด้วยเสียงหรือทั้งเสียงและภาพ เชื่อมโยงสถานที่ประชุมตั้งแต่สองแห่งขึ้นไปเข้าด้วยกัน ทำให้ผู้ร่วมประชุมสามารถสื่อสารกันได้สองทาง มีอุปกรณ์สำหรับนำเข้าข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เช่น โทรศัพท์ กล้อง ไมโครโฟน มีอุปกรณ์เพื่อทำหน้าที่เชื่อมโยงหรือแปลงสัญญาณเสียงหรือทั้งเสียงและภาพที่เหมาะสม การบริหารจัดการระบบ…

ระวังภัย พบการโจมตีอุปกรณ์ IoT เพื่อฝังบอทเน็ต dark_nexus ในไทยตกเป็นเหยื่อไม่ต่ำกว่า 172 เครื่อง

Loading

ข้อมูลทั่วไป เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2563 บริษัท Bitdefender ได้แจ้งเตือนการโจมตีอุปกรณ์ IoT (Internet of Things) เพื่อฝังมัลแวร์ชื่อ dark_nexus ซึ่งเป็นมัลแวร์ประเภทบอทเน็ต (botnet) ที่เปิดช่องทางให้ผู้ไม่หวังดีเชื่อมต่อเข้ามาควบคุมและสั่งการอุปกรณ์ที่ตกเป็นเหยื่อเพื่อใช้ในการโจมตีทางไซเบอร์ได้ เช่น สั่งการให้อุปกรณ์จำนวนมากเชื่อมต่อไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทางในเวลาเดียวกัน จุดประสงค์เพื่อทำให้ระบบดังกล่าวไม่สามารถให้บริการได้ (เป็นรูปแบบการโจมตีประเภท DDoS หรือ Distributed Denial of Service) ทั้งนี้ ทาง Bitdefender พบว่าจุดประสงค์ของการแพร่กระจายมัลแวร์ในครั้งนี้คือเพื่อรับจ้างโจมตีแบบ DDoS (DDoS-for-hire service) จากการวิเคราะห์ของทีม Bitdefender พบว่ามัลแวร์ dark_nexus น่าจะถูกพัฒนาต่อยอดมาจากมัลแวร์ Qbot และ Mirai ซึ่งเป็นมัลแวร์ที่เคยถูกใช้เพื่อโจมตีอุปกรณ์ IoT มาแล้วก่อนหน้านี้ เนื่องจากพบโค้ดและโมดูลหลายส่วนที่ใกล้เคียงกับมัลแวร์ก่อนหน้า ช่องทางการโจมตี มีทั้งอาศัยช่องโหว่ของตัวอุปกรณ์และอาศัยการเดารหัสผ่านสำหรับเข้าถึงการตั้งค่า จากข้อมูลของ Bitdefender พบว่าผู้ประสงค์ร้ายได้ใช้มัลแวร์นี้โจมตีอุปกรณ์ IoT ไปแล้วทั่วโลก โดยในประเทศไทยมีอุปกรณ์ที่ได้ตกเป็นเหยื่อแล้วอย่างน้อย 172…