วิกฤตไทย 2563 ! ข้อสังเกต 10 ประการ โดย สุรชาติ บำรุงสุข

Loading

โดย สุรชาติ บำรุงสุข ประเทศไทยไม่แตกต่างจากหลายประเทศทั่วโลกที่วันนี้ตกอยู่ภายใต้วิกฤตการณ์ชุดใหญ่ อันเป็นผลจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และวิกฤตโรคระบาดครั้งนี้กำลังเปลี่ยนแปลงสังคมโลกครั้งใหญ่เช่นไร สังคมไทยก็กำลังถูกความเปลี่ยนแปลงไปเช่นนั้นไม่แตกต่างกันด้วย หรือดังที่นักสังเกตการณ์ทั้งหลายมีความเห็นในระดับโลกร่วมกันก็คือ โลกหลังยุคก่อนโควิดจะไม่หวนกลับมาหาเราอีก เช่นที่โลกยุคหลังโควิดก็จะแตกต่างออกไปจากยุคก่อนอย่างมาก และจะเป็นความเปลี่ยนแปลงในมิติต่างๆ ครั้งใหญ่อย่างคาดไม่ถึงด้วย ดังนั้นหากทดลองคาดการณ์ถึงความเปลี่ยนแปลงของไทยในอนาคตแล้ว เราอาจจะเห็นประเด็นต่างๆ ที่จะมีความสำคัญต่อทิศทางการพลิกฟื้นประเทศหลังจากการสิ้นสุดของโรคระบาดชุดนี้ ได้แก่ 1) วิกฤตซ้อนวิกฤต: การเมืองไทยจะยังคงตกอยู่ในภาวะวิกฤต ปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้นก่อนการระบาดนั้น ไม่ได้หายไปไหน เป็นแต่เพียงจะถูกทับซ้อนจากสถานการณ์ใหม่ อันเป็นผลจากความอ่อนแอของรัฐบาลในการบริหารจัดการปัญหาที่เกิดขึ้น อันอาจจะส่งผลให้วิกฤตที่มีอยู่แต่เดิมแล้ว กลายเป็นวิกฤตที่มีความรุนแรงมากขึ้น และจะส่งผลต่อสถานะทางการเมืองของรัฐบาล โดยเฉพาะต่อตัวผู้นำรัฐบาลโดยตรง และจะเป็นวิกฤตที่มีนัยต่อความอยู่รอดของรัฐบาลอีกด้วย หรืออาจคาดได้ว่า การเมืองหลังจากการระบาดสิ้นสุดลงจะมีความเข้มข้นมากขึ้นอย่างแน่นอน และจะมีผลต่อเสถียรภาพทางการเมืองด้วย 2) เศรษฐกิจพังทลาย: วิกฤตเศรษฐกิจในปี 2563 จะมีความรุนแรงและหนักหน่วงมากกว่าวิกฤตในปี 2540 อย่างแน่นอน และความคาดหวังว่าวิกฤตเศรษฐกิจ 2563 จะสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วเช่นในปี 2540 อาจจะเป็นการคาดคะเนที่ง่ายเกินไป การพังทลายของเศรษฐกิจไทยกำลังเกิดขึ้นกับทุกภาคส่วน จนวันนี้กล่าวได้ชัดเจนว่า ไม่มีภาคส่วนใดที่ไม่ได้รับผลกระทบ และผลที่เกิดขึ้นกำลังพาเศรษฐกิจไทยสู่ “การ ถดถอย” ครั้งใหญ่ (economic recession) และการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศจะอยู่ในภาวะ “ติดลบ” อย่างแน่นอน…

