อัฟกันระทึก! มือปืนบุกยิงทารก-แม่ดับ 16 ศพกลางรพ.คาบูล บึ้มงานศพ ‘ผบ.ตำรวจ’ ตายเกลื่อนอีก 24 ศพ-เจ็บอื้อ

Loading

เจ้าหน้าที่ความมั่นคงอัฟกันอุ้มทารกน้อยคนหนึ่งออกมาจากโรงพยาบาลในกรุงคาบูล ซึ่งถูกกลุ่มติดอาวุธโจมตีเมื่อวันที่ 12 พ.ค. รอยเตอร์ – กลุ่มติดอาวุธซึ่งแต่งกายคล้ายตำรวจบุกกราดยิงแม่และทารกแรกคลอดเสียชีวิต 16 รายที่แผนกสูติกรรมของโรงพยาบาลในกรุงคาบูล ซึ่งบริหารงานโดยองค์กรแพทย์ไร้พรมแดน (MSF) เมื่อวานนี้ (12 พ.ค.) และในวันเดียวกันยังเกิดเหตุระเบิดฆ่าตัวตายโจมตีงานศพผู้บัญชาการตำรวจที่จังหวัดนันกาฮาร์ (Nangahar) ซึ่งมีเจ้าหน้าที่รัฐบาลและสมาชิกรัฐสภาคนหนึ่งไปร่วมงาน ทำให้มีผู้เสียชีวิต 24 ราย บาดเจ็บอีก 68 ราย SITE ซึ่งเป็นองค์กรที่ติดตามความเคลื่อนไหวของกลุ่มก่อการร้าย ระบุว่า กลุ่มรัฐอิสลามโคราซาน (Islamic State Khorasan) ซึ่งเป็นเครือข่ายของไอเอสในอัฟกานิสถานได้ออกมาอ้างผลงานสำหรับเหตุระเบิดฆ่าตัวตายที่นันกาฮาร์ ส่วนปฏิบัติการโจมตีโรงพยาบาลคาบูลนั้นยังไม่มีกลุ่มใดอ้างความรับผิดชอบ ตอลิบานซึ่งเป็นกลุ่มอิสลามิสต์รายใหญ่ที่ก่อความไม่สงบในอัฟกานิสถานปฏิเสธความเกี่ยวข้องกับเหตุโจมตีทั้ง 2 จุด โดยยืนยันว่าได้ยุติการโจมตีเมืองใหญ่ๆ แล้วตามเงื่อนไขข้อตกลงที่ทำร่วมกับสหรัฐฯ เหตุยิงถล่มโรงพยาบาลเกิดขึ้นในช่วงเช้าวานนี้ (12) โดยมีมือปืนอย่างน้อย 3 คนสวมเครื่องแบบคล้ายตำรวจบุกเข้าไปที่โรงพยาบาล ดัชต์-อี-บาร์ชี จากนั้นก็เริ่มขว้างปาระเบิดมือและกราดยิงใส่ผู้คนแบบไม่เลือกหน้า ก่อนที่หน่วยความมั่นคงจะวิสามัญฯ คนร้ายทั้งหมดได้ในช่วงบ่าย “คนร้ายยิงใส่ผู้คนในโรงพยาบาลอย่างไร้เหตุผล ที่นี่เป็นโรงพยาบาลของรัฐ จึงมีประชาชนพาภรรยาและลูกมารับการรักษาเป็นจำนวนมาก” รามาซาน อาลี พ่อค้าที่ขายของอยู่ใกล้ๆ โรงพยาบาลขณะเกิดเหตุ ระบุ โรงพยาบาลขนาด…

