e-Meeting กับข้อกำหนดที่กฎหมายรองรับ เพื่อการทำงานที่ต่อเนื่อง

Loading

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หน่วยงานพัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย ได้รวบรวมกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Meeting)  การบังคับใช้และผลทางกฎหมาย เงื่อนไข ข้อกำหนดต่าง ๆ รวมทั้งจัดทำแบบประเมินความสอดคล้องของระบบประชุมจากผู้ให้บริการระบบ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาเลือกใช้ระบบประชุมของผู้สนใจ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ – ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 74/2557 เรื่อง การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ – ประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่อง มาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๕๗ การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การบังคับใช้และผลทางกฎหมาย ใช้สำหรับการประชุมที่ต้องการผลตามกฎหมาย หรือกฎหมายกำหนดให้ต้องมีการประชุม เช่น การประชุมสามัญผู้ถือหุ้น หรือการประชุมของคณะกรรมการต่างๆ ใช้ได้ทั้งการประชุมของภาครัฐ และภาคเอกชน คนที่เข้าร่วมประชุมมีเงื่อนไขอย่างไร ผู้เข้าร่วมประชุมอย่างน้อย 1 ใน 3 ขององค์ประชุมต้องอยู่ในที่ประชุมเดียวกัน ผู้ร่วมประชุมทั้งหมดต้องอยู่ในราชอาณาจักรขณะที่ประชุม ข้อกำหนดของระบบ e-Meeting สำหรับการประชุมที่จะมีผลตามกฎหมาย มีกระบวนการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ และต้องสอดคล้องตามแนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศของหน่วยงานของรัฐ ผู้ร่วมประชุมสามารถสื่อสารกันได้ด้วยเสียงหรือทั้งเสียงและภาพ เชื่อมโยงสถานที่ประชุมตั้งแต่สองแห่งขึ้นไปเข้าด้วยกัน ทำให้ผู้ร่วมประชุมสามารถสื่อสารกันได้สองทาง มีอุปกรณ์สำหรับนำเข้าข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เช่น โทรศัพท์ กล้อง ไมโครโฟน มีอุปกรณ์เพื่อทำหน้าที่เชื่อมโยงหรือแปลงสัญญาณเสียงหรือทั้งเสียงและภาพที่เหมาะสม การบริหารจัดการระบบ…

ระวังภัย พบการโจมตีอุปกรณ์ IoT เพื่อฝังบอทเน็ต dark_nexus ในไทยตกเป็นเหยื่อไม่ต่ำกว่า 172 เครื่อง

Loading

ข้อมูลทั่วไป เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2563 บริษัท Bitdefender ได้แจ้งเตือนการโจมตีอุปกรณ์ IoT (Internet of Things) เพื่อฝังมัลแวร์ชื่อ dark_nexus ซึ่งเป็นมัลแวร์ประเภทบอทเน็ต (botnet) ที่เปิดช่องทางให้ผู้ไม่หวังดีเชื่อมต่อเข้ามาควบคุมและสั่งการอุปกรณ์ที่ตกเป็นเหยื่อเพื่อใช้ในการโจมตีทางไซเบอร์ได้ เช่น สั่งการให้อุปกรณ์จำนวนมากเชื่อมต่อไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทางในเวลาเดียวกัน จุดประสงค์เพื่อทำให้ระบบดังกล่าวไม่สามารถให้บริการได้ (เป็นรูปแบบการโจมตีประเภท DDoS หรือ Distributed Denial of Service) ทั้งนี้ ทาง Bitdefender พบว่าจุดประสงค์ของการแพร่กระจายมัลแวร์ในครั้งนี้คือเพื่อรับจ้างโจมตีแบบ DDoS (DDoS-for-hire service) จากการวิเคราะห์ของทีม Bitdefender พบว่ามัลแวร์ dark_nexus น่าจะถูกพัฒนาต่อยอดมาจากมัลแวร์ Qbot และ Mirai ซึ่งเป็นมัลแวร์ที่เคยถูกใช้เพื่อโจมตีอุปกรณ์ IoT มาแล้วก่อนหน้านี้ เนื่องจากพบโค้ดและโมดูลหลายส่วนที่ใกล้เคียงกับมัลแวร์ก่อนหน้า ช่องทางการโจมตี มีทั้งอาศัยช่องโหว่ของตัวอุปกรณ์และอาศัยการเดารหัสผ่านสำหรับเข้าถึงการตั้งค่า จากข้อมูลของ Bitdefender พบว่าผู้ประสงค์ร้ายได้ใช้มัลแวร์นี้โจมตีอุปกรณ์ IoT ไปแล้วทั่วโลก โดยในประเทศไทยมีอุปกรณ์ที่ได้ตกเป็นเหยื่อแล้วอย่างน้อย 172…