แก้ไขปัญหา “ข่าวปลอม” ต้องทำให้ถูกวิธี

Loading

Written by Kim บริษัทผู้ประกอบธุรกิจสื่อสังคม (social media) ของสหรัฐฯถูกกดดันอย่างหนักให้ดำเนินการบางอย่างเกี่ยวกับการเผยแพร่ข้อมูลที่ผิด (misinformation)[1] บนแพลตฟอร์มของพวกเขา ตั้งแต่การเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2016  บริษัท Facebook และ YouTube ตอบสนองด้วยการใช้กลยุทธ์ “ต่อต้านข่าวปลอม” ซึ่งดูเหมือนจะมีประสิทธิภาพพร้อมกับการเคลื่อนไหวประชาสัมพันธ์อย่างชาญฉลาด: ทั้งสองบริษัทแสดงให้เห็นว่าพวกเขาเต็มใจที่จะดำเนินการและนโยบายดังกล่าวมีความสมเหตุสมผลต่อสาธารณะ[2]           กลยุทธ์ที่ฟังดูสมเหตุสมผลมิได้หมายความว่าจะใช้การได้ แม้แพลตฟอร์มต่าง ๆ กำลังมีความก้าวหน้าในการต่อสู้กับข้อมูลที่ผิด แต่การวิจัยเมื่อไม่นานมานี้โดยผู้เขียนทั้งสองและนักวิชาการคนอื่น ๆ แสดงให้เห็นว่า กลยุทธ์หลายอย่างของพวกเขาอาจไม่มีประสิทธิภาพ – และทำให้เรื่องราวเลวร้ายลง นำไปสู่ความสับสน ไม่ชัดเจนเกี่ยวกับความจริง (truth) บริษัทสื่อสังคมจำเป็นต้องตรวจสอบให้เป็นที่ประจักษ์ชัดเจนว่า ข้อกังวลที่เกิดขึ้นในการทดลองเหล่านี้ตรงประเด็นกับวิธีการที่ผู้ใช้ประมวลข่าวสารบนแพลตฟอร์มของพวกเขาหรือไม่           แพลตฟอร์มต่าง ๆ ใช้กลยุทธ์ให้ข้อมูลข่าวสาร (information) เพิ่มเติมเกี่ยวกับแหล่งที่มาของข่าว (news’s source) โดย YouTube มีกล่องข้อความ (information panel) ปรากฎขึ้นเพื่อแจ้งผู้ใช้เมื่อมีการสืบค้นเนื้อหาที่ผลิตโดยองค์กรที่ได้รับทุนจากรัฐบาลหรือหัวข้อซึ่งก่อให้เกิดการโต้แย้ง ส่วน Facebook มีตัวเลือกบริบท (context) ที่ให้ข้อมูลภูมิหลังเกี่ยวกับแหล่งที่มาของบทความในแหล่งป้อนข่าว (news feed)[3] กลยุทธ์หรือชั้นเชิงประเภทนี้เข้าใจได้ง่ายเพราะเป็นแหล่งข่าวจากสำนักพิมพ์กระแสหลัก ซึ่งได้รับการยอมรับเป็นอย่างดี แม้ยังไม่สมบูรณ์มากนัก แต่ก็มีมาตรฐานการบรรณาธิการ (แก้ไข) และการรายงานที่ดีกว่าเว็บไซต์ที่คลุมเครือ ซึ่งถักทอ (ผลิต) เนื้อหาโดยไม่เปิดเผยคุณลัษณะของผู้เขียน           การวิจัยล่าสุดของผู้เขียนทั้งสองทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับประสิทธิผลของวิธีการประเภทนี้ ผู้เขียนทั้งสองได้ทำการทดลองกับชาวอเมริกันเกือบ 7,000…