กลุ่มแฮกเกอร์แอบขโมยข้อมูลผู้ใช้กว่า 73 ล้านรายการออกขายบนเว็บมืด

Loading

การใช้บริการอินเทอร์เน็ตไม่ว่าจะผ่านเว็บไซต์หรือแอป เมื่อเริ่มต้นสมัครการใช้งานทางผู้ให้บริการจะมีแบบฟอร์มให้ผู้ใช้กรอกข้อมูลส่วนตัวจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูล บางครั้งข้อมูลเหล่านี้ได้รั่วไหลออกไปหรือถูกล้วงข้อมูลเพื่อนำไปใช้ประโยชน์โดยมิชอบ เลวร้ายถึงขนาดนำไปทำธุรกรรมออนไลน์ที่มีข่าวออกมาอย่างต่อเนื่อง ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาแหล่งข่าว ZDNet เปิดเผยว่ามีกลุ่มแฮกเกอร์ ShinyHunters อ้างว่ากำลังขายฐานข้อมูลผู้ใช้งานประมาณ 73.2 ล้านรายการในตลาดเว็บมืด ซึ่งทำเงินได้ประมาณ 18,000 USD (579,060 บาท) โดยได้แอบขโมยฐานข้อมูลมาจากกว่า 10 บริษัทด้วยกัน ประมาณ 30 ล้านรายการมาจากแอปหาคู่ที่ชื่อว่า Zoosk, อีก 15 ล้านรายการมาจาก Chatbooks บริการพรินต์ภาพจาก Instagram, Facebook และแกลเลอรีในโทรศัพท์ในเวลาเพียง 5 นาที ส่วนที่เหลือมาจากเว็บไซต์ที่หลากหลาย ได้แก่ 1 ล้านรายการจากหนังสือพิมพ์ Star Tribune, รวม 8 ล้านรายการจากเว็บไซต์แฟชั่นและเฟอร์นิเจอร์ของเกาหลีใต้, 3 ล้านรายการจากเว็บไซต์ Chronicle of Higher Education นำเสนอข่าวสารข้อมูลและงานสำหรับนักศึกษาในวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย, 8 ล้านรายการจาก Home Chef บริการส่งมอบอาหาร, 5…

ครม.ไฟเขียวเลื่อนบังคับใช้พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ออกไปอีก 1 ปี

Loading

ครม. เด้งรับ ‘ดีอีเอส’ รับทราบ ความจำเป็นออกพ.ร.ฎ.ขยายเวลาบังคับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล บางหมวด ออกไปอีก 1 ปี เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม. รับทราบถึงความจำเป็นในการออกร่างพระราชกฤษฎีกา ขยายเวลาการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ในหมวด 2 การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หมวด 3 สิทธิเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หมวด 5 การร้องเรียน หมวด 6 ความรับผิดทางแพ่ง หมวด 7 บทกำหนดโทษ และความในมาตรา 95 และมาตรา 96 ที่เดิมจะมีผลบังคับใช้ ในวันที่ 27 พ.ค. 2563 ออกไปอีก 1ปี ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ เพื่อบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชน เนื่องจากหากมีการบังคับใช้ตามกำหนดเวลาเดิมในขณะที่ทุกภาคส่วนยังไม่พร้อม…