จด•หมายเหตุ: การล่าแม่มดในสถานการณ์โควิด 19

Loading

บทความโดย นคร เสรีรักษ์ ผู้ก่อตั้งกลุ่ม Privacy Thailand 1. โลกวันนี้ทำให้แทบทุกแพลตฟอร์มของการดำรงชีวิตเข้ามาขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวบนโลกออนไลน์ ด้วยความรวดเร็วของเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะในสังคมการเมืองที่โซเซียลมีเดียเข้ามามีบทบาทในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของพลเมืองอย่างกว้างขวาง 2. การปะทะกันระหว่างความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างกันก็มาปรากฏบนโลกออนไลน์หลากหลายรูปแบบ ทั้งการแลกเปลี่ยนหรือโต้แย้งกันอย่างสุภาพสันติและการโจมตีกล่าวหากันด้วยวาจาหรือถ้อยคำที่หยาบคาย การด่าทอ ดูถูกเหยียดหยาม เสียดสี นำมาซึ่งการสร้างความเกลียดชัง เยาะเย้ย ถากถาง ขณะเดียวกันกิจกรรมการล่าแม่มดก็ออกมามีบทบาทในสื่อสังคมออนไลน์ด้วยเช่นกัน 3. ในสถานการณ์โรคระบาดจากไวรัสโควิด 19 ที่กำลังเป็นวิกฤตของประเทศในปัจจุบัน ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับไวรัสตัวนี้กำลังเคลื่อนไหวถ่ายทอดกันในสังคมมากมาย ทั้งข้อมูลสถิติการป่วยไข้และการรักษา คำแนะนำในการดูแลสุขภาพและการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ ในข้อมูลจำนวนมหาศาลมีทั้งข้อมูลจริง ข้อมูลเท็จ ข้อมูลแท้ ข้อมูลปลอม ที่น่าเป็นห่วงคือการใช้วิธีการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเป็นเครื่องมือในการล่าแม่มด 4. จากการที่มีผู้นำข้อมูลส่วนตัวเกี่ยวกับถิ่นที่อยู่อาศัยของแรงงานนอกระบบที่เดินทางกลับจากเกาหลีมาเผยแพร่ในลักษณะชักชวนคนในชุมชนให้รังเกียจ กีดกัน และขับไล่บรรดาแรงงานจากเกาหลี มาจนถึงล่าสุดคือการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้โดยสารที่เดินทางมาจากต่างประเทศและไม่เข้าสู่กระบวนการกักตัวตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ที่สนามบินสุวรรณภูมิ มีการเปิดเผยชื่อ ที่อยู่ หมายเลขหนังสือเดินทาง ข้อมูลแพร่กระจายกว้างขวางอย่างน่าเป็นห่วงทั้งทางเฟสบุ๊ค ไลน์ และทวิตเตอร์ ทั้งสองเรื่องมีการประณาม ประจาน และแสดงความรู้สึกเกลียดชังในลักษณะการ “ล่าแม่มด” อย่างชัดเจน 5. มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าการนำข้อมูลส่วนบุคคลของแรงงานที่กลับจากเกาหลีหรือผู้โดยสารสายการบินมาเปิดเผยในการล่าแม่มดน่าจะเป็นการผิดกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งอันที่จริงแล้ว พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 2562 เป็นกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล กฎหมายนี้พูดถึงหน้าที่และกระบวนการในการเก็บรวบรวม…