กระชากหน้ากาก : ศัพท์ที่มีที่มาจากหน้ากาก

Loading

ในภาวะที่โคโรนาไวรัสระบาดเช่นนี้ หน้ากากอนามัยได้กลายมาเป็นแรร์ไอเท็มที่ผู้คนต่างช่วงชิงมาไว้ในครอบครอง (แต่ไม่ได้ขาดแคลนเนอะ รัฐบาลเขาบอกไว้แบบนั้น) อีกทั้งยังกลายร่างไปเป็นสินค้าที่คนหัวใสแต่ใจมารทั้งหลายกักตุนไว้เก็งกำไรอีกด้วย ดังนั้น ในสัปดาห์นี้ เราจะไปสำรวจคำในภาษาอังกฤษสามคำที่เราอาจจะนึกถึงไม่ถึงว่ามีที่มาที่ไปเกี่ยวข้องกับหน้ากาก Mascara แม้ว่ามาสคาร่าหรือเครื่องสำอางปัดขนตาให้ดูงอนยาวขึ้นจะใช้แค่เฉพาะบริเวณดวงตาและไม่ได้ใช้ปิดหรือคาดบนใบหน้าแบบหน้ากาก แต่แท้จริงแล้วกลับมีที่มาร่วมกันกับคำว่า mask ด้วย ทั้งสองคำนี้ว่ากันว่ามาจากคำว่า maschera ในภาษาอิตาเลียน หมายถึง หน้ากาก แต่กลับเข้ามาในภาษาอังกฤษเป็นคนละรูปและคนละความหมายกันเพราะเข้ามากันคนละสาย สายแรกที่กลายมาเป็นคำว่า mask ว่ากันว่าไปผ่านมาทางฝรั่งเศส ซึ่งยืมคำว่า maschera ไปและแปลงเป็น masque ก่อนจะเข้ามาในภาษาอังกฤษเป็นคำว่า mask ที่แปลว่า หน้ากาก ส่วนสายที่สองซึ่งเป็นที่มาของคำว่า mascara ว่ากันว่ามาจากที่สเปนยืมคำว่า maschera ไปใช้จนกลายเป็นคำว่า máscara ซึ่งใช้หมายถึงได้ทั้งหน้ากากและรอยเปื้อน ก่อนที่จะถูกนำไปใช้เรียกเครื่องสำอางที่นักแสดงใช้เพื่อปัดคิ้วหรือหนวดให้เข้มขึ้นและกลายมาเป็นเครื่องสำอางปัดขนตาแบบในปัจจุบัน ทั้งนี้ นักวิชาการบางคนเชื่อว่า คำว่า maschera ในภาษาอิตาเลียนนี้อาจจะมาจาก maskharah (مسخرہ) ในภาษาอารบิก หมายถึง จำอวด ตัวตลก อีกที เนื่องจากคนที่ทำอาชีพนี้ก็มักต้องสวมหน้ากากในการแสดง คำว่า mask ในภาษาอังกฤษโดยปกติแล้วมักใช้เป็นคำนาม หมายถึง…

รวมข้อมูลประเด็นความมั่นคงปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของโปรแกรม Zoom

Loading

Zoom เป็นโปรแกรมประเภท video conference ที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากเหตุการณ์ไวรัสโคโรน่าหรือ COVID-19 แพร่ระบาด ทำให้หลายองค์กรต้องปรับรูปแบบการทำงานให้รองรับการประชุมจากนอกสถานที่ หรือสถาบันการศึกษาหลายแห่งต้องปรับรูปแบบการเรียนการสอนมาเป็นจากระยะไกลแทน อย่างไรก็ตาม หลายฝ่ายได้มีความกังวลต่อประเด็นความมั่นคงปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของการใช้งานโปรแกรม Zoom เนื่องจากมีการรายงานช่องโหว่และพฤติกรรมการทำงานในบางจุดที่อาจก่อให้เกิดข้อกังวลดังกล่าว ไทยเซิร์ตได้รวบรวมข้อมูลประเด็นที่เกี่ยวข้องซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้ ประเด็นด้านความมั่นคงปลอดภัย ตัวติดตั้งของโปรแกรม Zoom เวอร์ชัน Mac มีการเรียกใช้สคริปต์บางอย่างในสิทธิ์ระดับสูง ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายกับระบบได้ ทาง Zoom รับทราบและแก้ไขแล้ว (อ้างอิง) โปรแกรม Zoom เวอร์ชัน Windows มีช่องโหว่ที่อาจถูกขโมยรหัสผ่านบัญชีได้ด้วยการหลอกให้คลิกลิงก์ ส่วนเวอร์ชัน Mac มีช่องโหว่ที่อาจถูกดักฟังได้ด้วยการหลอกให้เข้าเว็บไซต์อันตราย ทาง Zoom รับทราบและแก้ไขแล้ว (อ้างอิง) รูปแบบการรับส่งข้อมูลภาพและเสียงในระหว่างที่มีการทำ video conference นั้นไม่ได้ใช้วิธีเข้ารหัสลับข้อมูลในรูปแบบ end-to-end (ต้นทางจนถึงปลายทาง) ซึ่งอาจถูกผู้ไม่หวังดีดักฟังการประชุมได้ ทาง Zoom ยอมรับว่ามีประเด็นนี้จริง ยังไม่มีรายละเอียดว่าจะปรับปรุงในเรื่องนี้หรือไม่ แต่ก็ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าข้อมูลที่รับส่งระหว่างเครื่องของผู้ใช้กับเซิร์ฟเวอร์ของ Zoom นั้นมีการเข้ารหัสลับข้อมูลแล้ว (อ้างอิง) รูปแบบของอัลกอริทึมที่ใช้เข้ารหัสลับข้อมูลนั้นมีความเสี่ยงที่อาจถูกโจมตีได้ง่าย (ECB mode)…