Guerilla Projection : ศิลปะแห่งการประท้วง จากสถานทูตแอฟริกาใต้ถึงหน้าวัดปทุมฯ

Loading

เช้าวันที่ 11 พฤษภาคม 2563 สื่อหลายสำนักรายงานว่า เมื่อคืนวันที่ 10 พฤษภาคม ปรากฏข้อความปริศนา #ตามหาความจริง ถูกฉายด้วยลำแสงโปรเจ็กเตอร์บนผนังหรืออาคารสถานที่สำคัญหลากหลายจุด ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สลายการชุมนุมพฤษภา 2553 ทั้ง วัดปทุมวนาราม สยามพารากอน กระทรวงกลาโหม ซอยรางน้ำ และอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยไม่ปรากฏว่าการกระทำครั้งนี้เป็นของกลุ่มใด แม้จะทราบโดยข้อความและสถานที่ว่าเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ ครบ 10 ปีของการสลายการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมเพื่อประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 การฉายภาพหรือข้อความด้วยลำแสงของโปรเจ็กเตอร์เป็นทั้งการใช้งานในการสื่อสารทั่วไป หรืองานศิลปะ และในขณะเดียวกันเทคโนโลยีนี้ก็ถูกหยิบจับมาใช้สื่อสารในเชิงศิลปะการประท้วงแบบกองโจรโดยใช้การฉายโปรเจ็กเตอร์ หรือที่เรียกว่า ‘Guerilla Projection’ โดยที่ไม่อาจล่วงรู้ได้มาก่อนว่าจะเกิดขึ้นที่ใด เมื่อไร และบางครั้งก็ไม่อาจรู้ได้ว่าใครเป็นผู้ทำ ศิลปะการประท้วงแบบกองโจรโดยใช้การฉายโปรเจ็กเตอร์ หรือ ‘Guerilla Projection’ นี้ ในหนังสือเรื่อง Augmented Reality Art: From an Emerging Technology to a Novel Creative Medium เรียบเรียงโดย Vladimir Geroimenko ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า แม้จะไม่ทราบว่าผู้ใดหรือศิลปินคนใดเป็นผู้หยิบยืมนำมาใช้ในเชิงการประท้วงเป็นครั้งแรก แต่ผู้ที่ถือเป็นผู้นำและได้รับการจดจำในการใช้โปรเจ็กเตอร์มาเป็นสื่อศิลปะในการประท้วงทางการเมืองก็คือ คริสซตอฟ โวดิซโก (Krzysztof Wodiczko) ศิลปินชาวโปแลนด์ ผลงานอันโด่งดังของคริสซตอฟ โวดิซโกที่ถูกหยิบมาเล่าซ้ำแล้วซ้ำอีกก็คือ การฉายภาพมือของโรนัลด์ เรแกน ที่เห็นเฉพาะมือในเสื้อเชิ้ตสีขาวมีคัฟฟ์ลิงค์ติดอยู่บนอาคาร AT&T Long Lines ในนครนิวยอร์ก ในช่วงสี่วันก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดี ในปี 1984 และแน่นอนว่าโรนัลด์ เรแกน คว้าชัยชนะการเลือกตั้งในครั้งนั้นไป หรือผลงานในปี 1985 เมื่อเขาฉายโปรเจ็กเตอร์รูปสวัสดิกะบนอาคารของสถานทูตแอฟริกาใต้ ในกรุงลอนดอน เพื่อประท้วงการต่อต้านแบ่งแยกสีผิวในแอฟริกาใต้ ซึ่งแม้จะปรากฏให้เห็นไม่เกิน 2 ชั่วโมงก่อนที่ตำรวจจะมาถึง แต่ภาพข่าวนั้นก็แพร่กระจายไปทั่วโลก ในวันที่ยังไม่มีสิ่งที่เรียกว่าโซเชียลมีเดีย ผลงาน Guerilla Projection ที่น่าสนใจที่ผ่านมา นอกจาก #ตามหาความจริง ที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ เมื่อไม่กี่วันมานี้ ในอดีตมีการนำเอาศิลปะการประท้วงแบบกองโจรโดยใช้การฉายโปรเจ็กเตอร์มาใช้และเป็นที่จดจำ น่าสนใจหลายชิ้นด้วยกัน เช่นตัวอย่างต่อไปนี้ การประท้วงพลังงานนิวเคลียร์ของกรีนพีซ ในปี 1989 กลุ่มกรีนพีซประท้วงเรื่องอันตรายของพลังงานนิวเคลียร์โดยฉายข้อความ “We Have Nuclear Weapons on Board” (เรามีอาวุธนิวเคลียร์อยู่บนเรือ) ลงบนเรือ ARK ROYAL ในขณะที่เทียบท่าที่เมืองฮัมบวร์ก  99% การประท้วงยึดวอลล์สตรีท การประท้วงยึดวอลล์สตรีทในปี 2011 โดยชูประเด็น 99% ซึ่งหมายถึงประชาชนส่วนใหญ่คือคน 99% ที่ถูกขูดรีดเอารัดเอาเปรียบจากคน 1% ของสังคม โดยในการประท้วงครั้งนี้มีการฉายสัญลักษณ์สไตล์แบทแมน (Batman Signal) เป็นภาพตัวเลข 99% ขึ้นไปบนตึกสูง 32 ชั้น Verizon Building ที่อยู่ตรงข้ามสะพานบรูคลิน เป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์การประท้วง Citizen Safety Law ประท้วงกฎหมายลงโทษการชุมนุมในสเปน ในปี 2015 สเปนออกกฎหมายที่ชื่อ  Citizen Safety Law หรือในอีกชื่อหนึ่งคือ The Gag Law ซึ่งนอกจากจะจำกัดสิทธิในการประท้วงตามกฎหมายแล้ว ยังมีบทลงโทษสำหรับผู้ที่ออกมาประท้วงอีกด้วย โดยการประท้วงหน้ารัฐสภาอาจมีโทษปรับสูงถึง 30,000 ยูโร จึงเกิดความเคลื่อนไหวที่ชื่อ  ‘NoSomosDelito’ (เราไม่ใช่อาชญากร) นำเอาเทคโนโลยีโฮโลแกรมฉายภาพผู้ประท้วงกว่า 2,000 คนเดินผ่านหน้ารัฐสภาในกรุงมาดริด ซึ่งแน่นอนว่าไม่ถูกจับเพราะผู้ประท้วงเหล่านั้นเป็นภาพโฮโลแกรม Resist Trumpism Everywhere ประท้วงการมาเยือนอังกฤษของทรัมป์ การมาเยือนอังกฤษของประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ในปี 2018 ได้รับการต้อนรับอย่างเจ็บแสบจากกลุ่มที่เรียกว่า Bluman ด้วยการฉายโปรเจ็กเตอร์ด้วยคำว่า ‘Resist Trumpism Everywhere’ ไปทั่วเมือง ตั้งแต่ซุ้มประตู Houses of Parliament and Marble Arch สถานที่สำคัญอื่นๆ อย่าง Cable…