ปากีฯจับกุมแพทย์กว่า50คน ชุมนุมประท้วงขาดแคลนอุปกรณ์ป้องกันสู้โควิด-19

Loading

เอเอฟพี – แพทย์มากกว่า 50 คนถูกจับกุมที่เมืองเกตตา ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของปากีสถานในวันจันทร์(6เม.ย.) หลังร่วมชุมนุมประท้วงต่อกรณีขาดแคลนอุปกรณ์ป้องกันสำหรับต่อสู้กับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่(โควิด-19) การจับกุมครั้งนี้มีขึ้นหลังจากแพทย์และเจ้าหน้าที่ด้านการรแพทย์มากกว่า 100 คนเดินขบวนใกล้โรงพยาบาลหลักของเมืองเกตตา จากนั้นก็ย้ายไปประท้วงบริเวณด้านหน้าบ้านพักของมุขมนตรีแห่งรัฐ ตามรายงานของผู้สื่อข่าวเอเอฟพี ตำรวจใช้ตะบองเข้าสลายกลุ่มผู้ชุมนุม หลังจากพวกเขาพยายามเข้าไปในเขตบ้านพักของมุขมนตรี ผลก็คือเกิดเหตุตะลุมบอนกระทบกระทั่งกันระหว่างสองฝ่าย “เรามีแพทย์ 53 คนที่อยู่ภายใต้การควบคุมตัวฐานละเมิดกฎหมาย” อับดุล ราซซัก ชีมา เจ้าหน้าที่ตำรวจอาวุโสบอกกับเอเอฟพีหลังจากเกิดเหตุ พร้อมเผยว่าตำรวจควบคุมตัวแพทย์เหล่านั้นไว้นานหลายชั่วโมง ก่อนมีคำสั่งจากรัฐบาลท้องถิ่นให้ปล่อยตัวพวกเขา โฆษกรัฐบาลท้องถิ่นบาลูจิสถาน เปิดเผยกับเอเอฟพีว่าแพทย์เหล่านั้นประท้วงต่อปัญหาขาดแคลนอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล(PPE)อย่างเช่นหน้ากากอนามัยและแว่นตานิรภัย “เราให้คำรับประกันว่าจะจัดหา PPE ให้พวกเขาเร็วๆนี้ แต่พวกเขาได้เริ่มประท้วงกันไปแล้ว” โฆษกรัฐบาลท้องถิ่นกล่าว พร้อมบอกว่าเข้าหน้าที่กำลังวางแผนแจกจ่ายอุปกรณ์ป้องกันให้แก่คณะแพทย์ หลังได้รับจัดมอบมาจากรัฐบาลกลางก่อนหน้านี้ในวันจันทร์ (6เม.ย.) เจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์ทั่วปากีสถานคร่ำครวญมานานหลายสัปดาห์เกี่ยวกับปัญหาอุปกรณ์ป้องกันขาดแคลนอย่างรุนแรงตามโรงพยาบาลต่างๆ ในขณะที่พวกเขาจำเป็นต้องใช้มันสำหรับรักษาคนไข้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ บาซีร์ อาชาไซ ประธานสมาคมแพทย์เกตตาระบุว่ารัฐบาลไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก ในการปกป้องแพทย์และคนงานด้านสาธารณสุขอื่นๆ “พวกเขาบีบให้เราต้องประท้วงเพื่อสิทธิของพวกเราเอง” ปากีสถานพบผู้ติดเชื้อแล้ว 3,277 คน ในนั้นเสียชีวิต 50 คน อย่างไรก็ตามตัวเลขที่แท้จริงน่าจะสูงกว่านี้หลายเท่า เนื่องจากชุดตรวจมีอยู่อย่างจำกัดในชาติยากจนซึ่งมีประชากรมากกว่า 215 คน เมื่อเดือนที่แล้ว แพทย์คนหนึ่งและพยาบาลอีกคนในปากีสถานเสียชีวิตจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ นอกจากนี้แล้วยังมีเจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์อีกหลายสิบคนที่มีผลตรวจโควิด-19 ออกมาเป็นบวก…

ครั้งแรก! สหรัฐฯ ขึ้นบัญชีดำกลุ่มคลั่งคนขาวเป็นองค์กร “ก่อการร้าย”