ไต้หวันห้ามหน่วยงานรัฐใช้ “ซูม” จากความกังวลเรื่องความปลอดภัย

Loading

รัฐบาลไต้หวันแนะนำให้หน่วยงานรัฐบาลไต้หวันยุติการใช้งานแอพประชุมผ่านวิดีโอออนไลน์ของบริษัท Zoom Video Communications เนื่องจากความกังวลเรื่องความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว แถลงการณ์ของคณะรัฐมนตรีไต้หวัน ระบุว่า หากหน่วยงานใดต้องการประชุมผ่านวิดีโอออนไลน์ให้หลีกเลี่ยงแอพของบริษัทที่มีปัญหาด้านความปลอดภัย เช่น Zoom ขณะที่กระทรวงศึกษาธิการไต้หวัน ยืนยันว่าได้สั่งห้ามใช้ Zoom สำหรับการเรียนการสอนออนไลน์แล้ว ผู้ใช้แอพ Zoom มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 200 ล้านคนตั้งแต่เดือนมีนาคม หลังจากที่คนทำงานจำนวนมากต้องทำงานจากบ้าน และนักเรียนต้องเรียนผ่านวิดีโอออนไลน์ แต่บริษัท Zoom กำลังถูกวิจารณ์อย่างหนักจากผู้ใช้ จากการที่ไม่มีระบบเข้ารหัสการประชุมแต่ละครั้ง รวมทั้งเหตุการณ์ที่เรียกว่า “zoombombing” หรือการที่มีแขกที่ไม่ได้รับเชิญปรากฎตัวออกมาระหว่างการประชุมออนไลน์ เป็นต้น รัฐบาลไต้หวันถือเป็นประเทศแรกที่แนะนำอย่างเป็นทางการให้หลีกเลี่ยงการใช้ Zoom ขณะที่ FBI ของสหรัฐฯ ก็มีคำเตือนให้ระวังการใช้แอพนี้เช่นกัน เมื่อไม่กี่วันก่อน เอริค หยวน ซีอีโอ ของ Zoom Video Communications Inc. กล่าวว่า ทีมงานของบริษัทกำลังพยายามแก้ไขสถานการณ์เพื่อฟื้นฟูชื่อเสียงของ Zoom ความนิยมของ Zoom ในช่วงวิกฤติโควิด-19 นี้ นอกจากสำหรับการประชุมทีมงานและการอบรมแบบออนไลน์แล้ว ผู้ใช้งานยังใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อกิจกรรมนันทนาการอื่น ๆ เช่น…

พบช่องโหว่ในแอปพลิเคชัน SuperVPN บน Android อาจถูกดักฟังข้อมูลได้ ทาง Google ถอดออกจาก Play Store แล้ว ผู้ใช้ควรตรวจสอบ

Loading

SuperVPN เป็นโปรแกรมประเภท VPN Client ที่เปิดให้สามารถดาวน์โหลดไปใช้งานได้ฟรี โดยตัวแอปพลิเคชันเวอร์ชัน Android มียอดดาวน์โหลดรวมแล้วกว่า 100 ล้านครั้ง เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ทีมนักวิจัยจากบริษัท VPNPro ได้ตรวจวิเคราะห์ความมั่นคงปลอดภัยของแอปพลิเคชันประเภท VPN ที่มีให้ดาวน์โหลดใน Google Play Store โดยพบแอปพลิเคชัน VPN ฟรีจำนวน 10 รายการ (รวม SuperVPN ด้วย) ในกลุ่มแอปพลิเคชัน VPN ที่ได้รับความนิยมและมียอดดาวน์โหลดสูงสุด มีช่องโหว่ด้านความมั่นคงปลอดภัยในลักษณะ Man-in-the-Middle ที่อาจทำให้ผู้ใช้ถูกดักฟังข้อมูลที่รับส่งหรือถูกเปลี่ยนเส้นทางการเชื่อมต่อเพื่อพาไปยังเว็บไซต์อันตรายได้ ตัวอย่างปัญหาที่พบ เช่น พบการฝังกุญแจสำหรับเข้าและถอดรหัสลับข้อมูลไว้ในโค้ดของตัวโปรแกรมโดยตรง ซึ่งหลังจากที่มีการเผยแพร่รายงานดังกล่าว ทาง Google ก็ได้ถอดแอปพลิเคชัน VPN หลายรายการออกจาก Play Store เพื่อให้ผู้พัฒนาได้ปรับปรุงแก้ไข แต่แอปพลิเคชัน SuperVPN นั้นยังคงอยู่ เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2563 ทาง VPNPro…