7 “ความเข้าใจผิด” เกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ซีไอโอควรรู้

Loading

เป็นที่รู้กันว่าช่องโหว่ที่เพิ่มขึ้นนำมาซึ่งค่าใช้จ่ายขององค์กรที่เพิ่มขึ้น ขณะที่เศรษฐกิจในส่วนดิจิทัลของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง จำนวนการโจมตีและค่าใช้จ่ายเพื่อแก้ปัญหาข้อมูลรั่วไหล (Data Breach) ก็เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน จากผลการศึกษาของ Ponemon Institute เผยว่า ผลกระทบทางการเงินในภูมิภาคนี้สูงถึง 2.62 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2562 ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 2.53 ล้านเหรียญสหรัฐฯในปี 2561 ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้นกำลังเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการก้าวสู่ ‘ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน’ ขององค์กรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก สามในห้าขององค์กรในภูมิภาคนี้ได้ชะลอแผนการลงทุนด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน เนื่องจากเกรงว่าจะเป็นเป้าหมายการโจมตีทางไซเบอร์ จากรายงานของ Deloitte Cyber Smart: รายงานศักยภาพธุรกิจในเอเชียแปซิฟิก ชี้ว่าภัยคุกคามทางไซเบอร์อาจส่งผลทำให้สูญเสีย GDP ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกถึง 145 พันล้านเหรียญสหรัฐฯในทศวรรษหน้า แม้จะมีการลงทุนเพิ่มขึ้นในโซลูชันด้านความปลอดภัย แต่กลุ่มผู้ไม่หวังดีนั้นมีทั้งทรัพยากร และเวลาเพื่อเจาะค้นหาช่องโหว่ขององค์กรได้ตลอดเวลา ยิ่งไปกว่านั้น แนวทางส่วนใหญ่ที่องค์กรใช้ในการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ในวันนี้ ยังคงเป็นแนวรีแอคทีฟที่มุ่งเน้นการไล่ล่าภัยคุกคาม ดังนั้นองค์กรจึงต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดการออกแบบสถาปัตยกรรมความปลอดภัยที่ครอบคลุมโครงสร้างพื้นฐานหลัก แอปพลิเคชัน ผู้ใช้งาน และการดำเนินงาน (operation) องค์กรจำเป็นต้องแก้ความเข้าใจผิดด้านความปลอดภัยที่ไม่เอื้อการผสานความปลอดภัยทางไซเบอร์เข้ากับกลยุทธ์หลักทางธุรกิจ และนี่คือ 7 ความเข้าใจผิดที่ซีไอโอทุกคนควรรู้ ความเข้าใจผิด ข้อที่ 1 – คิดว่าถ้าเข้าใจแนวโน้มการโจมตี จะช่วยป้องกันระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ…