Loading

รอยเตอร์ – สหรัฐฯ กำหนดให้พวกชาตินิยมรัสเซียกลุ่มหนึ่ง นามว่า “รัสเซีย อิมพีเรียล มูฟเมนต์ (Russian Imperial Movement)” เป็นองค์กรก่อการร้ายต่างชาติ จากการเปิดเผยของกระทรวงการต่างประเทศในวันจันทร์ (6 เม.ย.) ถือเป็นครั้งแรกที่อเมริกาขึ้นบัญชีดำพวก White Supremacist หรือกลุ่มที่เชื่อว่าเผ่าพันธุ์คนผิวขาวนั้นมีฐานะสูงส่งและเป็นเลิศกว่ากลุ่มเผ่าพันธุ์อื่นๆ “การขึ้นบัญชีดำครั้งนี้ถือเป็นสิ่งที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน” นาธาน เซลส์ ทูตต่อต้านก่อการร้ายสหรัฐฯระบุในถ้อยแถลง มาตรการดังกล่าวมีออกมาหลังจากกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เผยแพร่รายงานประจำปีด้านก่อการร้ายฉบับล่าสุดเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีก่อน ซึ่งระบุว่า การก่อการร้ายที่มีแรงขับเคลื่อนด้านเชื้อชาติแลผิวสีเพิ่มขึ้นอย่างน่ากังวลในปี 2018 ทั้งในสหรัฐฯและทั่วโลก ทั้งนี้ พวกรัสเซีย อิมพีเรียล มูฟเมนต์ ซึ่งเรียกตัวเองว่า กลุ่มชาตินิยม “รัสเซียน ออร์ธอด็อกซ์” อยากให้ฟื้นฟูระบอบกษัตริย์และให้สิทธิพิเศษแก่ชนเชื้อสายรัสเซีย, ยูเครน และเบลารุส โดยทั่วไปแล้วการกำหนดลักษณะนี้ ทางกระทรวงการคลังสหรัฐฯ จะอายัดทรัพย์สินใดๆ ในสหรัฐฯของกลุ่มหรือตัวบุคคลที่ถูกขึ้นบัญชีดำ รวมถึงห้ามพลเมืองสหรัฐฯ ทำธุรกรรมทางการเงินร่วมกับกลุ่มหรือบุคคลดังกล่าว อย่างไรก็ตาม การกำหนดลักษณะนี้ก็เสี่ยงเป็นเพียงความเคลื่อนไหวในเชิงสัญลักษณ์เท่านั้น หากว่ากลุ่มที่ถูกขึ้นบัญชีดำเหล่านี้มีธุรกรรมทางการเงินแค่เล็กๆ น้อยๆ ในสหรัฐฯ เซลส์บอกว่า เลือดผู้บริสุทธิ์เปื้อนมือพวกรัสเซีย อิมพีเรียล มูฟเมนต์…

อังกฤษเรียกข่าวโควิด-19 ระบาดมากับ 5G “ข่าวปลอมไร้สาระแต่อันตราย!”

Loading

ทางการอังกฤษระบุว่า ข่าวลือในลักษณะทฤษฎีสมคบคิด ที่ระบุว่าเครือข่ายโทรคมนาคมความเร็วสูง 5G มีความเกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 นั้น เป็นข่าวปลอม และเป็นอันตรายอย่างยิ่ง รัฐมนตรีประจำคณะรัฐบาลอังกฤษ ไมเคิล โกว์ฟ กล่าวว่า ข่าวดังกล่าวไร้สาระ แต่ก็มีอันตรายแฝงมาด้วย หลังจากที่มีเสาส่งสัญญาณ 5G บางแห่งถูกเผาและทำลาย ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา และพนักงานของบริษัทโทรคมนาคมบางแห่งถูกข่มขู่คุกคาม ในแถบตอนกลางและตอนเหนือของอังกฤษ ตามรายงานของสำนักข่าวรอยเตอร์ เสาส่งสัญญาณแห่งหนึ่งที่เมืองเบอร์มิงแฮม ของบริษัท BT ซึ่งเป็นบริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่ที่สุดของอังกฤษ ถูกเผาเสียหายเมื่อไม่กี่วันก่อน หลังจากมีข่าวลือแพร่สะพัดว่า เชื้อโควิด-19 อาจเกี่ยวข้องกับสัญญาณอินเทอร์เน็ต 5G แม้ว่าเสาดังกล่าวที่ถูกเผาจะส่งสัญญาณเฉพาะ 2G 3G 4G แต่ไม่ใช่ 5G ก็ตาม ผอ.สำนักงานสาธารณสุขอังกฤษ กล่าวว่า ข่าวปลอมที่ว่านี้ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ใด ๆ มารองรับ แต่กลับมีคนเชื่อจริงจัง และสร้างปัญหาต่อระบบสื่อสารในยามที่ต้องการใช้เพื่อติดต่อกรณีเร่งด่วน ซึ่งรวมถึง เครือข่ายโทรศัพท์ที่บรรดาเจ้าหน้าที่ฉุกเฉินและบุคลากรทางการแพทย์ต้องใช้ในช่วงที่กำลังเิกดการระบาดของโคโรนาไวรัสในขณะนี้ด้วย ————————————————- ที่มา : VOA Thai / 6 เมษายน 2563…