FBI เผย ‘แฮกเกอร์จีน’ พยายามล้วงข้อมูลงานวิจัย ‘วัคซีนต้านโควิด-19’

Loading

เอเอฟพี – สำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐฯ (FBI) และผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงไซเบอร์เชื่อว่าแฮกเกอร์จีนกำลังพยายามขโมยข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาวัคซีนต้านไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ สื่อมะกันรายงานวานนี้ (11 พ.ค.) หนังสือพิมพ์วอลล์สตรีทเจอร์เนิลและนิวยอร์กไทม์สรายงานว่า เอฟบีไอและกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐฯ มีแผนออกหนังสือเตือนเกี่ยวกับปฏิบัติการของแฮกเกอร์จีน ในขณะที่รัฐบาลและบริษัทเอกชนทั่วโลกกำลังเร่งคิดค้นวัคซีนที่สามารถป้องกันโควิด-19 ได้ ทั้งนี้ เชื่อว่าแฮกเกอร์จีนกำลังพุ่งเป้าไปที่ข้อมูลและทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวกับวิธีรักษาและการตรวจหาเชื้อโควิด-19 เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ อ้างว่าจารชนไซเบอร์กลุ่มนี้มีส่วนเชื่อมโยงถึงรัฐบาลจีน และคาดว่าจะมีคำเตือนออกมาอย่างเป็นทางการภายในอีกไม่กี่วัน จ้าว ลี่เจียน โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน รีบออกมาปฏิเสธข้อครหาดังกล่าว โดยยืนยันว่ารัฐบาลปักกิ่งต่อต้านการโจมตีทางไซเบอร์ทุกรูปแบบ “เราก็เป็นผู้นำโลกในด้านการรักษาและคิดค้นวัคซีนต้านโควิด-19 การสร้างข่าวลือมาโจมตีและให้ร้ายจีนโดยปราศจากหลักฐานจึงเป็นสิ่งที่ผิดศีลธรรม” จ้าว ระบุ เมื่อถูกถามถึงรายงานในสื่อชั้นนำทั้ง 2 ฉบับ ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ยังปฏิเสธที่จะยืนยัน แต่บอกว่า “มีเรื่องอะไรใหม่ๆ เกี่ยวกับจีนอีกล่ะ? มีอะไรใหม่เหรอ? บอกผมมาสิ ผมไม่แฮปปี้กับจีนเลย” “เรากำลังตามดูพวกเขาอย่างใกล้ชิด” ผู้นำสหรัฐฯ กล่าวเสริม ก่อนหน้านี้เคยมีรายงานว่า แฮกเกอร์ซึ่งมีรัฐบาลหนุนหลังในอิหร่าน, เกาหลีเหนือ, รัสเซีย และจีน ทำกิจกรรมมุ่งร้ายที่เกี่ยวข้องกับโรคระบาดใหญ่ (pandemic) ตั้งแต่การเผยแพร่เฟคนิวส์เรื่องไปจนถึงการเล่นงานนักวิทยาศาสตร์และบุคลากรทางการแพทย์ นิวยอร์กไทม์สชี้ว่า คำเตือนที่ออกมาอาจนำไปสู่ปฏิบัติการโจมตีตอบโต้โดยหน่วยงานของสหรัฐฯ ที่รับผิดชอบด้านสงครามไซเบอร์…